วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนบุกกระทรวงคลังคัดค้านการแก้ไขพ.ร.บ.สสส.

On October 11, 2018

เครือข่ายสุขภาพภาคประชาชนกว่า100ชีวิต บุกกระทรวงคลัง คัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.สสส. ซุกปีกคลัง รวบอำนาจเหนือบอร์ดกองทุน ถอยหลังกลับไปอยู่ใต้ระบบราชการ จี้หยุดเดินหน้า หยุดอ้างบัญชานายก ตัดตอนภาคประชาชนด้านสุขภาพ

วันนี้(11ตุลาคม) ที่บริเวณด้านหน้ากระทรวงการคลัง นายคำรณ ชูเดชา ผู้ประสานงานขบวนการสร้างเสริมสุขภาพภาคประชาชน (ขสช.) นำตัวแทนเครือข่ายสุขภาพ จาก 4 ภาค ประกอบด้วยกลุ่ม องค์กร ภาคประชาชนที่ทำงานด้านเด็ก เยาวชน ครอบครัว สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ แรงงานนอกระบบ ผู้บริโภค คนจนเมืองและชนบท กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มเกษตร ความมั่นคงทางอาหาร ฯลฯ กว่า100 คน ยื่นจดหมายเปิดผนึกถึง นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผ่านทาง ศิขรินทร์ ลิ้มนิจสรกุล นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการพิเศษ กระทรวงการคลังเพื่อแสดงจุดยืนคัดค้านการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ หรือ กฎหมาย สสส. ที่ริดรอนความเข้มแข็งของภาคประชาชนด้านสุขภาพ และยังเป็นการรวบอำนาจจากกรรมการบริหารกองทุน โดยต้องมาผ่านความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง พร้อมเรียกร้องให้ยุติการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ หยุดการอ้างคำสั่งนายกฯ ทั้งนี้เครือข่ายฯได้ทำกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ “หยุดครอบงำ หยุดทำลายสสส.”ด้วย

นายคำรณ กล่าวว่า การรวมตัวของเครือข่ายสุขภาพครั้งนี้ เพื่อต้องการแสดงจุดยืนร่วมกันในการคัดค้านการแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ เนื่องจากพบว่า กระทรวงการคลังและกระทรวงสาธารณสุข มีความพยายามแก้ไขพ.ร.บ.สสส. โดยสาระสำคัญในการแก้ไขกฎหมายขัดแย้งกับเจตนารมณ์ในการก่อเกิด สสส. อย่างสิ้นเชิง และยังเป็นการรวบอำนาจในการทำงาน ส่งผลกระทบให้การทำงานของ สสส.ขาดความเป็นอิสระ

“หากการแก้ไข้ พ.ร.บ. สสส.เป็นผลสำเร็จแล้วนั้น ในกฎหมายใหม่ ได้ระบุว่า การดำเนินงานของกองทุนจะต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและข้อกำหนดที่ต้องผ่านความเห็นชอบของกระทรวงการคลังก่อน และยิ่งไปกว่านั้น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังจะเป็นผู้มีอำนาจในการทบทวนวงเงินงบประมาณกองทุนตามอัตราเงินเฟ้อทุกๆ2  ปี เป้นตรรกะที่แปลกประหลาดมาก ที่ระดับการตัดสินใจของบอร์ดซึ่งนายกเป็นประธาน และมีผู้แทนของกระทรวงคลังอยู่ในบอร์ดนี้ด้วย แต่ยังต้องนำเรื่องมาขอความเห็นชอบจากกระทรวงการคลังอีก” นายคำรณ กล่าว

นายคำรณ กล่าวต่อว่า ผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับ สสส.เมื่อระบบราชการเข้ามาครอบงำ คือ ขาดความเป็นอิสระและขาดความคล่องตัวต่อ การแก้ไขปัญหาสุขภาพที่ปัจจุบันมีความซับซ้อนและต้องการความรวดเร็วในการทำงาน และในการจำกัดวงเงินเท่ากับควบคุมการทำงานสร้างเสริมสุขภาพตามหลักการ สร้างนำซ่อม ถูกทำให้เล็กลง เสมือนตัดแขนตัดขาทำให้แคระแกรน ทำให้มีผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษามากขึ้นโดยไม่จำเป็น และกลุ่มคนที่จะได้รับผลประโยชน์มากที่สุดจากการแก้ไขกฎหมายในครั้งนี้ คือกลุ่มทุนผลิตภัณฑ์สินค้าและสารเคมีอันตรายที่ทำลายสุขภาพทั้งสิ้น

ทั้งนี้เครือข่ายฯขอแสดงจุดยืนและมีข้อเรียกร้องต่อกระทรวงการคลัง เพื่อนำไปพิจารณา ดังต่อไปนี้1.ขอให้ยุติการแก้ไขพ.ร.บ.กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ พ.ศ. 2544 เพราะร่างกฎหมายใหม่ไม่เห็นว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นแต่อย่างใด ซ้ำร้ายยังถอยหลังไปไกลทั้งในประเด็นการจำกัดเพดานวงเงิน การรวบอำนาจกรรมการบอร์ดกองทุน สสส. ให้ต้องมาผ่านความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง เป็นการแก้ไขที่ขัดกับเจตนารมณ์ในการก่อเกิด สสส. ที่ต้องการลดช่องว่าง ลดอุปสรรคที่ระบบราชการเข้าไม่ถึงประชาชนในการสร้างเสริมสุขภาพ ก่อนที่จะเจ็บป่วยและเข้าสู่การบำบัดรักษา  2.การแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ขัดแย้งกับยุทธศาสตร์ชาติและแผนการปฏิรูปประเทศอย่างสิ้นเชิงในแทบทุกมิติ ทั้งในด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบการบริหารจัดการภาครัฐ ด้านการพัฒนาและการเสริมสร้างศักยภาพคน การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม การสร้างความเข้มแข็งของสถาบันทางสังคมและทุนทางวัฒนธรรมและความเข้มแข็งของชุมชน ซึ่งการปฏิรูปประเทศในทุกมิติดังกล่าวต้องก้าวหน้าขึ้น มิใช่ถอยหลัง กลับไปสู่ความล้าสมัย และเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินการสร้างเสริมสุขภาพตามวัตถุประสงค์ของกองทุน สสส.

3.ขอให้ยุติการกล่าวอ้างว่าการแก้ไข พ.ร.บ.สสส. เป็น“บัญชานายก” เพราะตั้งแต่ปี 2558 ที่มีคำสั่งตั้งคณะกรรมการติดตามและตรวจสอบการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐ (คตร.) เข้ามาตรวจสอบการทำงานของ สสส. พบว่าปัจจุบันได้มีการปรับปรุงแก้ไขระเบียบการดำเนินงานต่างๆของกองทุนไปแล้วถึง19 ฉบับ การดำเนินงานเรื่องภาษี ที่มีปัญหาบางส่วนก็ได้ข้อยุติจากกรมสรรพากรชัดเจน ตลอดจนมีคำสั่ง คสช.ที่ 70/2559 ยกเลิก คตร. ไปแล้ว ในขณะเดียวสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้ประเมินองค์กรของรัฐในเรื่องความโปร่งใส ความพร้อมรับผิด ความปลอดจากการทุจริตในการปฏิบัติงาน วัฒนธรรมคุณธรรมในองค์กร และคุณธรรมการทำงานในหน่วยงาน พบว่า สสส. เป็นหนึ่งในองค์กรมีผลคะแนนสูงมาก ถึง 81.41คะแนน และได้รับประกาศนียบัตรเชิดชูเกียรติจากนายกรัฐมนตรี การแก้ไข พ.ร.บ.สสส. จึงขาดความชอบธรรมโดยสิ้นเชิงที่จะเดินหน้าต่อไปได้

4

3


You must be logged in to post a comment Login