- อย่าไปอินPosted 22 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
เรียนผูกเรียนแก้
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
เงื่อนไขให้พรรคการเมืองทำไพรมารีโหวตที่ สนช. ยัดไส้เพิ่มเติมในกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. กำลังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมของพรรคการเมือง เพราะไม่สามารถทำกิจกรรมรับสมัครสมาชิกพรรคให้ได้ตามจำนวนที่กฎหมายกำหนดเพื่อทำไพรมารีโหวตได้ ที่สำคัญ กกต. ยังไม่สามารถแบ่งเขตเลือกตั้งได้ ต้องรอหลังกฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้ก่อน จากนั้นใช้เวลาแบ่งเขตอีก 2 เดือน รวมเบ็ดเสร็จกว่าที่กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. จะมีผลบังคับใช้ กว่า กกต. จะแบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อยต้องใช้เวลาอีกประมาณ 8 เดือน ขณะนี้มีพรรคการเมืองนำเสนอเรื่องให้ คสช. หาแนวทางแก้ปัญหาแล้ว ต้องรอดูว่า คสช. จะตอบสนองเรื่องนี้อย่างไร ทั้งหมดเกิดจากเงื่อนปมที่ คสช. ผูกขึ้นมาเอง จะแก้ให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นตามกำหนด หรือปล่อยเลยตามเลยให้การเลือกตั้งต้องขยับออกไป
แม้กฎหมายที่เกี่ยวกับการเลือกตั้งจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดเลือกตั้งตามโรดแม็พแล้ว แต่ยังมีสิ่งที่น่าเป็นห่วงอยู่อีก
เป็นความน่าเป็นห่วงอันเกิดจากการปฏิบัติตามกรอบเวลาที่เหลืออยู่ ซึ่งถือว่ากระชั้นชิดค่อนข้างมาก โดยเฉพาะขั้นตอนสำคัญคือการทำไพรมารีโหวตเพื่อคัดเลือกตัวผู้สมัคร ส.ส. ของพรรคการเมือง
มีความเป็นไปได้ว่าหากการเลือกตั้งเกิดขึ้นตามโรดแม็พจะทำให้พรรคการเมืองไม่พร้อม 100% ที่จะส่งผู้สมัคร ส.ส.
หากจะให้พรรคการเมืองมีความพร้อม 100% ในการส่งผู้สมัครเพื่อไม่ให้เกิดการได้เปรียบเสียเปรียบ การเลือกตั้งอาจถูกเลื่อนออกไปจากกำหนดเดิม
อุปสรรคที่ทำให้พรรคการเมืองไม่สามารถทำไพรมารีโหวตได้ในตอนนี้มีอยู่ 2 ปัจจัย
ปัจจัยแรกเกิดจากการไม่ยอมปลดล็อกให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมเพื่อหาสมาชิกพรรคได้อย่างอิสระ ที่ผ่านมาพรรคการเมืองที่มีอยู่เดิมทำได้เพียงให้สมาชิกพรรคเดิมยืนยันความต้องการเป็นสมาชิก ขณะที่พรรคการเมืองเกิดใหม่ทำได้แค่การจดทะเบียนก่อตั้งพรรคและประชุมเลือกกรรมการบริหารพรรค
หลังสิ้นสุดกำหนดเวลาให้สมาชิกพรรคการเมืองเก่ายืนยันความเป็นสมาชิก แต่ละพรรคมีจำนวนสมาชิกลดลงอย่างมาก หากดูตามคำบอกเล่าของนายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีตกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะเห็นว่าถ้ายึดตามจำนวนสมาชิกที่ยืนยันตัวตนจะมีพรรคการเมืองที่พร้อมส่งผู้สมัคร ส.ส. ได้เพียงแค่ 3 พรรคเท่านั้นคือ พรรคเพื่อไทย ประชาธิปัตย์ และชาติไทยพัฒนา แต่ก็เป็นความพร้อมไม่เต็มที่ที่จะส่งผู้สมัครได้ครบทุกเขตเลือกตั้ง
ปัจจัยที่สองคือการที่ กกต. ยังไม่ได้แบ่งเขตเลือกตั้งและประกาศให้ทราบอย่างเป็นทางการ
การที่ กกต. ยังไม่แบ่งเขตเลือกตั้ง แม้พรรคการเมืองจะมีความพร้อมก็ไม่สามารถจัดทำไพรมารีโหวตเพื่อหาตัวแทนลงสมัคร ส.ส. ได้ เพราะยังไม่รู้ว่าแต่ละจังหวัดจะมีกี่เขต แต่ละเขตครอบคลุมพื้นที่ตำบลใด อำเภอใดบ้าง
หากฟังจาก กกต. จะเห็นว่าการแบ่งเขตเลือกตั้งต้องรอให้กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. ที่เพิ่งผ่านการตีความจากศาลรัฐธรรมนูญประกาศใช้อย่างเป็นทางการก่อน
ขณะนี้กฎหมายที่ผ่านการตีความยังถูกส่งมาไม่ถึงมือนายกรัฐมนตรี เมื่อนายกฯนำขึ้นทูลเกล้าฯแล้วมีกรอบเวลา 3 เดือน ที่กฎหมายจะอยู่ในพระบรมราชวินิจฉัยก่อนที่จะโปรดเกล้าฯลงมา
จากนั้นเมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วจะรอไปอีก 3 เดือน ก่อนที่กฎหมายจะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ ซึ่งเป็นไปตามที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เขียนบทเฉพาะกาลไว้ โดยอ้างว่าเพื่อให้เวลาพรรคการเมืองเตรียมความพร้อมก่อนการเลือกตั้ง
ทั้งนี้ ในการแบ่งเขตเลือกตั้งทั่วประเทศ กกต. ต้องการเวลาดำเนินการอีก 2 เดือน เพราะต้องเปิดรับฟังความเห็นจากทุกฝ่าย
รวมเบ็ดเสร็จกว่าที่กฎหมายเลือกตั้ง ส.ส. จะมีผลบังคับใช้ กว่า กกต. จะแบ่งเขตเลือกตั้งเสร็จเรียบร้อย ต้องใช้เวลาอีกประมาณ 8 เดือน หลังจากนั้นพรรคการเมืองจึงจะสามารถทำไพรมารีโหวตหาตัวผู้สมัคร ส.ส. แต่ละเขตเลือกตั้งได้
ขณะนี้ทราบว่ามีพรรคการเมืองนำเสนอปัญหานี้ให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) รับทราบและหาแนวทางแก้ปัญหาแล้ว ต้องรอดูว่า คสช. จะตอบสนองต่อเรื่องนี้อย่างไร
หากแก้ปัญหาให้การเลือกตั้งตามโรดแม็พก็เกิดขึ้นได้ แต่หากไม่ทำอะไร ปล่อยให้เป็นไปตามขั้นตอนกฎหมาย กำหนดการเลือกตั้งก็ต้องเลื่อนออกไป 2-3 เดือนเป็นอย่างน้อย
แต่หากไม่แก้ปัญหาแล้วยังให้การเลือกตั้งเกิดขึ้นตามกำหนดเดิม ก็ต้องดูว่าใครจะได้ประโยชน์จากการทำให้พรรคการเมืองไม่พร้อมที่จะลงสนามเลือกตั้ง
You must be logged in to post a comment Login