- อย่าไปอินPosted 19 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
เผยคนไทยป่วยโรคหายากร้อยละ5ของประชากร
ศ.พญ.ดวงฤดี วัฒนศิริชัยกุล หัวหน้าสาขาเวชพันธุศาสตร์ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานเครือข่ายเวชพันธุศาสตร์ฯ เปิดเผยว่า เป็นครั้งแรกที่มีการสำรวจผู้ป่วยโรคหายาก จำนวน 607 ราย ในประเทศไทยพบข้อมูลที่น่าตกใจและควรเร่งเยียวยาแก้ไข หลายอย่างเช่นร้อยละ 28 ของคนไข้โรคหายากได้รับการตรวจจากแพทย์ทั่วไปและแพทย์สาขาต่างๆมานานกว่า 2 ปีขึ้นไปกว่าจะได้รับการวินิจฉัยที่ถูกต้องว่าเป็นโรคหายาก ในจำนวนนี้เกือบครึ่งใช้เวลาถึง 5 ปีขึ้นไป หมายความว่าผู้ป่วยและครอบครัวต้องตกอยู่ในความไม่ชัดเจนไม่รู้เป็นโรคอะไร อาจได้รับการตรวจเลือดตรวจวิเคราะห์ต่างๆที่ไม่จำเป็นนับ 100 ครั้ง เสียเวลาและค่าใช้จ่าย
ขณะที่ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญด้านเวชพันธุศาสตร์ เพียง 20 คน วันนี้จึงมีการนำเสนอข้อมูลให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เข้ามาบริหารจัดการระบบสาธารณสุขให้มีการตรวจคัดกรองคู่แต่งงานเพื่อ หาวิธีป้องกันไม่ให้มีบุตรที่อาจจะเป็นโรคหายาก และมีการนำผู้ป่วยเข้าสู่การรักษาในระบบสาธารณสุขของไทย อย่างถูกต้องรวดเร็ว
ศ.พญ.ดวงฤดี กล่าวต่อไปว่า โรคหายากในประชากร 2,500 คนจะพบเพียง 1 คน เป็นอัตราใกล้เคียงกันทั่วโลก ปัจจุบันมีโรคหายากรวมกันถึง 7,000-8,000 โรค แต่กลับเป็นโรคที่ถูกมองข้ามจึงทำให้เกิดปัญหาสำคัญส่งผล กระทบต่อผู้ป่วย กลุ่มโรคของโรคหายาก อาทิ กล้ามเนื้ออ่อนแรง กลุ่มภูมิคุ้มกันบกพร่อง โรคเป็นกรดในเลือด โรคกล้ามเนื้อเสื่อมดูเชน โรคโครโมโซมผิดปกติ/โรค พันธุกรรม LSD ชนิด MPS เป็นต้น
สำหรับมูลนิธิเพื่อผู้ป่วยโรคหายาก Thai Rare Foundation ที่จัดงานนี้ปัจจุบันได้รับเงินสนับสนุนจากผู้มีจิตศรัทธา ซึ่งผู้สนใจจะบริจาคในชื่อบัญชี Rare Disease Thailand หรือดูเพิ่มเติมได้ที่ www.ThaiRDF.com
You must be logged in to post a comment Login