- เรื่องยังไม่จบPosted 1 day ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 6 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 7 days ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
- บทเรียนพระสายมูPosted 2 weeks ago
พช.นำสื่อเยี่ยมชม “นครราชสีมา” อารยธรรมอีสานใต้ ในโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว
ตามที่กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ได้จัดทำโครงการหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (OTOP Village ) 8 เส้นทาง ทั่วประเทศเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นให้เกิดความเข้มแข็ง โดยใช้วัฒนธรรมประเพณีตลอดจนทรัพยากรของท้องถิ่น คงความเป็นอัตลักษณ์ของชุมชน ภายใต้การบูรณาการ การมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนซึ่งประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง สามารถส่ง เสริมให้ชุมชนเกิดการตื่นตัวและเกิดการรวมพลังในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทรัพยากรของชุมชนให้เกิดมูลค่า และสร้างรายได้แก่ชุมชนรวม 31 จังหวัด 125 หมู่บ้าน นั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 12-14 พฤศจิกายน 2561 กรพัฒนาชุมชนได้นำสื่อมวลชนเข้าร่วมในกิจกรรมสื่อมวลชนเยี่ยมชมหมู่บ้าน OTOP เพื่อการท่องเที่ยว (Press Tour) ในเส้นทางที่ 3 : อารยธรรมอีสานใต้ นครราชสีมา – บุรีรัมย์ – ศรีสะเกษ – อุบลราชธานีเริ่มต้นที่จ.นครราชสีมา เยี่ยมชมหมู่บ้านด่านชัย ต.ด่านเกวียน อ.โชคชัย ทำกิจกรรมปั้นเครื่องปั้นดินเผา พร้อมชมเตาเผาเอกลักษณ์ท้องถิ่น ,สักการะวัดด่านเกวียน(รูปหล่อดินเผา)ชมโอ่ง 4 เมตรและชมวิวสะพานข้ามแม่น้ำมูล ไปต่อยังหมู่บ้านธารปราสาทและหมู่บ้านปราสาทใต้ ต.ธารประสาท ชมสาธิตการทำผลิตภัณฑ์การทักทอจากต้นกก ชมพิพิธภัณฑ์บ้านปราสาท และหลุมที่ขุดค้นพบซากกระดูกคนโบราณ อ.โนนสูง
หมู่บ้านด่านชัย เป็นหมู่บ้านในตำบลด่านเกวียนมีชื่อเสียงด้านเครื่องปั้นดินเผา ชาวบ้านส่วนใหญ่ทำอาชีพเกี่ยวข้องกับงานประเภทเครื่องปั้นดินเผา
ทั้งสิ้น เช่น ขายดินสำหรับผลิตเครื่องปั้นดินเผา รับเผาเครื่องปั้น รับนวดดิน ไปจนถึงรับผลิตเครื่องปั้นดินเผา ที่มีทั้งงานประเภทขึ้นรูปด้วยมือ และ
งานออกแบบตามที่ลูกค้าต้องการ ถือเป็นแหล่งชุมชนที่ขับเคลื่อนเรื่องของเครื่องปั้นดินเผาในตำบลด่านเกวียน ให้มีความต่อเนื่องและมีคุณภาพ
รวมถึงรักษาเอกลักษณ์ของบ้านด่านเกวียนไว้อย่างดี มีชื่อเสียงไปไกลถึงต่างแดน มีลักษณะเด่นคือ ดินสีแดง ทนทาน ไม่แตกหักง่าย ทำให้เครื่อง
ปั้นดินเผา ได้รับเลือกให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยว OTOP ต้นแบบ ทำให้นักท่องเที่ยวอยากมาเยี่ยมชม และซื้อหาเป็นของที่ระลึก อีกทั้งยังมีความ
พร้อมด้านที่พัก ร้านอาหารตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกในการต้อนรับนักท่องเที่ยวด้วย
เมื่ออัตลักษณ์คือเครื่องปั้นดินเผาสิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือศูนย์รวมจิตใจของชุมชนนั่นคือ”วัดด่านเกวียน”ซึ่งมีบาตรน้ำมนต์ดินเผาโบราณใหญ่
ที่สุดในโลก ตั้งอยู่ภายในโบสถ์ บรรจุน้ำมนต์ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยพุทธคุณ แห่งคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ และทวยเทพเทวาทั้งหลาย
เมื่อมากราบขอพรองค์พระ อย่าลืมรับการพรมน้ำมนต์เพื่อความเป็นศิริมงคล
แหล่งโบราณคดีบ้านปราสาทเป็นแหล่งโบราณคดีที่สำคัญแห่งหนึ่งของจังหวัดนครราชสีมา มีอายุราว 3,000 ปี จากการที่มีการจับกุมนักค้าของเก่าที่
ขุดของจากที่นี่ไปขาย ทำให้กรมศิลปากรส่งเจ้าหน้าที่ไปศึกษาในปี 2526 พบว่าเป็นแหล่งโบราณคดีขนาดใหญ่ มีคูน้ำคันดินล้อมรอบ 1 ชั้น มีลำธาร
ปราสาทไหลผ่านด้านเหนือ มีมนุษย์มาตั้งชุมชนครั้งแรกราว 3,000 ปีมาแล้ว รู้จักการเพาะปลูกข้าวและเลี้ยงสัตว์ มีการใช้สำริดบ้างแต่ไม่แพร่หลาย
ทำภาชนะดินเผาทรงปากแตรสีแดงขัดมันและมีการนำภาชนะดังกล่าวฝังร่วมกับศพด้วย
บ้านปราสาทนับเป็นแหล่งโบราณคดีแห่งที่สองต่อจากบ้านเชียง ที่ได้จัดทำในลักษณะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง จากหลักฐานที่ค้นพบสันนิษฐานว่า
มีชุมชนอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์จนถึงสมัยประวัติศาสตร์ มีหลักฐานของกลุ่มวัฒนธรรมแบบทวารวดีและแบบเขมรโบราณ
ช่วงระหว่าง 1,500-3,000 ปีมาแล้ว หลุมขุดค้นที่ตกแต่งและเปิดให้ชมทั้งหมด 3 แห่ง คือ หลุมขุดค้นที่ 1 มีโครง
กระดูกฝังอยู่ในชั้นดินแต่ละสมัย แต่ละยุคมีลักษณะการฝังที่ต่างกันไป ยุค 3,000 ปี อยู่ในชั้นดินระดับล่างสุดลึก 5.5 เมตร โครงกระดูกจะหันหัว
ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ยุค 2,500 ปี หันหัวไปทางทิศตะวันออก ยุค 2,000 ปีหันหัวไปทางทิศใต้ แต่คติในการฝังจะคล้ายกันคือจะนำเครื่องประดับ
เช่น กำไลเปลือกหอย ลูกปัด แหวนสำริด กำไลสำริด เครื่องประดับศีรษะทำด้วยสำริดและภาชนะของผู้ตายฝังร่วมไปด้วยกับผู้ตาย ในช่วงสามระยะแรกนี้
เป็นภาชนะดินเผา เคลือบน้ำดินสีแดง แบบลายเชือกทาบ ลักษณะหลักของภาชนะเป็นแบบคอแคบปากบาน แต่บางใบมีทรงสูงเหมือนคนโท
บางชิ้นมีลักษณะเป็นทรงกลมสั้น ต่อมาในยุค 1,500 ปี นั้นลักษณะภาชนะจะเปลี่ยนเป็นแบบพิมายดำ คือ มีสีดำ ผิวขัดมัน เนื้อหยาบบาง
หลุมขุดค้นที่ 2 ในดินชั้นบนพบร่องรอยของศาสนสถานในพุทธศตวรรษที่ 13-16 เรียกกันว่า “กู่ธารปราสาท” และพบเศียรพระพุทธรูปในสมัยเดียวกัน
ศิลปะทวารวดีแบบท้องถิ่น นอกจากนี้ยังพบรูปปั้นดินเผาผู้หญิงครึ่งตัวเอามือกุมท้องลักษณะคล้ายตั้งครรภ์ และชิ้นส่วนลายปูนปั้นประดับปราสาท
หลุมขุดค้นที่ 3 พบโครงกระดูกในชั้นดินที่ 5.5 เมตร เป็นผู้หญิงทั้งหมด เป็นที่น่าสังเกตว่ากระดูกทุกโครงในหลุมนี้ไม่มีศีรษะ และภาชนะนั้นถูกทุบให้แตกก่อนที่จะนำลงไปฝังด้วยกัน นักโบราณคดีสันนิษฐานว่าเป็นโครงกระดูกของผู้หญิงที่ถูกประหารชีวิตและนำศีรษะไปแห่ประจาน และได้พบส่วนกะโหลกอยู่รวมกันในอีกที่หนึ่ง ซึ่งห่างจากจุดเดิมเพียง 500 เมตร ชาวบ้านปราสาทจะร่วมกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลในวันที่ 21 เมษายน ของทุกปี
กิจกรรมที่ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสได้แก่ การทำขนมตามฤดูกาล เช่นขนมตาล ขนมสายบัว ขนมหน้าแฟง การทอเสื่อกก การทำพวงกุญแจ การทำเครื่อง
ดนตรีไทย ส่วนใครที่อยากนั่งรถอีแต๋น สามารถเช่าและให้พาเที่ยวรอบหมู่บ้าน ช่วงฤดูกาลทำนาซึ่งที่นี่ทำนาปีละครั้ง สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมกับชาวบ้านได้และซื้อสินค้าที่สร้างสรรค์ด้วยความปราณีตจากกก นำมาประยุกต์เป็นของใช้ต่างๆอย่างหลากหลาย ทั้งกระเป๋า หมวก เสื่อ ที่รองจาน แฟ้มใส่เอกสาร และยังสามารถทอให้เป็นตัวอักษรหรือลวดลายได้ตามต้องการได้ด้วย
ทั้งนี้การที่คนในชุมชนบ้านธารปราสาทประสบความสำเร็จในการจัดการท่องเที่ยว พบว่าเกิดมาจากองค์กรหรือแต่ละภาคส่วนทำงานกันอย่างลงตัว แม้ความรับผิดชอบจะแตกต่างกันไป แต่ก็เอื้อให้กันอย่างพอดี กรมการพัฒนาชุมชนสนุบสนุนงบประมาณให้เป็นหมู่บ้านโอทอปเพื่อการท่องเที่ยว กรมศิลปากรมีการขุดค้นทางโบราณคดี สร้างตัวอาคารคลุมหลุมขุดค้นที่ 1-3 มีการจัดสร้างและดูแลพิพิธภัณฑ์บ้านปราสาทเล่าประวัติของหมู่บ้าน ทางอบต.บ้านธารประสาทได้ให้งบประมาณในการซ่อมแซมถนนเข้าหมู่บ้าน โรงเรียนบ้านธารปราสาทได้จัดยุวอาสามัคคุเทศก์ที่ได้รับการอบรมจากกรมศิลปากร มาประจำอยู่ที่หลุม
You must be logged in to post a comment Login