- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
ไม่ใช่เวทีน้องใหม่
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 29 พ.ย.2561)
พระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งที่คาดว่าจะประกาศได้กลางเดือนธันวาคม หากวันเลือกตั้งยังเป็นวันที่ 24 กุมภาพันธ์ปีหน้าจะทำให้พรรคการเมืองมีเวลาจำกัดอย่างมาก โดยเฉพาะการหาเสียงกับประชาชน การเลือกตั้งที่กระชั้นชิด เวลาหาเสียงมีน้อย ส่งผลดีต่อพรรคการเมืองน้องใหม่ที่กวาดต้อนอดีต ส.ส. เข้าสังกัดได้จำนวนมาก เพราะมีโอกาสได้ทั้ง ส.ส.เขตและคะแนนปาร์ตี้ลิสต์เป็นกอบเป็นกำ ขณะที่พรรคการเมืองใหม่ นักการเมืองหน้าใหม่ที่ไม่มีฐานเสียงของอดีต ส.ส. อยู่ในมือเลย โอกาสที่จะเดินเข้าสภามีน้อยมาก ด้วยกติกา ด้วยระเวลาที่กระชั้นชิด การเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นจึงไม่ใช่เวทีของพวกมือใหม่หัดขับอย่างแน่นอน
ภาพการเมืองชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ
ปลายสัปดาห์หน้าจะมีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่งานนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมาด้วยตัวเอง คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และพรรคการเมือง
หลักใหญ่ใจความของการประชุมครั้งนี้คือ การปลดล็อกคำสั่ง คสช. ให้พรรคการเมืองดำเนินกิจกรรมได้ แต่ก็มีข่าวว่าอาจไม่ปล่อยให้เป็นอิสระอย่างเต็มที่ แต่จะมีการเฝ้าติดตามดูทุกฝีก้าวระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง
ส่วนจะเป็นจริงดังที่มีข่าวหรือไม่ รายละเอียดกติกาการส่งคนติดตามนักการเมืองหาเสียงจะออกมาอย่างไร คงต้องรอดูหลังการประชุม
หลังพ้นการประชุมร่วมกันระหว่าง คสช. กกต. และพรรคการเมืองแล้ว ถัดไปอีก 1 สัปดาห์คาดว่าจะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการออกมา
หากเป็นไปตามนี้การเลือกตั้งก็จะเกิดขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ปีหน้าอย่างแน่นอน
ความชัดเจนอีกประการหนึ่งที่จะเกิดขึ้นภายหลังมีพระราชกฤษฎีกากำหนดวันเลือกตั้งคือ อนาคตทางการเมืองของ พล.อ.ประยุทธ์ ที่เปิดบ้านรอพรรคการเมืองร่อนเทียบเชิญเอาชื่อไปใส่ในบัญชีที่จะเสนอเป็นนายกรัฐมนตรี
แม้จะยังเหนียมกันอยู่ แต่ดูแล้วคงไม่พ้นพรรคพลังประชารัฐที่มีรัฐมนตรีในรัฐบาลทหาร คสช. คุมป้อมค่ายอยู่
ความน่าจะเป็นอีกอย่างคือ หลังพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) มีผลบังคับใช้ในวันที่ 10 ธันวาคมที่จะถึงนี้ บรรดารัฐมนตรีที่ผันตัวไปสร้างป้อมค่ายพรรคพลังประชารัฐคงร่อนจดหมายลาออกจากตำแหน่งไปเคลื่อนไหวทางการเมืองเต็มตัว
การลาออกนอกจากเพื่อแสดงสปิริตแล้ว ยังทำเพื่อป้องกันข้อครหาว่าใช้อำนาจหน้าที่เอื้อประโยชน์ทางการเมือง ซึ่งเสี่ยงต่อการถูกร้องเรียน ฟ้องร้องให้เกิดปัญหาตามมาได้
ย้อนไปที่การปลดล็อกทางการเมืองให้พรรคการเมืองทำกิจกรรมต่างๆได้โดยไม่ต้องยื่นขออนุญาตจาก คสช. ก่อน
หากการปลดล็อกเกิดขึ้นหลัง พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. บังคับใช้จะทำให้พรรคการเมืองมีเวลาจำกัดอย่างมาก เพราะในช่วงเวลาประมาณ 2 เดือน พรรคการเมืองต้องทำอะไรหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการวางตัวผู้สมัคร ส.ส. ทั้งระบบเขตและระบบบัญชีรายชื่อ การทำนโยบายที่จะใช้หาเสียงกับประชาชน
ส่วนเวลาการหาเสียงหลังจากได้เลขประจำตัวผู้สมัครแล้วน่าจะเหลือไม่มาก
ในการเลือกตั้งที่มีเวลาหาเสียงน้อยจะส่งผลดีต่อนักการเมืองประเภทดาวฤกษ์ที่มีฐานคะแนนแน่นอน พวกนี้จะได้เปรียบพวกนักการเมืองหน้าใหม่ที่ต้องอาศัยเวลาในการสร้างชื่อ สร้างฐานคะแนนเสียง
การเลือกตั้งที่กระชั้นชิด เวลาหาเสียงมีน้อย จึงส่งผลดีต่อพรรคการเมืองน้องใหม่ที่กวาดต้อนอดีต ส.ส. เข้าสังกัดได้จำนวนมาก
แม้ในทางสถิติที่ผ่านมาการเลือกตั้งทุกครั้งจะมี ส.ส. หน้าใหม่ได้รับเลือกเข้าสภาประมาณ 20-30% แต่ผลการเลือกตั้งครั้งนี้น่าจะต่างไปจากเดิม พวกนักการเมืองหน้าใหม่จะเข้าสภาได้น้อยลง โดยเฉพาะพวกที่ลงสมัคร ส.ส.ระบบเขต
ส่วนพวกหน้าใหม่ที่ลงสมัครในระบบบัญชีรายชื่อ หากเป็นพรรคการเมืองใหม่ที่ไม่มีอดีต ส.ส.ดาวฤกษ์อยู่ในพรรคก็มีความเสี่ยงสูงที่จะไม่ได้รับเลือกตั้งเข้าสภาหากรายชื่อไม่อยู่ในอันดับ 1-5 ของบัญชีผู้สมัคร
ด้วยกติกา ด้วยระเวลาที่กระชั้นชิด ชัดเจนว่าการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในปีหน้ายังไม่ใช่เวทีของนักการเมืองหน้าใหม่หรือพรรคการเมืองน้องใหม่ที่ไม่มีฐานเสียงจากอดีต ส.ส. เลย
You must be logged in to post a comment Login