วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สิทธิกำหนดชะตาชีวิต / โดย นายหัวดี

On September 26, 2018

คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด

ผู้เขียน : นายหัวดี

“PerMAS” สหพันธ์นิสิตนักศึกษานักเรียนและเยาวชนปาตานี จัดกิจกรรมเสวนาแลกเปลี่ยนมุมมองพร้อมทั้งเสนอวิธีแก้ไขปัญหาของชาวมุสลิมในปัตตานี ในหัวข้อ “สิทธิในการกำหนดชะตากรรมตัวเองเพื่อสันติภาพ”

“ชลิตา บัณฑุวงศ์” ภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า งานวิจัยมากมาย รวมถึงความเห็นจากภาคประชาสังคมช่วง 14 ปีที่ผ่านมา ปัญหาที่ต้องแก้ไขคือ สิทธิเสรีภาพ การมีส่วนร่วมจากชาวบ้าน การเจรจากับรัฐไทย รวมทั้งความยุติธรรมที่ต้องให้ความสำคัญกับสิทธิขั้นพื้นฐานในคดีความมั่นคง เช่น สิทธิการประกันตัว การสืบหาความจริง หยุดซ้อมทรมาน รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายพิเศษ และการกระจายอำนาจการปกครองที่เหมาะสมกับประชาชน

แต่แนวทางดังกล่าวไม่เกิดขึ้นภายใต้ระบอบรัฐบาลทหาร เพราะต้องให้ประชาชนเป็นผู้ออกเสียงเอง ซึ่งยังมีปัญหาชาตินิยม ความขัดแย้งในการยอมรับประวัติศาสตร์ของคนในพื้นที่ ซึ่งเป็นความท้าทายในการสร้างสันติภาพที่มีความหลากหลาย เพราะจะต้องเจรจากับภาคส่วนต่างๆ และต้องเชื่อมโยงการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน

“ฮาฟิส ยะโก๊ะ” ประธาน PerMAS ระบุว่า รัฐไทยมีปัญหาการบริหารจัดการกับความขัดแย้งมาตลอด ซึ่งความขัดแย้งเป็นเรื่องปรกติของมนุษย์ทุกคน แต่เพราะรัฐไทยมองความขัดแย้งผ่านเลนส์ความมั่นคง จึงจบลงด้วยการใช้อาวุธห้ำหั่นกัน ไม่เคยหาทางออกที่เคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน ไม่เคยรับฟังปัตตานีเลย สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องยอมรับข้อเสนอของทุกชนชาติ ศาสนา หรือภูมิภาค

ข้อเสนอของ PerMAS ต้องนำเรื่องสิทธิในการกำหนดชะตาชีวิต (Right to Self-determination-RSD) มาใช้ตามมติของสหประชาชาติ ซึ่งกลุ่มชาติพันธุ์พยายามจะปลดปล่อยตัวเองจากประเทศเจ้าอาณานิคม


You must be logged in to post a comment Login