- อย่าไปอินPosted 18 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“สธ.-สพฉ.-สสส.-WHO” ร่วมประกาศกรุงเทพก้าวหน้าสู่โลกที่ปลอดภัย
ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค นพ.ประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธีประกาศแถลงการณ์กรุงเทพ (Bangkok Statement) ก้าวหน้าสู่โลกที่ปลอดภัย ห่างไกลการบาดเจ็บและความรุนแรงอย่างยั่งยืน ตามแนวทางของสมัชชาอนามัยโลก 2562 ต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมทำพิธีปิดการประชุมระดับโลกว่าด้วยการป้องกันการบาดเจ็บและการส่งเสริมความปลอดภัย ครั้งที่ 13 (Safety 2018 – The 13th World Conference on Injury Prevention and Safety Promotion)
นพ.ประพนธ์ กล่าวว่า รูปแบบการประชุมโลก Safety 2018 ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ เกิดขึ้นจากการทบทวนหารือถึงความก้าวหน้าในการป้องกันการบาดเจ็บและการส่งเสริมความปลอดภัยหลังจากการประชุมโลกครั้งที่ 12 ที่ประเทศฟินแลนด์ สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาในครั้งนี้คือการประสานงานที่เข้มแข็งขึ้นของทั้งภาครัฐและภาคสังคม เพื่อป้องกันและลดผลกระทบจากการบาดเจ็บและความรุนแรง โดยอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่าย ประกอบไปด้วย องค์การอนามัยโลก (WHO) สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
ดร.แดเนียล เคอร์เตส ผู้แทนองค์การอนามัยโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า การบาดเจ็บและความรุนแรงเป็นสิ่งที่สามารถป้องกันแก้ไขได้ ทั้งการบาดเจ็บจากการจราจรทางถนน การจมน้ำ บาดแผลไฟไหม้ การล้ม การโดนยาพิษ การใช้ยาเกินขนาด การฆ่าตัวตายและการฆาตกรรม ความรุนแรงในชุมชน ความรุนแรงต่อผู้หญิง เด็กและเยาวชน ผู้สูงอายุ ทั้งนี้ ปัญหาทั้งหมดยังคงมีผลต่อด้านสาธารณสุข และท้าทายการพัฒนาที่สำคัญของประเทศที่มีรายได้น้อยและปานกลาง โดยเฉพาะแนวโน้มเป้าหมายด้านความปลอดภัยทางถนนของ SDG เป้าหมายที่ 3.6 และ 11.2 ที่อาจจะไม่บรรลุผล แต่หากประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลก คณะกรรมการสหประชาชาติ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่น เพิ่มความพยายามในการดำเนินการตามมติสมัชชาแห่งสหประชาชาติ A / RES / 72/271 ในเรื่องการปรับปรุงความปลอดภัยบนท้องถนนทั่วโลก เป้าหมาย SDG ก็อาจสัมฤทธิ์ผลได้
ด้าน ดร.สุปรีดา อดุลยานนท์ ผู้จัดการกองทุน สสส. กล่าวว่า วิธีการสนับสนุนงานป้องกันการบาดเจ็บและความรุนแรงที่สำคัญคือ การเสริมสร้างความสามารถในการเข้าถึงข้อมูลระดับชาติ ที่ติดตามความคืบหน้าของการส่งเสริมความปลอดภัย และสนับสนุนการวิจัยเชิงพื้นที่ เพื่อนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประกอบการตัดสินใจในการผลักดันให้เกิดนโยบายความปลอดภัย
ทั้งนี้ สสส. ได้บรรจุแผนจัดการความปลอดภัยและปัจจัยเสี่ยงทางสังคม เพื่อมุ่งตอบสนองเป้าประสงค์ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการจัดการความปลอดภัยทางถนน โดยสนับสนุนการดำเนินงานตามทศวรรษแห่งความปลอดภัยทางถนน (ปี 2554-2563) ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ด้วยการส่งเสริมการพัฒนานโยบายสาธารณะใหม่ เช่น การลดความเร็วของการขับขี่ในเขตเมือง การเพิ่มโทษผู้ดื่มแล้วขับและเป็นเหตุให้ผู้อื่นเสียชีวิต สนับสนุนให้เกิดการเชื่อมฐานข้อมูลการกระทำผิดซ้ำ ส่งเสริมให้เกิดมาตรการองค์กรด้านความปลอดภัยทางถนน มาตรการองค์กรส่งเสริมการสวมหมวกนิรภัย ยกระดับความปลอดภัยของรถโดยสารสาธารณะ และที่สำคัญคือการสานพลังเชื่อมภาคีเครือข่ายทั้งภาคประชาชน รัฐ เอกชน และท้องถิ่นในระดับอำเภอและพื้นที่ เพื่อนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาประกอบการตัดสินใจในการผลักดันให้เกิดนโยบายความปลอดภัย และร่วมสนับสนุนการรณรงค์สื่อสารไปยังสังคมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านทัศนคติและพฤติกรรม
You must be logged in to post a comment Login