- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 1 month ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 1 month ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
จีน/เยอรมนียันทำธุรกิจอิหร่าน

กระทรวงต่างประเทศจีนแถลงว่า ทางการจีนคัดค้านมาตลอดเรื่องการประกาศมาตรการคว่ำบาตรแต่เพียงฝ่ายเดียวของสหรัฐที่มีต่ออิหร่าน ซึ่งสหรัฐเริ่มบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรกับอิหร่านอีกครั้งโดยมีผลอย่างเป็นทางการตั้งแต่วันอังคารที่ผ่านมา หลังจากรัฐบาลประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ให้สหรัฐถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านปี 2558 ที่ทำไว้ร่วมกับชาติมหาอำนาจ นอกจากนี้ประธานาธิบดีทรัมป์ยังทวีตข้อความว่า มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านครั้งนี้นับว่าสาหัสที่สุดเท่าที่เคยมีมา และบุคคลหรือบริษัทใดก็ตามที่ยังทำธุรกิจกับอิหร่านจะไม่สามารถทำธุรกิจกับสหรัฐได้
นายโมฮัมหมัด จาวัด ซารีฟ รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน กล่าวว่า เป็นเรื่องยากที่จะนึกภาพการเจรจาใหม่กับสหรัฐ หากมีการเจรจาใหม่ในขณะนี้อิหร่านจะเชื่อใจสหรัฐได้อย่างไร เพราะสหรัฐกลับกลอกไปมา ไม่มีใครเชื่อถืออีกแล้ว ถ้อยแถลงของรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่านมีขึ้นหลังจากรัฐบาลสหรัฐเริ่มบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรอิหร่านอย่างเป็นทางการรอบแรก ในเวลาไล่เลี่ยกันประธานาธิบดีทรัมป์กล่าวว่าต้องการเจรจาทำข้อตกลงนิวเคลียร์ฉบับใหม่กับอิหร่าน
ทางด้านนายไฮโก มาสส์ รัฐมนตรีต่างประเทศเยอรมนี กล่าวว่า เยอรมนีจะยืนหยัดคัดค้านการตัดขาดการค้าขายกับอิหร่าน เพราะยังคงมองว่าการถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์อิหร่านคือความผิดพลาดมหันต์ และใครก็ตามที่หวังเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอิหร่านต้องตระหนักว่าสิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาคือความวุ่นวายที่มีแต่จะยิ่งทำให้ปัญหาที่มีอยู่แล้วลุกลามไปอีก
ทั้งนี้ มาตรการคว่ำบาตรภาคพลังงานของอิหร่านจะมีผลในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนนี้ หรือหลังครบกำหนด 90 วันที่สหรัฐให้เป็นระยะเวลาผ่อนผันสำหรับพันธมิตรและประเทศคู่ค้าให้เตรียมยุติการซื้อขายน้ำมันดิบกับอิหร่าน ในขณะที่มาตรการคว่ำบาตรในส่วนอื่นมีผลตั้งแต่วันที่ 7 สิงหาคมที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการสำรองเงินดอลลาร์สหรัฐ การซื้อขายเหล็กและถ่านหิน และอุตสาหกรรมยานยนต์
You must be logged in to post a comment Login