- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ยังไม่ลงล็อก
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
แม้จะมีคำยืนยันหลายครั้งว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นตามโรดแม็พ แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ทำให้กำหนดเลือกตั้งยังไม่นิ่ง ไม่เพียงผลตีความกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กฎหมายการได้มาซึ่ง ส.ว. และคำสั่งหัวหน้า คสช. ที่ 53/2560 แต่อุปสรรคใหญ่สำหรับพรรคการเมืองใหม่ที่จะตั้งขึ้นมาทำภารกิจพิเศษคือการทำไพรมารีโหวต โดยเฉพาะถ้าต้องการส่งผู้สมัครครบทุกเขตเพื่อชิงคะแนนปาร์ตี้ลิสต์ จากตัวเลขยืนยันจำนวนสมาชิกพรรคล่าสุดมีเพียงเพื่อไทยกับประชาธิปัตย์ที่พร้อมมากที่สุด ถ้ามีเลือกตั้งคะแนนปาร์ตี้ลิสต์จะไปกองรวมอยู่ที่ 2 พรรคใหญ่ อะไรๆก็ดูติดขัดไม่ลงล็อกอย่างที่ฝ่ายคุมอำนาจต้องการเสียที
เป็นไปตามคาด ใกล้ครบ 4 ปีรัฐประหารจะมีคนพูดถึงผลงานของรัฐบาลทหาร คสช. ในหลากหลายแง่มุมมากขึ้น โดยเฉพาะผลงานการปฏิรูปที่มีทั้งมุมมองว่าล้มเหลว ค้างเติ่ง ไม่มีอะไรคืบหน้าให้สัมผัสได้เป็นรูปธรรม และมุมมองที่ว่าสุดยอด ทำได้ดีกว่ารัฐบาลเลือกตั้งทุกชุดที่ผ่านมา
พ้นจากเรื่องผลงานรัฐบาลทหาร คสช. แล้ว สิ่งที่จะถูกพูดถึงมากขึ้นหลังจากนี้คือเรื่องเลือกตั้งที่ฝ่ายคุมอำนาจยืนยันหลายครั้งว่าเดินตามโรดแม็พแน่
อย่างไรก็ตาม แม้ฝ่ายคุมอำนาจยืนยันแบบนี้ แต่ยังมีปัจจัยอีกหลายอย่างที่จะทำให้การเลือกตั้งเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิมได้ โดยเฉพาะผลตีความกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. และกฎหมายการได้มาซึ่ง ส.ว.
เมื่อผลตีความออกมาชัดเจนแล้วจะมีการเชิญพรรคการเมืองเข้าพูดคุยกับนายกรัฐมนตรีเพื่อกำหนดวันเลือกตั้ง
แม้ทุกอย่างจะดูเหมือนเดินไปตามโรดแม็พ แต่ความไม่พร้อมในการส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งอาจเป็นตัวแปร
อย่างที่ทราบกันว่ากฎหมายใหม่กำหนดให้การเลือกตัวผู้สมัครในแต่ละเขตต้องทำไพรมารีโหวต ไม่ให้อำนาจกรรมการบริหารพรรคหรือหัวหน้าพรรคเลือกตัวบุคคลได้ตามใจชอบเหมือนอดีตที่ผ่านมา
การทำไพรมารีโหวตต้องทำทุกจังหวัดที่จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง
จังหวัดที่ไม่ได้เป็นที่ตั้งสาขาพรรคต้องมีสมาชิกไม่ต่ำกว่า 100 คน ขณะที่จังหวัดที่เป็นที่ตั้งสาขาพรรคต้องมีสมาชิกขั้นต่ำ 500 คน พรรคการเมืองใดต้องการส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งครบทั้ง 350 เขต ต้องมีสมาชิกกระจายทั่วประเทศขั้นต่ำ 9,200 คน
ดูเหมือนจะมีเพียง 2 พรรคการเมืองใหญ่อย่างประชาธิปัตย์และเพื่อไทยเท่านั้นที่มียอดสมาชิกจากการยืนยันสิ้นสุด ณ เดือนเมษายนที่ผ่านมาครบตามจำนวนพอที่จะทำไพรมารีโหวตได้ แต่จะทำได้ครบทุกจังหวัดหรือไม่ยังไม่มีข้อมูลยืนยัน
ส่วนพรรคการเมืองอื่นๆที่เหลือไม่มีความพร้อมที่จะทำไพรมารีโหวตครบทุกจังหวัดแน่นอน
ปัญหาเรื่องไพรมารีโหวตกำลังถูกหยิบมาเป็นข้อต่อรองทางการเมืองอย่างหนึ่ง จะเห็นว่าขณะนี้มีบางคนออกมาพูดทำนองว่าหากพรรคการเมืองเห็นว่าไพรมารีโหวตเป็นปัญหา ก็ต้องเอาเรื่องนี้ไปคุยกับนายกรัฐมนตรีในช่วงที่ถูกเชิญไปพูดคุยเรื่องการเลือกตั้ง
เหมือนกับว่าถ้าไม่ไปตามคำเชิญก็ต้องแบกรับเรื่องไพรมารีโหวตตามกฎหมายต่อไป
อย่างไรก็ตาม มีประเด็นน่าสนใจว่า แม้นายกรัฐมนตรีจะมีมาตรา 44 อยู่ในมือที่จะใช้ออกคำสั่งยกเว้นการทำไพรมารีโหวตได้ แต่ต้องรอดูผลการตีความคำสั่ง คสช. ที่ 53/2560 ด้วย
หากผลตีความออกมาว่าคำสั่งดังกล่าวขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ อาจทำให้แนวคิดการใช้อำนาจมาตรา 44 ยกเว้นการทำไพรมารีโหวตในการเลือกตั้งครั้งแรกมีปัญหาได้ เพราะเท่ากับว่าอำนาจมาตรา 44 ต้องใช้ภายใต้กรอบรัฐธรรมนูญ จะขัดหรือแย้งต่อเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญไม่ได้
จะทำไพรมารีโหวตก็มีปัญหามากทั้งพรรคเก่าที่เป็นพรรคเล็กและพรรคใหม่ ทำให้พรรคการเมืองไม่พร้อม 100% ที่จะส่งคนลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยเฉพาะถ้าต้องการส่งครบทุกเขตเพื่อชิงคะแนนปาร์ตี้ลิสต์จะใช้อำนาจพิเศษยกเว้นก็อาจทำไม่ได้
เมื่อเป็นอย่างนี้คะแนนปาร์ตี้ลิสต์ก็จะไปกองรวมอยู่ที่ 2 งพรรคใหญ่
อะไรๆก็ดูติดขัดไม่ลงล็อกอย่างที่ฝ่ายคุมอำนาจต้องการเสียที
You must be logged in to post a comment Login