- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
‘ออมสิน’สำรวจความเชื่อมั่นStartup
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน ได้ทำการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Startup (SSI) เป็นครั้งแรก ภายหลังจากมีการจัดทำการประมาณการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) และดัชนีความเชื่อมั่นเศรษฐกิจฐานราก (GSI) เพราะตระหนักถึงความสำคัญของผู้ประกอบการ Startup ในการขับเคลื่อนอนาคตของประเทศ
ทั้งนี้ ผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการ Startup (SSI) ประจำไตรมาส 1 ปี 2561 สำรวจกลุ่มผู้ประกอบการ Startup ทั่วประเทศ 423 ตัวอย่าง พบว่าดัชนี SSI อยู่ที่ระดับ 62.16 สูงกว่าค่ากลางที่ระดับ 50 แสดงว่าผู้ประกอบการมีความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์ทางธุรกิจโดยรวมจากปัจจัยด้านผลประกอบการ การผลิต และคำสั่งซื้อที่อยู่ในระดับดี โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการ เช่น ธุรกิจการเงิน ขนส่งและโลจิสติกส์ การศึกษา และการท่องเที่ยว เนื่องจากมีการนำเทคโนโลยีมาใช้ในด้านการตลาดและการให้บริการ อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมีความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนของธุรกิจที่ปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับ SSI ในอนาคตอีก 3 เดือนข้างหน้า ผู้ประกอบการมองภาวะธุรกิจในภาพรวมดีขึ้นที่ระดับ 67.75 โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจากปริมาณการผลิตและคำสั่งซื้อที่คาดว่าจะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะธุรกิจการแพทย์ สาธารณสุข พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ และการเงิน แต่คาดว่าต้นทุนการประกอบการจะยังไม่ลดลงจากปัจจุบัน
เมื่อพิจารณาแต่ละภาคธุรกิจ ได้แก่ อุตสาหกรรม การเกษตร การค้า และบริการ ผู้ประกอบการภาคบริการมีความเชื่อมั่นที่ระดับ 68.73 สูงกว่าภาคธุรกิจอื่นที่อยู่ระดับ 57.9-60.5 แต่ยังมีข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจ โดยเฉพาะปัญหาการขาดสภาพคล่อง การเพิ่มขึ้นของต้นทุนและคู่แข่งขัน รวมถึงขาดแคลนแรงงานที่มีฝีมือและทักษะเฉพาะทาง
ศูนย์วิจัยฯยังมีประเด็นที่ต้องเฝ้าระวังติดตามคือ ปัจจัยด้านต้นทุนของผู้ประกอบการที่สูงขึ้น ทั้งค่าแรง อุปกรณ์การผลิต ราคาน้ำมันและค่าขนส่ง ทั้งยังมีอุปสรรคด้านกำลังการผลิตที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้สั่งซื้อ นอกจากนี้ยังต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนด้านเงินทุนหรือร่วมลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ และลงทุนเพิ่มเติมด้านเครื่องจักรและอุปกรณ์ การหาตลาด และเพิ่มความรู้ด้านเทคโนโลยีเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานให้ดียิ่งขึ้น
You must be logged in to post a comment Login