- อย่าไปอินPosted 18 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“หมอประเวศ” ชี้ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งประเทศเจริญ
เมื่อวันที่ 3 ต.ค. ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัด “เวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น (Community Key Actors Summit: Reducing Health Risk Factors, Enhancing Health Reinforcing Factors)) วาระ: ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เพิ่มปัจจัยเสริมสุขภาวะ” เพื่อขับเคลื่อนผลักดันนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นใน 7 ประเด็น ได้แก่ 1.การควบคุมยาสูบ 2.การควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เพื่อลดอุบัติเหตุ 3. การพัฒนาระบบอาหารชุมชน 4.การพัฒนาระบบการดูแลเด็กปฐมวัยโดยชุมชนท้องถิ่น 5.การพัฒนาระบบการดูแลผู้สูงอายุโดยชุมชนท้องถิ่น 6.การจัดการระบบนิเวศชุมชนและลดโลกร้อนโดยชุมชนท้องถิ่น และ 7.การพัฒนาระบบการดูแลกลุ่มเปราะบางโดยชุมชนท้องถิ่น โดยมีคณะกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. ภาคียุทธศาสตร์ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ 3 องค์กรหลักในพื้นที่ (ท้องที่ องค์กรชุมชน และหน่วยงานรัฐ) สมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 790 ตำบล กว่า 4,300 คน เข้าร่วม
ศ.นพ.ประเวศ วะสี ปาฐกถาพิเศษ “ท้องถิ่นเข้มแข็ง ประเทศเจริญ ทุกตำบลปลอดภัย ประเทศไทยปลอดภัย” กล่าวตอนหนึ่งว่า การปฏิรูปประเทศที่สำคัญคือการบฏิรูปโครงสร้างอำนาจ กระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่น ทำให้ประเทศทีความมั่นคงและแข็งแรง ขณะที่ประเทศไทยยังเป็นการรวมศูนย์อำนาจอยู่ แต่ที่ยังสามารถพัฒนาและขับเคลื่อนประเทศไปได้เพราะมีองค์กร หน่วยงานอิสระ ที่ทำงาน อย่างสสส. สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน) (พอช.) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กรมการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัย ภาคธุรกิจ ผู้นำท้องถิ่นในจังหวัด ซึ่งต่อจากนี้ต้องดำเนินการ 7 ข้อ คือ 1. ทำข้อมูลชุมชนท้องถิ่นในจังหวัดโดยละเอียด 2.จัดสัมนาผู้นำท้องถิ่นเป็นประจำเพื่อส่งเสริมศักยภาพผู้นำ 3. ทำหลักสูตรสร้างนักพัฒนาชุมชน 4. ประสานนำความรู้และเทคโนโลยีที่จำเป็นไปใช้ในการพัฒนาท้องถิ่น 5. ประสานมหาวิทยาลัยให้พัฒนาความรู้และเทคโนโลยีที่ท้องถิ่นต้องการ รวมทั้งหลักสูตรที่เหมาะกับท้องถิ่น 6. ทำการสื่อสารเรื่องชุมชนท้องถิ่นอย่างทั่วถึงในทุกรูปแบบ 7. จัดเวทีนโยบายสาธารณะสำหรับผู้นำชุมชนท้องถิ่น หากทำได้ก็จะเกิดฐานพัฒนาสุดยอดผู้นำในระดับชาติ
“หากผู้นำท้องถิ่นมีคุณธรรม จริยธรรม เห็นแก่ส่วนรวม สุจริต มีความสามารถทำงานเป็น จัดการได้ ฉลาด สื่อสารเก่ง เป็นที่ยอมรับ จะเป็นผู้นำชุมชนท้องถิ่นที่มีคุณภาพสูง 50 คน ตำบลละ 500 คน ทั่วประเทศ 4 ล้านคน ซึ่งได้รับการพัฒนาศักยภาพจะกลายเป็นฐานผู้นำคุณภาพสูงจำนวนมหาศาล เป็นทิศทางที่ประเทศไทยควรให้ความสำคัญในการพัฒนาผู้นำท้องถิ่น นำไปสู่การพัฒนาทุกตำบลเป็นตำบลสุขภาวะ และพัฒนาประเทศชาติ ตัวอย่างผู้นำในต่างประเทศที่เก่งๆ มาจากผู้นำท้องถิ่นมาก่อน เช่น นายบิล คลินตัน อดีตประธานธิบดีประเทศสหรัฐอเมริกา นายสี จิ้นผิง ประธานธิบดีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีผลงานเชิงประจักษ์ ประสบผลสำเร็จเป็นรูปธรรม เป็นเครื่องพิสูจน์แล้วว่า เป็นผู้ที่สามารถนำพาประเทศสู่ความเจริญก้าวหน้าได้” ศ.นพ.ประเวศ กล่าว
นายธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. กล่าวว่า เป้าหมายในการจัดเวทีฯครั้งนี้ เพื่อขยายแนวคิด แนวทางการดำเนินงาน และวิธีการเชิงเทคนิคของทั้ง 7 ประเด็นผ่านสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น เข้าสู่กระบวนการพัฒนาเป็นนโยบายสาธารณะระดับท้องถิ่นและเชื่อมโยงกับขบวนการขับเคลื่อนของทุกระดับ โดยปรับแต่ละประเด็นให้สอดคล้องกับบริบทของแต่ละพื้นที่ ขณะเดียวกันก็พัฒนาศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้มีความสามารถในการขยายผลการดำเนินงานให้ครอบคลุมกลุ่มประชากรเป้าหมายในพื้นที่ และเผยแพร่รูปธรรมนวัตกรรมการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพและเพิ่มปัจจัยเสริมสุขภาวะโดยชุมชนท้องถิ่นอันนำไปสู่การขยายแนวคิดและวิธีการไปยังพื้นที่อื่นๆ และเชื่อมโยงกับวาระทางนโยบายของประเทศ
นางสาวดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) สสส. กล่าวว่าการพัฒนาสุขภาวะเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ โดยการลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ เพิ่มปัจจัยเสริมสุขภาวะ สู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ผู้นำท้องถิ่นต้องมีคุณลักษณะดังนี้ (1) คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตน (2) มีความตั้งใจ เอาใจใส่ และรับผิดชอบต่อหน้าที่ (3) มีความซื่อสัตย์สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้(4) มีคุณธรรม (ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่ขัดต่อศีลธรรม ประเพณี กติกา ข้อตกลง) มีจริยธรรม (ครองตน ครองคน ครองงาน) (5) ได้รับการยอมรับนับถือจากสังคม(6) มีการเรียนรู้และพัฒนางานด้วยข้อมูลที่เป็นความจริง และมีการนำใช้ข้อมูลในการพัฒนางาน (7) มีความคิดริเริม สร้างสรรค์ หาทางออก (มีอุดมการณ์ มีจินตนาการ วิเคราะห์) เพื่อการแก้ไขปัญหาและพัฒนาไม่หยุดนิ่ง (8) มีการสร้างผู้นำรุ่นใหม่โดยการปลูกฝังจิตสำนึก การถ่ายทอดความรู้ (9) มีเครือข่าย (การสนับสนุนทั้งจากภายในและภายนอกพื้นที่) และ (10) มีรูปธรรม (เครื่องมือ เทคนิค วิธีการ รูปแบบ แนวทาง และแนวปฏิบัติ) หรือแบบอย่างของการทำงานและกิจกรรมที่เป็นผลดีต่อชุมชนและสังคม ซึ่ง สสส. ดำเนินงานร่วมกับผู้นำท้องถิ่น โดยใช้เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนมานาน ผู้นำชุมชนถือเป็นบุคคลสำคัญที่มีอิทธิพลต่อชุมชนมาก และหากผู้นำดีก็จะช่วยให้แก้ไขปัญหาของชุมชนและพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน
You must be logged in to post a comment Login