- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
เงื่อนปมต่างชาติ?

คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 24 ธ.ค. 61)
องค์กรต่างชาติที่ต้องการเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งหลังรัฐประหารในไทยอย่างอันเฟรลและอียูยังพยายามติดตามขอคำตอบจาก กกต. ว่าจะเปิดไฟเขียวให้หรือไม่หลังยื่นเรื่องมานานแล้ว แต่คำตอบที่ได้คือรอไปก่อน ซ้ำร้ายผู้มีอำนาจบางคนยังพยายามพูดให้สังคมเข้าใจว่าไม่อยากให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง ทั้งที่การสังเกตการณ์นั้นคนละความหมายกับการแทรกแซง เปรียบเหมือนบ้านเรากำลังมีการแสดงลิเกโรงใหญ่ ต่างชาติก็แค่ขอมาดูว่าการแสดงเป็นอย่างไร สมบทบาทหรือไม่ น่าศรัทธาชื่นชมหรือไม่ ไม่ได้เข้าไปหลังเวทีรื้อข้าวของดูโน่นนี่ หรือออกความเห็นว่าแต่งชุดอย่างนั้นไม่เหมาะ ทาปากสีนี้ไม่สวย จึงไม่ควรยกเรื่องศักดิ์ศรีของประเทศมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพื่อปิดวิกล้อมผ้าแสดงเองดูกันเองแต่ภายใน
ดราม่าการเมืองไทยประเด็นจัดเลี้ยงโต๊ะจีนระดมทุนเข้าพรรค แม้จะมีความสุ่มเสี่ยงขัดต่อข้อกฎหมายหลายประการ แต่เดาได้ว่าสุดท้ายเรื่องนี้จะผ่านไปเหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น
อีกหนึ่งดราม่าคือการขอเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งขององค์กรต่างประเทศที่ดูเหมือนว่าผู้มีอำนาจในประเทศนี้ไม่เต็มใจต้อนรับสักเท่าไร โดยอ้างว่าเป็นเรื่องภายในและศักดิ์ศรีของประเทศ
ขณะนี้มีองค์กรที่ยื่นเรื่องอย่างเป็นทางการขอเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งแล้วคือ เครือข่ายเอเชียเพื่อการเลือกตั้งเสรี (อันเฟรล) กับสหภาพยุโรป (อียู) แต่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยังไม่ยอมให้คำตอบ โดยอ้างว่ายังไม่มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้ง ทำให้ยังไม่รู้กำหนดวันเลือกตั้งที่แน่นอน จึงยังไม่สามารถให้คำตอบได้
ท่าทีของ กกต. ถือว่ามีความน่าสนใจ
ที่ว่าน่าสนใจเพราะองค์กรต่างประเทศยื่นเรื่องมาเพื่อขอสังเกตการณ์เลือกตั้ง ไม่ได้ยื่นเรื่องถามว่าจะมีการเลือกตั้งเมื่อไร
การเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นองค์กรจากนอกประเทศหรือในประเทศ ไม่ใช่ว่าอยู่ๆจะสามารถส่งคนเข้ามาได้เลย ต้องใช้เวลาในการเตรียมงบประมาณและบุคลากร
หากรอให้มีพระราชกฤษฎีกาเลือกตั้งออกมา แล้วการเลือกตั้งมีขึ้นในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ปีหน้าอย่างที่คาดกันไว้จริงจะทำให้เวลากระชั้นชิด ซึ่งอาจส่งผลต่อความพร้อมในการส่งคนเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้ง
ความจริงการให้คำตอบว่าอนุญาตหรือไม่ก่อนที่จะรู้กำหนดวันเลือกตั้งอย่างเป็นทางการสามารถทำได้ และเป็นเรื่องที่สมควรทำ ควรเปิดกว้างให้เข้ามาร่วมสังเกตการณ์ได้อย่างเต็มที่ เพื่อให้การเลือกตั้งเป็นที่ยอมรับทั้งจากในและนอกประเทศ
การสังเกตการณ์ต่างจากการแทรกแซง จึงไม่ควรนำเรื่องศักดิ์ศรีหรืออะไรมาเป็นข้ออ้าง
เปรียบเหมือนบ้านเรากำลังมีการแสดงลิเกโรงใหญ่ ต่างชาติเขาก็แค่อยากมาดูว่าการแสดงเป็นอย่างไร สมบทบาทหรือไม่ น่าศรัทธาชื่นชมหรือไม่ ไม่ได้เข้าไปหลังเวทีรื้อข้าวของดูโน่นนี่ หรือออกความเห็นว่าแต่งชุดอย่างนั้นไม่เหมาะ ทาปากสีนี้ไม่สวย
การดูไม่ใช่การแทรกแซง จึงไม่ควรยกเรื่องศักดิ์ศรีของประเทศมาเป็นข้อกล่าวอ้างเพื่อปิดวิกล้อมผ้าแสดงเองดูกันเองแต่ภายใน ไม่รับแขกภายนอก
นายสมชัย ศรีสุทธิยากร อดีต กกต. และสมาชิกพรรคประชาธิปัตย์ บอกเล่าจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมาว่า กลุ่มที่จะเข้ามาสังเกตการณ์เลือกตั้งแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มแรกคือ กกต.ของประเทศต่างๆ ซึ่งเวลาประเทศอื่นมีการเลือกตั้ง กกต.ไทยก็ได้รับเชิญไปร่วมสังเกตการณ์มาแล้วหลายครั้ง หลังเสร็จภารกิจก็จะทำข้อสังเกตต่างๆส่งให้ กกต.เจ้าภาพ ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้รู้ปัญหา
อีกกลุ่มเป็นนักสังเกตการณ์เลือกตั้งมืออาชีพ เช่น อันเฟรล และอียู กลุ่มนี้จะวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมา ซึ่งอาจจะไม่ถูกใจผู้มีอำนาจของบ้านเมือง
“ไม่ว่าใครจะเข้ามาดู หากไทยสามารถจัดการเลือกตั้งได้ดีสุดท้ายก็จะได้รับคำชื่นชม จึงไม่จำเป็นต้องเกรงกลัวอะไร”
จากคำพูดของนายสมชัย ทำให้นึกถึงวลีอมตะของใครบางคนที่ว่า “ไม่ผิดจะกลัวอะไร”
You must be logged in to post a comment Login