วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ดีป้า จับมือ การท่าเรือฯ เดินหน้าผลักดันแหลมฉบังให้เป็นท่าเรืออัจฉริยะ

On January 11, 2019

คลองเตย 11 มกราคม 2562/ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) หรือดีป้า เดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลต่อเนื่อง จับมือการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ ที่ท่าเรือแหลมฉบัง โดยมุ่งหวังให้ท่าเรือแหลมฉบังเป็นโครงการนำร่องในการพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่าเรืออัจฉริยะด้วยดิจิทัลแห่งแรกของประเทศไทย พร้อมขยายผลสู่อีอีซีในอนาคต308033

ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาการส่งเสริมและสนับสนุน ได้มีมติให้ depa  เดินหน้าผลักดันเศรษฐกิจดิจิทัลอย่างต่อเนื่อง โดยโครงการ “Smart Port Portal” ซึ่งเป็นโครงการที่มีลักษณะเป็นโครงสร้างพื้นฐานในการบูรณาการข้อมูลต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการส่งออกนำเข้า บริเวณท่าเรือแหลมฉบัง เนื่องจากเป็นประตูหลักของสินค้าส่งออกนำเข้าของ EEC และของประเทศไทย โดยสามารถบูรณาการข้อมูลการเรือเข้าออก รายการและกำหนดการส่งออกนำเข้าของแต่ละตู้คอนเทนเนอร์ เพื่อกำหนดระยะเวลาการเข้าออกของรถบรรทุกคอนเทนเนอร์ที่ส่งผลกระทบต่อชุมชน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการระบบโลจิสติกส์การส่งออกนำเข้า ลดปัญหาจราจร ปัญหามลภาวะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้เกี่ยวข้องโดยตรงรวมทั้งชุมชนโดยรอบ นอกจากนี้ยังช่วยลดปริมาณรถหัวลากเที่ยวเปล่า ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบเชิงบวกทางเศรษฐกิจอย่างต่ำ 1,000 ล้านบาทต่อปี และเกิดผลกระทบเชิงบวกทางสังคมอย่างต่ำ 700 ล้านบาทต่อปี โดยโครงการนี้ จะเป็นโครงการนำร่องในการใช้ดิจิทัลพัฒนาสู่การเป็นท่าเรืออัจฉริยะ เพื่อการขยายศักยภาพ EEC ต่อไป ในอนาคตอันใกล้308034308039

“ปัจจุบันบริเวณท่าเรือแหลมฉบังประสบปัญหาการจราจรติดขัด โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่เข้าเทียบท่า ทำให้บริเวณถนนทางเข้าหน้าด่านตรวจสอบสินค้าและถนนภายในการท่าเรือฯ มีรถบรรทุกเข้าไปทำการบรรจุสินค้าตู้คอนเทนเนอร์เพื่อขนถ่ายสินค้ามายังท่าเรือฯ เป็นจำนวนมากก่อนที่เรือแม่จะออกจากท่า ส่งผลให้มีจำนวนรถบรรทุกตู้สินค้าบนท้องถนนในปริมาณที่มากเกินกว่าระบบถนนและระบบประตูตรวจสอบสินค้าจะรองรับได้ ซึ่งนับเป็นปัญหาใหญ่ประการหนึ่งที่มีผลกระทบต่อเนื่องกับระบบเศรษฐกิจของท่าเรือแหลมฉบังและผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมด้านมลพิษทางอากาศและปัญหาต่อชุมชนรายรอบท่าเรือ ทางดีป้าจึงร่วมมือกับกทท. แก้ปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อสนับสนุนภาคเอกชน ผ่านกองทุนดีป้า ร่วมพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล เพื่อพัฒนาระบบท่าเรืออัจฉริยะหรือเรียกว่า “Smart Port” ด้วยการเชื่อมโยงข้อมูลการขนส่งหลากหลายรูปแบบ (Multimodal Transportation) ของการส่งออกและนำเข้าบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง เช่น ระบบรถบรรทุกอัจฉริยะ และกระบวนการจัดการรถขนส่งตู้สินค้า การเชื่อมโยงระบบปฏิบัติการเทอร์มินัลของท่าเรือต่างๆ ในบริเวณท่าเรือแหลมฉบัง การเชื่อมต่อระบบตารางเรือกับระบบ National Single Window (NSW) ของกรมศุลกากร ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการ ลดต้นทุนโลจิสติกส์ การส่งออกนำเข้า ลดต้นทุนการเสียโอกาสจากการขนส่ง ลดปัญหาจราจร  และที่สำคัญคือลดปัญหามลภาวะ ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพิ่มคุณภาพชีวิตของชุมชนโดยรอบ จากระบบการจัดการ Logotic ที่ถูกพัฒนาให้ดีขึ้น” ดร.ณัฐพล กล่าว

308038

ด้านร้อยตำรวจตรี มนตรี ฤกษ์จำเนียร ผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง รักษาการแทน ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า  ท่าเรือแหลมฉบังเป็นจุดขนถ่ายสินค้าสำคัญของประเทศ มีปริมาณตู้ขนถ่ายสินค้าที่เข้า-ออกภายในท่าเรือเพิ่มขึ้นทุกปี โดยจากสถิติปี 2556 – 2560 มีปริมาณตู้ขนถ่ายสินค้าเฉลี่ยกว่า 6 – 7 ล้านTEU/ปีและมีรถบรรทุกเข้าออกภายในท่าเรือเฉลี่ยกว่า 4 – 5 ล้านคันต่อปี เมื่อมีการเข้า-ออกของรถบรรทุกปริมาณที่มากเกินความสามารถในการรองรับของระบบประตูตรวจสอบสินค้าและด้วยการบริหารจัดการคิวที่ยังไม่เป็นระบบ ทำให้ท่าเรือแหลมฉบังมักประสบปัญหาการจราจรติดขัดทั้งภายในและภายนอกท่าเรือ โดยเฉพาะในช่วงที่เรือใหญ่เทียบท่าและบริเวณทางเข้าท่าเทียบเรือและบริเวณศูนย์เอกซเรย์ของศุลกากร ทางกทท.เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จับมือกับดีป้าเพื่อพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่เรื้อรังมาหลายปีเหล่านี้ให้หมดไปC360_2019-01-11-16-15-17-393

“ความร่วมมือในครั้งนี้ เรามุ่งหวังให้ท่าเรือแหลมฉบังมีการพัฒนาระบบการบริหารจัดการท่าเรืออัจฉริยะหรือ Smart Port แห่งแรกของประเทศ ด้วยการพัฒนาและยกระดับระบบการจัดเก็บข้อมูลการส่งออกและนำเข้าสินค้าทั้งทางเรือ รถไฟและรถบรรทุก ในรูปแบบที่หลากหลาย ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มคุณภาพการให้บริการ และบริหารจัดการระบบคิวเข้าออกของรถบรรทุกอย่างชาญฉลาดอย่างยั่งยืน ช่วยเพิ่มความคล่องตัวของการจราจรภายในท่าเรือและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งทั้งกทท.และ depa หวังให้การร่วมมือกันครั้งนี้ช่วยยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการท่าเรือแหลมฉบัง เพื่อผลักดันประเทศสู่การเป็นไทยแลนด์ 4.0 ต่อไป” ร.ต.ต.มนตรี กล่าว

 


You must be logged in to post a comment Login