วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สถ.หนุนรีไซเคิลยางเก่า ช่วยลดขยะครบวงจรและยั่งยืน

On September 15, 2018

สถ.เดินหน้าจัดการขยะวาระแห่งชาติ หนุนอุตสาหกรรมนำซากยางเก่ารีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ ช่วยลดขยะครบวงจรและยั่งยืน เตรียมขยายผลสนับสนุนยางพาราในประเทศ ช่วยเกษตรกรสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้น ปลุกสังคมใช้หลัก 3 ช จัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพ

วันที่ 15 ก.ย.2561 นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น พร้อมด้วยนายสุรพล ชามาตย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการ กระทรวงอุตสาหกรรม และผู้บริหารกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น คณะผู้แทนจากจังหวัดสมุทรปราการ ได้แก่ อุตสาหกรรมจังหวัด ท้องถิ่นจังหวัด ร่วมลงพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ เยี่ยมชมการจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อนำมาใช้ใหม่ได้อย่างครบวงจร ณ บริษัท กรีน รับเบอร์ เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ

นายสุทธิพงษ์กล่าวว่า กระทรวงมหาดไทย โดยกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมีภารกิจใหญ่ที่ต้องนำเอาวาระของชาติในเรื่องการบริหารจัดการขยะของประเทศมาขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม ตามที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา มุ่งมั่นขับเคลื่อนให้เกิดผลมาโดยตลอด ประกอบกับสิ่งที่ท่านนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา กล่าวอยู่เสมอ นั่นคือ เป้าหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs : Sustainable Development Goals) ในด้านการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Production and Consumption นั่นคือบริโภคแล้วสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ อย่างที่ GREEN RUBBER ENERGY ได้ดำเนินการอยู่ โดยใช้เทคโนโลยีนำซากยางรถยนต์เก่า มาสกัดแปรรูปเป็นแหล่งพลังงานทดแทน และวัตถุดิบที่สำคัญในอุตสาหกรรมต่างๆ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการนำซากยางเก่า มาเข้ากรรมวิธีคือน้ำมันเตา คาร์บอนแบลค(Carbon Black หรือ Eco Carbon) และใยเหล็ก เพื่อทดแทนการใช้ทรัพยากรแบบเดิม และยังช่วยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ทั้งยังมีความสามารถ แปรรูปซากยางรถยนต์ ที่ไม่ได้ใช้แล้ว ซึ่งปกติต้องนำไปฝังกลบ กลับมาเป็นวัตถุดิบที่มีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรม ถือได้ว่าช่วยลดขยะอุตสาหกรรมที่เกิดจากการขายยางรถยนต์ที่ไม่ใช้งานแล้ว สร้างต้นแบบการจัดการขยะอุตสาหกรรมเพื่อนำมาใช้ใหม่ได้อย่างครบวงจรและยั่งยืน ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจหรือทำให้เกิดมิติของการนำขยะมาทำให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) ที่สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

ทั้งนี้กรมฯ จะนำไปขยายผลต่อในด้านการดำเนินการเกี่ยวกับ GREEN RUBBER ENERGY ECO COMPOUND นั่นคือ ยางพาราผสมคาร์บอนแบลค ที่เหมาะสำหรับอุตสาหกรรมยางรองพื้นสนามกีฬา พื้นสนามเด็กเล่น ยางรถมอเตอร์ไซค์ เป็นต้น การกระตุ้นให้เกิดการใช้ ECO COMPOUND นี้ ยังเป็นการสนับสนุนการใช้ยางพาราในประเทศ เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยให้เกษตรกรสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้น และลดการนำเข้ายางรองพื้นจากต่างประเทศด้วย

ก่อนอื่นต้องสร้างความเข้าใจร่วมกันให้เกิดขึ้นว่า ขยะที่เป็นสิ่งที่ทุกคนรังเกียจ เป็นสิ่งที่ทำลายโลกของเรานั้นเป็นสิ่งที่เกิดจากทุกคน สามารถทำให้เกิดขึ้นน้อยลงได้ หรือไม่เกิดขึ้นได้แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้วสามารถบริหารจัดการให้หมดปัญหาและเกิดคุณค่าได้ เช่น ขยะนำไปกำจัดแล้วเกิดผลพลอยได้ทำให้เกิดพลังงานไฟฟ้า หรือที่ Green Rubber Energy นำเอายางรถยนต์เก่าที่เราทุกคนคุ้นชินกับการเผากลางทุ่งเกิดมลพิษมากมาย เพื่อเอาเส้นลวดเหล็กไปชั่งกิโลขาย มาผลิตเป็นสิ่งของที่มีคุณค่ามากมายต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์อย่างเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทำขยะ(Waste)ที่เป็นสิ่งเหลือใช้เป็นภาระต่อสังคมมาเป็นสิ่งเป็นประโยชน์ต่อได้ ให้ได้มีผลดีต่อเศรษฐกิจแล้วยังสอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ๆ ที่ใช้วิทยาการสมัยใหม่ให้เกิดมูลค่า ซึ่งสำหรับยางเก่าที่หมดอายุในประเทศไทยมีมากกว่า 100 ล้านเส้น ยังไม่มีการนำไปทำลายอย่างถูกวิธีและเกิดประโยชน์เช่นที่นี่ทำ เพราะขยะเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า มาช่วยกันผลักดันส่งเสริม สนับสนุน ให้มีวิธีการในการบริหารจัดการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมต่อไปให้ได้ วันนี้ต้องขอขอบคุณผู้บริหารของบริษัท Green Rubber Energy ทุกท่านที่ทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนของการบริหารจัดการขยะจากรถยนต์ คือยางเก่าและขอความกรุณาทางจังหวัด อำเภอ กระทรวงอุตสาหกรรม เทศบาลบางปู และท้องถิ่นจังหวัด ได้ช่วยสนับสนุนให้เกิดสิ่งดีๆเช่นนี้เพิ่มมากขึ้น

รวมกับที่กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นมุ่งขับเคลื่อนอยู่ทุกวันนี้ นั่นคือขอให้ทุกคนช่วยกันรณรงค์ ให้ทุกคนใช้ชีวิตอยู่ในหลัก 3Rs หรือ 3ช นั่นคือ Reduce (ใช้น้อย) Reuse (ใช้ซ้ำ) และ Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) และสิ่งที่สำคัญก็คือ การบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทาง นั่นคือ ครัวเรือน โดยการคัดแยกขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกออกจากขยะทั่วไป ซึ่งผู้ที่ช่วยขับเคลื่อนเรื่องนี้ให้เกิดเป็นรูปธรรม ก็คือท่าน ดร.ปฤถา พรหมเลิศ นายกสมาคมแม่บ้านมหาดไทย ช่วยส่งเสริมให้มีการจัดทำ “ถังขยะอินทรีย์หรือขยะเปียกครัวเรือน” ให้เกิดขึ้นทุกครัวเรือน ทุกชุมชน โดยร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้นำชุมชน รวมทั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ทุกแห่ง ช่วยกันขับเคลื่อนให้สัมฤทธิ์ผลและเป็นรูปธรรม

“ขอฝากให้ทุกคนร่วมสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม ช่วยกันเก็บกวาดขยะ รู้จักแยกขยะ เพื่อให้ขยะมีคุณภาพ สามารถนำไปบริหารจัดการที่ปลายทางได้ง่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดทำถังขยะเปียกครัวเรือนนี้ จะช่วยทั้งการลดปัญหาขยะเน่าเหม็น ที่เป็นที่รังเกียจของผู้คนได้แล้ว ยังมีผลพลอยได้คือทำให้ได้ปุ๋ยหมักบำรุงดิน ปลูกผักผลไม้ให้งอกงามได้ โดยไม่ต้องเสียเงินซื้อหาอีกด้วย” นายสุทธิพงษ์กล่าว

3


You must be logged in to post a comment Login