- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 14 hours ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
‘ซินเจนทา’ ร่วมจัดประชุมนานาชาติสมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชียครั้งที่ 8
สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นหนึ่งในองค์กรชั้นนำและเป็นที่ยอมรับในระดับโลก มีบทบาทสำคัญในการรวบรวมผลวิจัยและการศึกษาล่าสุดด้านพิษวิทยามาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน ประสานงานกับองค์กรในระดับประเทศและสากล เพื่อส่งเสริมให้มีมาตรฐานความปลอดภัยจากสารพิษ และความเป็นพิษ และในปีนี้ สมาคมพิษวิทยาแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพการจัดงานประชุมนานาชาติสมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชียครั้งที่ 8 (เอเชียท็อกซ์2018) หรือ The 8th International Congress of Asian Society of Toxicology (ASIATOX 2018) ภายใต้การสนับสนุนและความร่วมมือจากบริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร
ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์ ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานกล่าวเปิดงาน กล่าวว่า พิษวิทยา เป็นวิทยาศาสตร์เชิงสหวิทยาการที่ต้องใช้องค์ความรู้หลายหลายและรอบด้านเข้ามาปรับใช้ทั้งวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐานและวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาภาคอุตสาหกรรม เกษตรกรรม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ โดยองค์ความรู้ด้านพิษวิทยา จะนำมาใช้ประกอบการพิจารณาขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ การบริหารจัดการ ควบคุมการใช้ ประเมินความเสี่ยงจากการประกอบอาชีพ ทั้งนี้ ความก้าวหน้าด้านพิษวิทยา จะช่วยปกป้องสุขภาพและลดภาวะความเจ็บป่วยของประชาชนลงได้ งานประชุมนานาชาติสมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชียครั้งที่ 8 ต้อนรับนักวิทยาศาสตร์และนักพิษวิทยาจากทั่วโลก เดินทางมาประชุมในประเทศไทยมากกว่า 2,000 ราย เพื่อนำเสนอแนวคิด ผลการศึกษาวิจัย นวัตกรรมและเทคโนโลยีล่าสุดด้านพิษวิทยา นำไปสู่การพัฒนาด้านต่าง ๆ อันเป็นประโยชน์ต่อภาคอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ และประชากรโลก โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 มิถุนายนที่ผ่านมา
นางสาววัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์
ด้านนางสาววัชรีภรณ์ พันธุ์ภูมิพฤกษ์ ผู้จัดการฝ่ายรัฐกิจดูแลผลิตภัณฑ์ บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด หรือ ซินเจนทา กล่าวว่า พิษวิทยา มีบทบาทสำคัญในทุกขั้นตอนของการประเมินความสี่ยง เช่น สารเคมีทางการเกษตร ซึ่งเป็นเทคโนโลยีปัจจัยการผลิตของเกษตรกร จะถูกทำการทดสอบอย่างมีระบบทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเมินระดับความเสี่ยงและประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ได้ โดยการใช้มาตรฐานทางวิทยาศาสตร์ระดับสูง ซินเจนทาได้ผนวกความเชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์ มุ่งมั่นเพื่อคิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ ในการช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อเพิ่มศักยภาพในระบบการผลิตและเพิ่มอาหารให้เพียงพอกับประชากรโลก
“การสนับสนุนงานประชุมนานาชาติสมาคมพิษวิทยาแห่งเอเชียครั้งที่ 8 เป็นการดำเนินงานภายใต้แผนรณรงค์ระดับโลกของกลุ่มบริษัทซินเจนทา ที่เรียกว่า Good Growth Plan หรือ แผนการเติบโตเชิงบวก ดำเนินการระหว่างปี 2558-2563 ซึ่งต้องการพัฒนาด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยให้เกิดขึ้นแก่เกษตรกรในฐานะผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ โดยนำแนวคิดและหลักการที่ทันสมัยจากการประชุมฯ มาประยุกต์และให้ความรู้แก่เกษตรกรให้สามารถเข้าใจได้ง่าย ควบคู่ไปกับการพัฒนาทักษะด้านการปฏิบัติและใช้ผลิตภัณฑ์ อุปกรณ์และเครื่องมือในการเกษตรอย่างถูกต้อง สามารถความมั่นใจได้ว่า เกษตรกร จะไม่ได้รับผลกระทบในระยะยาว โดยตลอดระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ซินเจนทาได้แบ่งปันความรู้และอบรมเชิงปฏิบัติให้แก่เกษตรไทยและทั่วโลกแล้วกว่า 25.5 ล้านราย เกินจากที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้ 20 ล้านราย ซินเจนทายังคงมุ่งมั่นดำเนินงานต่อไป คาดว่าเมื่อครบกำหนดในปี 2563 (ค.ศ. 2020) จะมีเกษตรกรได้รับความช่วยเหลือผ่านโครงการนี้ถึง 30 ล้านรายทั่วโลก”
ดร.เบญจรงค์ วังคะฮาด
ดร.เบญจรงค์ วังคะฮาด ผู้จัดการส่วนดูแลผลิตภัณฑ์ ซินเจนทา ประจำประเทศไทยและเมียนมา กล่าวว่า พิษวิทยา คือ พื้นฐานที่จะทำให้เกิดความมั่นใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างความยั่งยืน ซินเจนทา สามารถช่วยสร้างความสมดุลระห่างการเพิ่มผลผลิตของเกษตรกรให้ดีขึ้นควบคู่ไปกับการดูแลเกษตรกร ให้ความรู้เกี่ยวกับความเสี่ยงจากสารเคมีเกษตร สร้างความเข้าใจเรื่องสุขอนามัยที่ดี การใช้สารเคมีอย่างถูกต้อง ลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นการสร้างความยั่งยืนต่อภาคการเกษตรต่อไป
You must be logged in to post a comment Login