วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

“CHG” ลงนามสัญญาซื้อเครื่องฉายรังสีรุ่น Synergy จากประเทศสวีเดน

On November 1, 2018

กลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ ดำเนินธุรกิจการให้บริการรักษาพยาบาล และพัฒนาคุณภาพชีวิต ผู้ป่วยมากว่า 30 ปี ร่วมกับ บริษัท พรีเมียร์ บิสสิเนส อินเตอร์ จำกัด ตัวแทนจำหน่ายเครื่องมือแพทย์ทางรังสีรักษา เครื่องเร่งอนุภาค เครื่องฝังแร่ เพื่อรักษามะเร็ง และอุปกรณ์ทางด้านรังสีรักษา จัดงานแถลงข่าวลงนามสัญญาการซื้อ – ขายเครื่องฉายรังสี รุ่น Synergy จากประเทศสวีเดน เพื่อดูแลและรักษาให้ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ฝั่งตะวันออกได้รับการรักษาสะดวกและรวดเร็ว   ไม่ต้องใช้เวลาเดินทางเข้าเมืองที่จะรอเข้าคิวรักษา โดยเครื่องฉายรังสีนี้จะนำไปใช้ในโรงพยาบาลศูนย์มะเร็งและรังสีรักษาสุวรรณภูมิ ซึ่งจะเปิดทำการรักษาอย่างเป็นทางการในปี 2562 งานแถลงข่าวจัดขึ้น ณ โรงแรม อโนมา แกรนด์ แบงคอก

​นายแพทย์กำพล พลัสสินทร์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มโรงพยาบาลจุฬารัตน์ กล่าวถึงในการลงนามในครั้งนี้ว่า “ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากโรงมะเร็งสูงเป็นอันดับหนึ่งของโลก รวมถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคมะเร็งเข้ามารักษาในโรงพยาบาลของเราเป็นจำนวนมาก ซึ่งมะเร็งสามารถรักษาและลดการแพร่กระจายได้หลายวิธี แต่มีเพียงไม่กี่โรงพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษาจึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจากโรงมะเร็งเป็นจำนวนมาก ทางโรงพยาบาลจึงเล็งเห็นปัญหานี้ จึงดำเนินการพัฒนาคุณภาพในการรักษาโรงมะเร็งอย่างต่อเนื่อง โดยการนำเทคโนโลยีที่มีประสิทธิภาพอย่างเครื่องฉายรังสี   รุ่น Synergy เพื่อดูแลและรักษาให้ผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ฝั่งตะวันออกได้รับการรักษาสะดวก และรวดเร็วไม่ต้องใช้เวลา เดินทางเข้าเมืองที่จะรอเข้าคิวรักษา โดยเครื่องฉายรังสีนี้จะนำไปใช้ในโรงพยาบาลศูนย์มะเร็งและรังสีรักษาสุวรรณภูมิ  ซึ่งจะเปิดทำการรักษาอย่างเป็นทางการในปี 2562”

​นายปราโมทย์ ก๊กพ่อค้า ผู้จัดการทั่วไป บริษัท พรีเมียร์ บิสสิเนส อินเตอร์ จำกัด เผยถึงประสิทธิภาพของเครื่องฉายรังสีรุ่น Synergy ว่า “สำหรับเครื่องฉายรังสีรุ่นนี้เป็นเครื่องมือในการรักษาที่มีความแม่นยำสูง และใช้เวลาในการฉายรังสีรวดเร็ว จึงทำให้สามารถรองรับการรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งได้มากขึ้น จนเป็นที่ยอมรับจากโรงพยาบาลในต่างประเทศที่ได้นำเครื่องฉายรังสีไปรักษาผู้ป่วยโรคมะเร็งว่าเป็นเครื่องมือแพทย์ที่มีประสิทธิภาพดีเยี่ยม โดยผลิตพลังงานรังสีโฟตอนพลังสูงให้ไปที่ตำแหน่งของเซลล์มะเร็งเพื่อทำลายกลุ่มก้อนเซลล์มะเร็งนั้น ๆ ประกอบกับการรักษาด้วยเทคนิคการฉายรังสีแบบสามมิติ (3D Conformal) เทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้ม หรือ IMRT (Intensity Modulated Radiation Therapy) ซึ่งสามารถกำหนดปริมาณรังสีให้เหมาะกับความหนา – บางของเซลล์มะเร็งได้ และเทคนิคการฉายรังสีแบบปรับความเข้มเชิงปริมาตร VMAT (Volumetric Modulated Arc Therapy) จะใช้ระบบภาพนำวิถีแบบสามมิติมาช่วยในการตรวจสอบตำแหน่งของก้อนมะเร็ง ประกอบกับการช่วยลดระยะเวลาในการฉายรังสี เนื่องจากครอบคลุมเฉพาะก้อนมะเร็งทั้งหมด จึงทำให้การรักษามะเร็งถูกต้องแม่นยำและลดผลกระทบที่จะเกิดกับอวัยวะข้างเคียงของผู้ป่วย นอกจากนี้ความพิเศษสุดของเครื่องฉายรังสียังสามารถหมุนได้รอบตัวผู้ป่วย รวมถึงความเร็ว ปริมาณรังสี และการเคลื่อนที่ของวัตถุกำบังรังสีที่มีขนาดเล็ก โดยกำหนดพื้นที่การฉายรังสีตามลักษณะของก้อนมะเร็งที่มีรูปร่างแตกต่างกันได้อีกด้วย” นายปราโมทย์ กล่าว

2

3


You must be logged in to post a comment Login