- ปีดับคนดังPosted 8 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
ร่วมเป็นเจ้าภาพต้อนรับเยาวชน38ประเทศทั่วโลกแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิก ครั้งที่ 12
ม.มหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เตรียมพร้อมรับเยาวชน 38 ประเทศทั่วโลก ร่วมแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 12ภายใต้แนวคิดหลัก “Earth Science For All : วิทยาศาสตร์โลกเพื่อมวลมนุษยชาติ”
รศ.นพ.ดร.พินิติ รตะนานุกูล รักษาการเลขาธิการมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและ พัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษาในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) เปิดเผยว่า วิทยาศาสตร์มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคต เพราะวิทยาศาสตร์เกี่ยวข้องกับชีวิตของทุกคน ในขณะที่เราอยู่ในยุคที่คาดว่าวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเจริญสูงสุด วิทยาศาสตร์จึงเป็นวัฒนธรรมของโลกสมัยใหม่ ซึ่งเป็นสังคมแห่งความรู้ เยาวชนเป็นพลังสำคัญของประเทศและจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาให้มีความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เพื่อที่จะมีความรู้ความเข้าใจโลกธรรมชาติและเทคโนโลยีที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้นโดยปีนี้ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน “วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศครั้งที่ 12” The 12th International Earth Science Olympiad : IESO 2018 ขึ้นระหว่างวันที่ 8-17 ส.ค.61 นี้ ที่มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี โดยมีศาสตร์สาขาวิชา ที่เกี่ยวข้องได้แก่ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์
สำหรับการแข่งขันวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศโอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 12 (12th International Earth Science Olympiad : IESO 2018) เป็นวิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งของการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับนานาชาติ ซึ่งประเทศไทย โดย มูลนิธิ สอวน. ได้ส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันมาแล้ว 9 ครั้ง ได้รับเหรียญรางวัล เป็นเหรียญทอง เหรียญเงินเหรียญทองแดง รวม 34 เหรียญ ได้รับคะแนนรวมสูงสุดของโลก 1 ครั้ง ได้รับคะแนนสูงสุดภาคทฤษฎี 1 ครั้ง ได้รับคะแนนสูงสุดส่วนวิชาดาราศาสตร์ 1 ครั้ง ถือเป็นความภาคภูมิใจของประเทศในระดับสากล
ด้าน ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ รักษาการแทนอธิการมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยว่า IESO 2018 ดำเนินงานภายใต้แนวคิดหลัก “Earth Science For All : วิทยาศาสตร์โลกเพื่อมวลมนุษยชาติ” ด้วยวิทยาศาสตร์จะเป็นตัวกำหนดทิศทางของโลกอนาคต การจัดงานครั้งนี้ คณะผู้จัดงานได้รับพระมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงเป็นประธานเปิดการแข่งขัน โดยทรงให้ความสำคัญด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีควบคู่ไปกับการพัฒนานักวิทยาศาสตร์รุ่นใหม่ และจะเสด็จทอดพระเนตรนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 โดยมีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับ Earth Science และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ผศ.ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รักษาการแทนรองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานคณะกรรมการจัดการแข่งขัน เปิดเผยว่า ล่าสุดมีประเทศสมาชิกตอบรับเข้าร่วมการแข่งขัน รวม 38 ประเทศ มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี มีการจัดเตรียมความพร้อมในทุกๆ ด้าน ทั้งสถานที่พักของผู้เข้าร่วมงาน สถานที่แข่งขัน ระบบไฟฟ้า ระบบการสื่อสาร บุคลากร การจัดรถบริการรับ-ส่ง การรักษาความปลอดภัย การดูแลสุขภาพ อาหารไทย และ อาหารนานาชาติ ส่วน การแข่งขันแต่ละประเทศจะมีเยาวชนเข้าร่วมประเทศละ 4 คน มีอาจารย์ ผู้ควบคุมดูแลประเทศละ 2 คน นอกจากนี้ยังมีประเทศที่เข้าร่วมสังเกตการณ์อีกจำนวนหนึ่ง มีทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ โดยมีสาระครอบคลุม 3 รายวิชา คือ ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์ มีภาคสังเกตการณ์ และการฝึกการทำงานวิเคราะห์ปัญหาร่วมกันเป็นทีมนักเรียนนานาชาติ รวมทั้งมีการทัศนศึกษาในสถานที่ต่างๆ
“นอกจากนี้จะมีการแสดงนิทรรศการ ณ อาคารเรียนรวม มหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี เพื่อนำเสนอเรื่องราวและอัจฉริยภาพของ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในรัชกาลที่ 9 โดยใช้แนวคิดหลักในการนำเสนอ “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที” เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานได้เข้าใจอย่างง่าย ๆ ผ่านเทคนิคพิเศษ คือ เทคนิค Mapping และ เทคนิค Interactive Wall ที่จะทำให้เด็กๆมีความสนุกสนาน เพลิดเพลิน กับการเรียนรู้” ผศ.ดร.ธัชวีร์ กล่าว
You must be logged in to post a comment Login