วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ยากจนพิเศษ / โดย นายหัวดี

On August 16, 2018

คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด

ผู้เขียน : นายหัวดี

“ประสาร ไตรรัตน์วรกุล” ประธานกรรมการบริหารกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) กล่าวถึง “การปฏิรูปประเทศ” โดย “การปฏิรูปการศึกษา” เป็น 1 ใน 2 เรื่องการปฏิรูปที่ถูกระบุในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบัน

รัฐธรรมนูญ มาตรา 261 กำหนดให้มี “คณะกรรมการอิสระเพื่อการปฏิรูปการศึกษา (กอปศ.)” และมาตรา 54 กำหนดให้จัดตั้งกองทุนเพื่อใช้ในการช่วยเหลือผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์ ลดความเหลื่อมล้ำในการศึกษา เสริมสร้างและพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพครู ให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปีหลังรัฐธรรมนูญมีผลบังคับใช้

เป็นครั้งแรกในไทยที่มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษาระดับชาติ (Information System for Equitable Education : iSEE)  เชื่อมโยงเลขประจำตัว 13 หลัก กลุ่มเป้าหมายกองทุนกว่า 4 ล้านคน เชื่อมโยงฐานข้อมูลขนาดใหญ่ 6 กระทรวง เพื่อให้ได้ข้อมูลครบทุกมิติในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ระบบ iSEE จะช่วยให้เห็นเด็ก เยาวชน และประชาชนทุกคนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายของกองทุน เพื่อไม่ให้ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอีกแม้แต่คนเดียว

ที่น่าสนใจคือข้อมูลรายบุคคลของนักเรียนในสถานศึกษาสังกัด สพฐ. มากกว่า 1.6 ล้านคนทั่วประเทศที่ครอบครัวมีสถานะยากจน รายได้ครัวเรือนต่ำกว่า 3,000 บาทต่อคนต่อเดือน มีสภาพที่อยู่อาศัยทรุดโทรม ผู้ปกครองไม่มีรายได้ ไม่มีรถยนต์ และไม่มีที่ดินทำกินเกิน 1 ไร่

ในจำนวนนี้มีนักเรียนประมาณ 620,000 คนที่ผู้ปกครองมีรายได้เฉลี่ยเพียงเดือนละ 1,281 บาทต่อคน หรือเฉลี่ยเพียงวันละ 42.70 บาทเท่านั้น นักเรียนกลุ่มนี้เรียกว่า “นักเรียนยากจนพิเศษ” ซึ่งต้องช่วยเหลือโดยเร่งด่วน

นี่คือหนึ่งในความเหลื่อมล้ำในยุค “รวยกระจุก จนกระจาย”!


You must be logged in to post a comment Login