- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ผลงานลากตั้ง / โดย นายหัวดี
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
เว็บไซต์ iLaw สรุปภาพรวมผลงาน 4 ปีของ “สภาทหาร” ทั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) และสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ซึ่งสมาชิกส่วนใหญ่เป็นทหาร เพราะมาจากการแต่งตั้งโดยคณะรัฐประหาร
สภาปฏิรูปทั้ง 2 แห่งใช้งบประมาณไปกว่า 7,500 ล้านบาท ผลิตข้อเสนอมากว่าพันข้อ เป็นการเสนอร่าง พ.ร.บ. อย่างน้อย 105 ฉบับ ข้อเสนอเหล่านี้ผ่านเป็นกฎหมายไปแล้วเพียง 6 ฉบับเท่านั้น
สภาที่มาจากการแต่งตั้งพิจารณาผ่านร่าง พ.ร.บ. ไปแล้ว 298 ฉบับ เฉลี่ยปีละ 74.5 ฉบับ หรือสัปดาห์ละ 1.5 ฉบับ ถือว่าออกกฎหมายได้รวดเร็วมาก หลายฉบับได้คะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ แทบไม่มีเสียงคัดค้านเลย
ที่สำคัญกฎหมายที่ผ่านการพิจารณาส่วนใหญ่เสนอขึ้นมาโดยคณะรัฐมนตรี คือเป็นร่างกฎหมายที่มาจากหน่วยราชการต่างๆและคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ 252 ฉบับ เป็นกฎหมายที่เสนอโดย “คสช.” 21 ฉบับ เสนอโดยคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) 10 ฉบับ เสนอโดยสมาชิก สนช. เข้าชื่อกัน 8 ฉบับ เสนอโดย ป.ป.ช. 1 ฉบับ และเสนอโดย สปช. กับ สปท. รวมกัน 6 ฉบับ
จำนวนสมาชิกกับผลงานของ “สภาทหาร” คุ้มกับภาษีของประชาชนหรือไม่ ขณะที่เงินเดือนของสมาชิกแต่งตั้งที่มีที่ปรึกษา เลขานุการ และคณะทํางานต่างๆ รวมทั้งมีการตั้งงบประมาณเพื่อการสนับสนุนการทำงานต่างๆ เช่น ค่ารับรองตำแหน่ง ค่าเบี้ยประชุม และค่าใช้จ่ายในการจัดสัมมนา ฯลฯ
กฎหมายต่างๆที่ออกมาแทบไม่มีเสียงคัดค้าน ทำให้มีคำถามว่ามีการตรวจสอบอย่างเหมาะสมและถูกต้องชอบธรรมก่อนนำมาใช้หรือไม่?
You must be logged in to post a comment Login