- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
กรมสุขภาพจิต แนะประชาชนเตรียมพร้อมรับมือพายุ“บารีจิต-มังคุด” ให้ตั้งสติ-วางแผน ป้องกันล่วงหน้า

นาวาอากาศตรีนายแพทย์บุญเรือง ไตรเรืองวรวัฒน์ อธิบดีกรมสุขภาพจิต ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสถานการณ์ความเสี่ยงเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก ดินโคลนถล่ม น้ำล้นตลิ่ง ในพื้นที่ทุกภาค จากพายุโซนร้อน บารีจัต ( Barijat) และพายุไต้ฝุ่นมังคุด (Mangkhut ) ในช่วงวันที่ 13 -18 กันยายน 2561 ตามประกาศเตือนของกรมอุตุนิยมวิทยา ว่า กรมสุขภาพจิตมีความเป็นห่วงประชาชน เนื่องจากสถานการณ์น้ำท่วม ดินโคลนถล่มซึ่งเป็นภัยจากธรรมชาติ จะมีผลกระทบต่อสภาพจิตใจประชาชน ส่วนใหญ่จะอยู่ในสภาวะเครียด วิตกกังวล วิธีการป้องกันผลกระทบดังกล่าวที่ดีที่สุด คือการเตรียมความพร้อมรับมือไว้ล่วงหน้าทั้งตนเองและครอบครัว จะช่วยลดความสูญเสียต่างๆได้ หรือหากมีก็จะมีน้อยที่สุด โดยขอให้ประชาชนตั้งสติ และคิดถึงความปลอดภัยชีวิตไว้ก่อน และให้ติดตามข่าวสารประกาศเตือนภัยจากทางราชการเป็นหลัก
สำหรับในส่วนของความพร้อมการจัดบริการดูแลประชาชน ได้ให้โรงพยาบาลจิตเวชและศูนย์สุขภาพจิตทั่วประเทศรวม 33 แห่ง จัดเตรียมทีมเยียวยาจิตใจหรือทีมสุขภาพจิตเอ็มแคทพร้อมเวชภัณฑ์ยาที่จำเป็นอย่างน้อยแห่งละ 3 ทีม เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของทีมเอ็มแคทในพื้นที่ ในการดูแลจิตใจผู้ประสบภัยในภาวะฉุกเฉินอย่างเต็มที่ และให้โรงพยาบาลจิตเวชสำรองเตียงรับผู้ป่วยจิตเวชฉุกเฉิน ทั้งนี้หากประชาชนไม่สบายใจ สามารถรับบริการปรึกษาได้ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน หรืออสม. หรือโทรสายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรี ตลอด 24 ชั่วโมง
ทางด้านนายแพทย์กิตต์กวี โพธิ์โน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจิตเวชนครพนมราชนครินทร์ จ.นครพนม กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมรับมือผลกระทบจากฝนตกหนัก มีข้อแนะนำ 5 ประการดังนี้ 1. ให้เตรียมความพร้อมร่วมกันในครอบครัว กำหนดหน้าที่ของคนในครอบครัว และวางแผนการขนย้ายผู้ที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้หรือได้น้อย เช่นผู้ป่วยติดเตียง ผู้สูงอายุ ผู้พิการ รวมทั้งสิ่งของสำคัญไว้ให้พร้อม หากเกิดสถานการณ์จริง จะสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ได้ทันที จะช่วยลดความสับสน ตื่นตระหนกลงได้ ผลกระทบความเครียดจะลดน้อยลง
2. เตรียมแผนป้องกันความเสียหายและอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในครัวเรือน เช่น การกั้นน้ำไม่ให้เข้าบ้าน ดูแลเรื่องไฟฟ้า ประปา ที่จอดรถ 3. ครอบครัวที่มีผู้มีโรคประจำตัวทุกโรคทั้งทางกายหรือทางจิต ขอให้จัดเตรียมยาที่กินประจำไว้ใกล้ตัว เพื่อหยิบง่ายในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยเฉพาะผู้ป่วยจิตเวช ห้ามขาดยา เพราะอาการจะกำเริบได้ หากพบว่ายาใกล้หมด ขอให้ไปพบแพทย์ก่อนวันนัดได้ 4. จัดเตรียมอุปกรณ์ สิ่งของเพื่อยังชีพ เช่น เทียนไข น้ำดื่มสะอาด ข้าวสาร อาหารแห้งเผื่อไว้อย่างน้อยอยู่ได้ 3 วัน และ 5. ควรจดเบอร์ฉุกเฉินของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะด้านสุขภาพและความปลอดภัยไว้ประจำบ้าน ได้แก่ สายด่วนสุขภาพจิต 1323 , สายด่วนกู้ชีพ 1669 , สายด่วนนิรภัย 1784 ของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อสามารถโทรขอรับความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดภาวะจำเป็นเร่งด่วน
You must be logged in to post a comment Login