- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
กทพ.จัดพิธีบวงสรวงและเทคอนกรีต โครงการสะพานกลับรถจักรยานยนต์บนถนนเลียบทางรถไฟ
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีพิธีบวงสรวง และเทคอนกรีต โครงการสะพานกลับรถจักรยานยนต์บนถนนเลียบทางรถไฟ (บริเวณใกล้จุดตัดซอยชัยพฤกษ์) โดยมี ดร.สุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) กล่าวรายงานและผู้บริหารหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมให้การต้อนรับ
ดร.สุชาติ ชลศักดิ์พิพัฒน์ กล่าวในรายละเอียดว่า กระทรวงคมนาคม โดย กทพ. และ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินโครงการเพื่อขยายโครงข่ายการขนส่งทางบกและทางรางจากในเมืองไปยัง ทางด้านตะวันตกของกรุงเทพมหานคร เช่น โครงการทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และโครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชันโดยได้มีการก่อสร้างและปรับปรุงถนนเลียบทางรถไฟ (Local Road) ในพื้นที่โครงการตลอดแนวสายทาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับทิศทาง การเดินรถบริเวณดังกล่าว ให้เป็นการเดินรถทางเดียว (One-way) และยกเลิกทางข้ามทางรถไฟระดับดิน ซึ่งภายหลังจากการดำเนินโครงการดังกล่าวแล้วเสร็จ ปัจจุบันพบว่า ยังคงมีทางข้ามทางรถไฟระดับดินที่ยังคงเปิดใช้งานเป็นบางตำแหน่ง และเกิดปัญหาจราจรในบริเวณดังกล่าว อีกทั้งได้รับการร้องเรียน จากประชาชนผู้ใช้ทางและผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ที่มีการยกเลิกทางข้ามทางรถไฟระดับดินว่า สะพานกลับรถในปัจจุบันที่ก่อสร้างไว้มีระยะทางไกล ไม่สะดวกในการเดินทางและการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะมีผู้ใช้รถจักรยานยนต์ ในการสัญจรและประกอบอาชีพจำนวนมากต้องเดินทางเพื่อไปกลับรถในตำแหน่งที่ไกล ทำให้มีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทางผ่านจุดตัดทางร่วม ทางแยกในหลายตำแหน่ง
กระทรวงคมนาคมได้เล็งเห็นปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนผู้ใช้ทาง และผู้อยู่อาศัยในพื้นที่ดังกล่าวจึงได้มอบหมายให้มีการแก้ปัญหาอย่างบูรณาการระหว่างหน่วยงาน โดยการก่อสร้างสะพานกลับรถจำนวน 4 ตำแหน่ง ได้แก่ สะพานกลับรถบริเวณสถานีรถไฟบางบำหรุจำนวน 2 ตำแหน่ง (ตะวันตก และ ตะวันออก) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้างคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในต้นปี 2562 สะพานกลับรถบริเวณจุดตัดถนนราชพฤกษ์ (กม.4+100) ปัจจุบันอยู่ระหว่างการประสานงานระหว่างหน่วยงานเรื่องการใช้พื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง และสะพานกลับรถจักรยานยนต์บริเวณใกล้ชุมชนชัยพฤกษ์ (กม.5+200) ที่จะทำพิธีบวงสรวง และเทคอนกรีตในวันนี้
โดยโครงการสะพานกลับรถจักรยานยนต์บนถนนเลียบทางรถไฟ เป็นสะพานกลับรถที่มีวัตถุประสงค์เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ทางที่ต้องการเดินทางข้ามถนนเลียบทางรถไฟจากฝั่งใต้ (เชื่อมต่อถนนบรมราชชนนี) ไปยังถนนเลียบทางรถไฟฝั่งเหนือ (เชื่อมต่อชุมชนชัยพฤกษ์และชุมชนร่มรื่น) มุ่งหน้าไปยังบางกรวย ซึ่งจากเดิมผู้ใช้ทางสามารถเดินทางข้ามฝั่งด้วยทางข้ามทางรถไฟระดับดิน แต่ภายหลังทางข้ามดังกล่าวถูกยกเลิกไป ทำให้ปัจจุบันต้องไปใช้สะพานกลับรถบริเวณซอย ทุ่งมังกร (กม.2+400) เพื่อเดินทาง ข้ามฝั่งซึ่งมีระยะ (ไป-กลับ) ประมาณ 6-8 กิโลเมตร
สะพานกลับรถจักรยานยนต์ตำแหน่งนี้ เป็นสะพานโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาด 1 ช่องจราจร โดยการดำเนินงานประกอบด้วย ก่อสร้างทางวิ่งของสะพานกลับรถจักรยานยนต์พร้อมราวกันตก และไฟฟ้าส่องสว่าง ก่อสร้างขยายผิวจราจรถนนเลียบทางรถไฟทั้งสองฝั่ง โดยผู้ใช้ทางบนถนนบรมราชชนนีสามารถเดินทางเข้าสู่สะพานกลับรถตำแหน่งนี้ด้วยเส้นทางถนนชัยพฤกษ์และทางเชื่อมใต้ด่านบรมราชชนนี เข้าสู่ถนนเลียบทางรถไฟฝั่งใต้ (ทิศทางมุ่งหน้ากาญจนาภิเษก) เพื่อขึ้นสะพานกลับรถและลงสู่ถนนเลียบทางรถไฟฝั่งเหนือ (ทิศทางมุ่งหน้าบางกรวย) ได้ โดยการดำเนินโครงการใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 12 เดือน โดยคาดว่าจะเปิดใช้งานได้ในปี 2562 และสำหรับผู้ใช้ทางที่ใช้รถยนต์ จะสามารถกลับรถโดยใช้สะพานกลับรถยนต์ที่บริเวณ ใกล้จุดตัดถนนราชพฤกษ์ (กม.4+100) ซึ่งเป็นสะพานกลับรถโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กรูปเกือกม้า ขนาด 1 ช่องจราจร อำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ทางที่เดินทางจากถนนเลียบทางรถไฟฝั่งใต้ (มุ่งหน้า กาญจนาภิเษก) เชื่อมต่อถนนชัยพฤกษ์และทางเชื่อมใต้ด่านบรมราชชนนี และผู้ใช้ทางบนถนนราชพฤกษ์ ที่มีความประสงค์จะเดินทางไปยังถนนเลียบทางรถไฟฝั่งเหนือ (มุ่งหน้าไปยังบางกรวย) โดยเมื่อก่อสร้างสะพานกลับรถยนต์ และสะพานกลับรถจักรยานยนต์ทั้งสองตำแหน่งแล้วเสร็จ จะทำให้ผู้ใช้ทางสามารถร่นระยะทางในการเดินทางข้ามฝั่ง (ไป-กลับ) เหลือเพียง 2 กิโลเมตร สำหรับรถจักรยานยนต์ และ 2-4 กิโลเมตร สำหรับรถยนต์
“สะพานกลับรถทั้ง 2 ตำแหน่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งดำเนินการก่อสร้างโดยบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นผู้ให้ความอนุเคราะห์การใช้พื้นที่ก่อสร้าง โดยมีการทางพิเศษ แห่งประเทศไทย กระทรวงคมนาคม เป็นผู้กำกับดูแลระหว่างการก่อสร้าง” ดร.สุชาติฯ กล่าวในท้ายที่สุด
You must be logged in to post a comment Login