- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
สสส.เดินหน้าสร้างพลเมืองตื่นรู้และนักสื่อสารสุขภาวะ
ที่อาคารศูนย์เรียนรู้สุขภาวะ ซ.งามดูพลี สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) จัดเวที Exclusive Interview พูดคุยกับ ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) พร้อมด้วยนางเข็มพร วิรุณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) และ ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ผู้อำนวยการร่วมโครงการธนาคารจิตอาสา มุ่งการสนับสนุนให้คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ
ดร.นพ.ไพโรจน์ เสาน่วม ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวว่า การเสริมสร้างปัจจัยที่จะโน้มนำคนไทยให้มีวิถีชีวิตสุขภาวะท่ามกลางบริบทของสังคมในยุคศตวรรษที่ 21 แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา สำนักส่งเสริมวิถีชีวิตสุขภาวะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) มุ่งการสนับสนุนให้ ‘คนไทยฉลาดใช้สื่อเป็นเครื่องมือเพื่อนำไปสู่วิถีชีวิตสุขภาวะ’ โดยพัฒนาระบบนิเวศสื่อสุขภาวะที่สนับสนุนให้ประชาชนเป็นผู้ใช้และผู้สร้างสรรค์สื่อ (media users and creators) ที่ฉลาดรู้ด้านสุขภาพ (health literacy) และตื่นรู้ทางปัญญา พร้อมส่งเสริมศักยภาพ‘ผู้ใช้สื่อ’ สู่การเป็น‘พลเมืองตื่นรู้และนักสื่อสารสุขภาวะ’ ที่มีทักษะ 4 ด้านสำคัญ คือ 1. การรู้เท่าทันสื่อ สารสนเทศ และดิจิทัล (MIDL – Media, Information and Digital Literacy) 2. การสื่อสารและการสร้างความร่วมมือ 3. การเป็นผู้นำเพื่อสร้างการเปลี่ยนแปลง 4. การตระหนักรู้เท่าทันและการสะท้อนความคิด
“แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา ได้ดำเนินการพัฒนานักสื่อสารสุขภาวะและผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญามากกว่า 3,600 คน พัฒนากลไกและปัจจัยแวดล้อมที่สร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับ รวมถึงการจัดให้มีทรัพยากรและปัจจัยที่จำเป็นต่อการขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมายทั้ง นโยบาย กลไก องค์ความรู้ เครื่องมือวัดผล และช่องทางการสื่อสาร ในระดับพื้นที่ดำเนินการ แผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญาได้สนับสนุนส่งเสริมกระบวนการสื่อและพื้นที่สร้างสรรค์ พื้นที่สุขภาวะทางปัญญา และกระบวนการพัฒนาจิต ครอบคลุมพื้นที่ดำเนินการไปแล้วกว่า 45 จังหวัด และมีเป้าหมายในการดำเนินงานพื้นที่ให้ครอบคลุม 77 จังหวัดภายในปี 2563” ดร.นพ.ไพโรจน์ กล่าว
นางเข็มพร วิรุณณราพันธ์ ผู้จัดการสถาบันสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.) กล่าวว่า อิทธิพลของสื่อที่เรียกว่า สื่อมวลชน เมื่อวิเคราะห์ในระบบการใช้สื่อของเด็ก พบว่า นอกจากสื่อที่เป็นโซเชียลมีเดีย ยังมีสื่อรอบตัว เช่น ครอบครัว คุณครู คนในชุมชน สื่อสิ่งพิมพ์ สื่อศิลปะชุมชน สื่อทางเลือก สื่อพื้นบ้าน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนรู้ ในการหล่อหลอมเติบโตไปเป็นแบบอย่างในสังคม ดังนั้นสื่อที่ สสส. จัดทำจึงเกิดจากปัจจัยที่แวดล้อมจากตัวเด็ก ผู้ที่มีศักยภาพในการรับรู้ และสามารถสร้างสื่อเรียนรู้ขึ้นมาเองได้ โดยมียุทธศาสตร์และวิธีดำเนินงาน ผ่านกลไก 3 E คือ (Empower) พัฒนาศักยภาพของนักสื่อสารสุขภาวะ ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้านสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา (Engagement) พัฒนากลไกและปัจจัยแวดล้อมที่สร้างการมีส่วนร่วมทุกระดับ และ (Enable) จัดให้มีทรัพยากรและช่องทางสื่อสารแผนระบบสื่อและวิถีสุขภาวะทางปัญญา
ดร.สรยุทธ รัตนพจนารถ ผู้อำนวยการร่วมโครงการธนาคารจิตอาสา กล่าวว่า การมีสุขภาวะทางปัญญา คือ สุขภาวะด้านบวก ที่มีอยู่ในพื้นฐานของทุกคนในทัศนคติที่เอื้อต่อจิตใจ เข้าใจในความดี การให้ และการแบ่งปัน จนเกิดสุขจากภายใน ที่ไม่ได้เกิดจากสิ่งของ ไม่ว่าจะเจ็บป่วยหรือแข็งแรงก็สามารถมีสุขภาวะทางปัญญาที่ดีได้ หนึ่งในงานหลักที่ สสส. พยายามขับเคลื่อนกับภาคีเครือข่าย คือ งานธนาคารจิตอาสา เป็นการสนับสนุนให้ทุกคนลุกขึ้นมาเป็นผู้ช่วยกันสร้างสุขภาวะ และช่วยฟื้นฟูงานอาสาสมัคร และเกิดแผนงานจิตอาสาเพื่อสุขภาพ ซึ่งเป็นแผนงานที่ส่งเสริมเรื่องสุขภาวะทางปัญญา
You must be logged in to post a comment Login