- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
โรคฮิตคนทำงาน…เครียดลงกระเพาะ / ผศ.พญ.มณฑิรา มณีรัตนะพร

คอลัมน์ : พบหมอศิริราช
ผู้เขียน : ผศ.พญ.มณฑิรา มณีรัตนะพร
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่วันที่ 3-10 สิงหาคม 2561)
เรามักจะได้ยินอยู่เสมอว่าคนที่มีอาการปวดท้องบ่อยๆ สาเหตุน่าจะมาจากเครียดลงกระเพาะ เป็นไปได้อย่างไร มารู้จักโรคนี้กัน
ปรกติโรคกระเพาะจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่มีแผลและกลุ่มที่ไม่มีแผล ส่วนใหญ่ผู้ที่ประสบภาวะเครียดลงกระเพาะจะเกิดกับโรคกระเพาะกลุ่มที่ไม่มีแผล โดยส่วนใหญ่มีอาการปวดจุกบริเวณลิ้นปี่ เป็นๆหายๆ มักจะเกิดหลังรับประทานอาหาร ถ้าคนไข้มีภาวะเครียดก็อาจทำให้อาการกำเริบ ทำให้มีอาการบ่อยขึ้นและรุนแรงขึ้นได้เช่นกัน
อาการของภาวะเครียดลงกระเพาะ ส่วนใหญ่จะมีอาการปวด จุก แน่น แสบบริเวณลิ้นปี่ มักจะเกิดหลังจากรับประทานอาหาร อย่างไรก็ตาม อาจจะเกิดอาการระหว่างมื้ออาหารได้เช่นเดียวกัน อาการมักไม่รุนแรง เป็นๆหายๆ มีเพียงส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงมาก ส่วนการถ่ายอุจจาระที่ผิดปรกติหรือมีอาการแสบที่ยอดอกนั้นมักเป็นผลจากการที่มีโรคร่วม เช่น โรคลำไส้แปรปรวน โรคกรดไหลย้อน ตามลำดับ
โดยเบื้องต้นแล้วหากได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคนี้ คุณหมอจะให้คำแนะนำกับผู้ป่วยให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร
อันดับแรกคือ รับประทานอาหารให้ตรงเวลา หมายถึงคนไข้รับประทานอาหารเวลาไหนก็ให้รับประทานเวลานั้นทุกวัน
อันดับสองคือ ชนิดของอาหาร จะต้องเลือกชนิดของอาหาร อาหารบางชนิดจะกระตุ้นให้เกิดอาการค่อนข้างบ่อย เช่น อาหารที่มีรสจัดจะทำให้เกิดอาการแสบหรือปวดท้องได้บ่อยขึ้น และอาหารมันมักจะทำให้เกิดอาการจุก แน่นท้อง และต้องหลีกเลี่ยงยาหรือสารบางอย่างที่ทำให้มีอาการมากขึ้น เช่น ยาแก้ปวดกลุ่มแอสไพริน กลุ่มเอ็นเสด
นอกจากนั้นการดูแลสุขภาพทั่วไป เช่น การออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ ก็จะลดปัญหาอาการกำเริบได้ หากปฏิบัติเบื้องต้นแล้วอาการยังไม่ทุเลา แนะนำให้พบคุณหมอเพื่อตรวจเพิ่มเติมตามเหมาะสม และใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการได้
เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วคนไข้มักจะมีอาการเรื้อรัง พบว่าประมาณ 50% ของผู้ป่วยมีอาการดีขึ้นได้ 30% ของผู้ป่วยจะมีอาการเป็นๆหายๆ ในขณะที่ 20% ของผู้ป่วยจะมีอาการต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้ป่วยมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น น้ำหนักลดลงโดยไม่ทราบสาเหตุ รับประทานอาหารได้น้อยลง อิ่มเร็วขึ้น มีถ่ายอุจจาระดำ หรือมีอาการคลื่นไส้อาเจียนเรื้อรัง หากมีอาการดังกล่าวแนะนำให้ตรวจเพิ่มเติม ปรึกษาคุณหมอ สืบค้นเพิ่มเติม เพื่อพิจารณาดูว่าจะเกิดภาวะหรือโรคอื่นๆแทรกซ้อนขึ้นมาหรือไม่
You must be logged in to post a comment Login