- อย่าไปอินPosted 14 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 1 day ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 4 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
บาทแข็งค่าสุดรอบเกือบ 7 เดือน หุ้นปรับขึ้นในสัปดาห์แรกของปี
ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยรายงานสรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ปรากฏว่าเงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 7 เดือนที่ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นชัตดาวน์ของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด เพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ฯ และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงแข็งค่าเล็กน้อยก่อนปิดตลาดปลายสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน หลังธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรอง RRR ลง 1% เพื่อหนุนเศรษฐกิจจีน โดยในวันศุกร์ (4 ม.ค. 2562) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.07 เทียบกับระดับ 32.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (28 ธ.ค. 2561)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (7-11 ม.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.80-32.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยตลาดรอติดตามประเด็นความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และสถานการณ์ชัตดาวน์ของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ดัชนี ISM ภาคบริการ และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. 2561 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตลอดจนบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 18-19 ธ.ค. 2561 ขณะที่ ข้อมูลสหรัฐฯ ที่ประกาศโดย US Census Bureau ยังคงเลื่อนกำหนดการประกาศออกไป
ส่วนความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาท ปรากฏว่า เงินบาทแตะระดับแข็งค่าสุดในรอบเกือบ 7 เดือนที่ 32.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ สอดคล้องกับแรงขายเงินดอลลาร์ฯ ท่ามกลางความกังวลต่อประเด็นชัตดาวน์ของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ออกมาอ่อนแอกว่าที่คาด เพิ่มแรงกดดันต่อค่าเงินดอลลาร์ฯ และทำให้การคาดการณ์เกี่ยวกับจังหวะการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีความไม่แน่นอนมากขึ้น อย่างไรก็ดี เงินบาทลดช่วงแข็งค่าเล็กน้อยก่อนปิดตลาดปลายสัปดาห์ ตามทิศทางการอ่อนค่าของเงินหยวน หลังธนาคารกลางจีนปรับลดสัดส่วนการกันสำรอง RRR ลง 1% เพื่อหนุนเศรษฐกิจจีน โดยวันศุกร์ (4 ม.ค. 2562) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 32.07 เทียบกับระดับ 32.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (28 ธ.ค. 2561)
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (7-11 ม.ค.) ธนาคารกสิกรไทยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 31.80-32.30 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยตลาดรอติดตามประเด็นความคืบหน้าเกี่ยวกับข้อพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สัญญาณเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินของสหรัฐฯ จากถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด และสถานการณ์ชัตดาวน์ของสหรัฐฯ ขณะที่ ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญในระหว่างสัปดาห์ ประกอบด้วย ดัชนี ISM ภาคบริการ และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. 2561 จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ ตลอดจนบันทึกการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 18-19 ธ.ค. 2561 ขณะที่ ข้อมูลสหรัฐฯ ที่ประกาศโดย US Census Bureau ยังคงเลื่อนกำหนดการประกาศออกไป
สรุปความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย
ดัชนีตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับที่ 1,575.13 จุด เพิ่มขึ้น 0.72% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่ มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันเพิ่มขึ้น 14.38% จากสัปดาห์ก่อน มาที่ 40,954.92 ล้านบาท ส่วนตลาดหลักทรัพย์ mai เพิ่มขึ้น 0.19% จากสัปดาห์ก่อน มาปิดที่ 357.11 จุด
ดัชนีตลาดหุ้นไทย ปรับตัวขึ้นในวันทำการแรกของปี ก่อนจะลดช่วงบวกลงในเวลาต่อมา ท่ามกลางความกังวลว่าอาจจะมีการเลื่อนกำหนดการเลือกตั้งในประเทศ ประกอบกับทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศมีการปรับตัวลงท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก และผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน อย่างไรก็ดี ดัชนีฯ ฟื้นตัวกลับมาได้ช่วงปลายสัปดาห์ ท่ามกลางความคาดหวังในเชิงบวกเกี่ยวกับการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 ม.ค.นี้
ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย
สำหรับสัปดาห์ถัดไป (7-11 ม.ค.) บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,565 และ 1,550 จุด ขณะที่ แนวต้านอยู่ที่ 1,585 และ 1,600 จุด ตามลำดับ โดยปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม คงได้แก่ ประเด็นการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนในวันที่ 7-8 ม.ค. ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟดระดับสูง ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ บันทึกการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. ขณะที่ ปัจจัยต่างประเทศที่สำคัญอื่นๆ ได้แก่ รายงานการประชุมนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป ดัชนีราคาผู้ผลิต และดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนธ.ค. ของจีน
You must be logged in to post a comment Login