- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
กฎหมายไซเบอร์? / โดย นายหัวดี
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
“ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ยุค “ตู่ดิจิทัล” มีมาแล้ว 3 ฉบับ ทุกฉบับให้อำนาจรัฐสอดส่องประชาชนอย่างกว้างขวางโดยไม่ต้องมีหมายศาล ถือเป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน โดยอ้างคำว่า “ความมั่นคงของรัฐ” กับ “ความสงบเรียบร้อยของประชาชน” ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกในยุค “อำนาจเป็นใหญ่” โดยเฉพาะอำนาจจาก “ปลายกระบอกปืน” ที่กำลังสถาปนา “ระบอบเช้าชามเย็นชาม” ขึ้นมาเป็นกลไกแทน “นักเลือกตั้ง”
“ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” มีการพยายามเสนอโดยรัฐบาลทหารครั้งแรกปี 2558 โดยอ้างเรื่องเศรษฐกิจภายใต้ชุด “กฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล 10 ฉบับ” แต่ประชาชนนับแสนร่วมลงชื่อคัดค้านบนโลกออนไลน์ เพราะไม่เห็นด้วยกับการให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการเข้าถึงข้อมูลการสื่อสารโดยไม่ต้องมีหมายศาล
วันที่ 11 ตุลาคม 2561 ได้มีการเสนอ “ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” กลับมาอีก โดยกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมอ้างว่าผ่านการเปิดรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนแล้ว ทั้งที่รู้กันดีว่ากระบวนการรับฟังความเห็นของระบบราชการส่วนใหญ่มีการหมกเม็ดอย่างไร
เนื้อหาของ “ร่าง พ.ร.บ.ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์” ฉบับใหม่ ให้อำนาจรัฐเข้าถึงข้อมูลของประชาชนได้มากขึ้น เพียงแค่มีเหตุอันควรสงสัยว่าคนนั้นเกี่ยวข้องกับภัยคุกคามไซเบอร์ และเพื่อลดความเสี่ยงจากภัยคุกคามไซเบอร์ ทั้งยังให้อำนาจเจ้าหน้าที่บุกตรวจค้นและยึดคอมพิวเตอร์ได้ทันทีโดยไม่ต้องมีหมายศาล
ขณะที่ในทางสากลที่ให้อำนาจในการ “สอดแนม” ในแง่ “ความมั่นคงของรัฐ” นั้น จะกำหนดขอบเขตที่ชัดเจนทั้งตัวบุคคลที่ถูกสอดส่อง ข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ มาตรการที่ใช้ และจำกัดเวลาที่อนุญาตให้ทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้รัฐละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนแบบครอบจักรวาล
ร่างกฎหมายไซเบอร์จึงอันตรายอย่างยิ่งหากนำมาใช้ตามที่เสนอ!
You must be logged in to post a comment Login