- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
กะลา0.4?

คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 19 พ.ย.2561)
ต้องร้องเพลง “ประเทศกูมี” ซ้ำหลายๆครั้งกับกรณี “คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)” ได้ส่งหนังสือด่วนที่สุดถึง “หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่” หลังจากทำหนังสือสอบถามกรณีการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ของพรรคการเมืองและอื่นๆรวม 32 ข้อว่า ไม่สามารถขายในระบบออนไลน์ได้
เหตุผลของ กกต. ระบุว่า การขายของออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่การจำหน่ายจาก “สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ” ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง
โดยข้อ 1-6 ที่พรรคอนาคตใหม่ถามถึงการตีความระเบียบ กกต.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 ข้อ 33 คำว่า “สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ” ได้แก่ ที่ตั้งสำนักงานใหญ่พรรคการเมือง ที่ตั้งสำนักงานสาขาพรรคการเมือง บริเวณสถานที่จัดกิจกรรมระดมทุน บริเวณสถานที่จัดประชุมใหญ่ประจำปีของพรรคการเมือง สาขาพรรค หรือที่ทำการพรรคการเมืองประจำจังหวัด ซึ่งคำว่า “ได้แก่” เป็นการยกตัวอย่างใช่หรือไม่
ถามเรื่องการขายสินค้าบนเว็บไซต์ หรือแอพพลิเคชั่น หรือสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ว่าเป็นการจำหน่ายจาก “สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ” ใช่หรือไม่ หากสมาชิกพรรคหรือบุคคลอื่นขายสินค้าที่มีโลโก้พรรคการเมืองโดยพรรคไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้อง ย่อมมิใช่การจัดจำหน่ายสินค้าตามระเบียบ กกต.ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 หมวด 5 ใช่หรือไม่ แล้วหากสมาชิกหรือบุคคลนำรายได้จากการจำหน่ายสินค้ามาบริจาคก็ต้องลงบัญชีรับบริจาคใช่หรือไม่
กกต. ตอบว่าคำว่า “ได้แก่” ไม่ใช่การยกตัวอย่าง การขายของออนไลน์ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ไม่ใช่การจำหน่ายจาก “สถานที่จำหน่ายสินค้าหรือบริการ” ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 62 และระเบียบ กกต.ว่าด้วยพรรคการเมืองข้อ 33
ส่วนการถามถึงสมาชิกหรือบุคคลอื่นเป็นผู้จำหน่ายนั้น กกต. ไม่ตอบ เพราะไม่มีการระบุชัดในข้อเท็จจริง แต่หากจะมีการนำรายได้จากสมาชิกหรือบุคคลอื่นที่ขายสินค้าให้ถือว่าเป็นรายได้พรรคการเมือง
ข้อ 13-17 พรรคอนาคตใหม่ถามถึงการหารายได้ ดอกผลจากหลักทรัพย์ หรือการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกองทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ นายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ตัวแทนประกันชีวิต หรือการตั้งสหกรณ์นั้น
กกต. ตอบว่าไม่ใช่ เพราะไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งพรรคการเมืองตามมาตรา 20 และมาตรา 23 ของ พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง
ข้อ 18-20 และข้อที่ 22-26 พรรคอนาคตใหม่ถามการจัดเก็บฐานข้อมูลสมาชิกในรูปอิเล็กทรอนิกส์ แล้วยังต้องจัดเก็บเป็นรูปของกระดาษ (Hard Copy) อีกหรือไม่ สามารถให้สมาชิกลงลายมือชื่อดิจิทัล (Digital Signature) หรือลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature) ตลอดจนการถ่ายภาพใบสมัครสมาชิก บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง แล้วส่งผ่านระบบคอมพิวเตอร์ อีเมล์ หรือสื่อออนไลน์ อย่างแอพไลน์ ถือเป็นหลักฐานการสมัครสมาชิกใช่หรือไม่
กกต. ตอบว่าถือเป็นการสอบถามตามประกาศนายทะเบียนพรรคการเมือง เรื่องการรายงานทะเบียนสมาชิกพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 จึงเป็นอำนาจหน้าที่ของนายทะเบียนพรรคการเมือง ซึ่ง กกต. ได้มอบหมายให้นายทะเบียนพรรคการเมืองตอบข้อสอบถามในประเด็นนี้ต่อไป
คำตอบของ กกต. ทำให้พรรคอนาคตใหม่ต้องประกาศหน้าเว็บไซต์ว่า “ไม่อาจดำเนินการขายในระบบออนไลน์ได้อย่างที่วางแผนไว้แต่แรก เนื่องจากระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ไม่อนุญาต”
คำตอบของ กกต. จะสะท้อนถึงการเมืองไทยอย่างไรก็เป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลจะตีความ ทั้งที่รัฐบาลป่าวประกาศจะนำประเทศสู่ “ยุค 4.0” สารพัดที่จะปฏิรูป แต่กลับไม่ยอมออกจาก “กะลา”
เหมือนบ้านเมืองกว่า 86 ปีที่ยังจมปลักกับ “วงจรอุบาทว์” แม้แต่คนระดับ “ผู้นำ” ยังบอกว่าต่างชาติไม่สนใจว่าจะมีรัฐประหารและการเลือกตั้งหรือไม่ เพราะ “กะลาแลนด์” ไม่เหมือนประเทศใดในโลก!!??
You must be logged in to post a comment Login