- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
โฉนดทองคำ
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 15 ม.ค. 62)
ประเด็น “ส.ป.ก.4-01” ที่ดินเพื่อการเกษตรประมาณ 35 ล้านไร่ ตามกฎหมายปฏิรูปที่ดินปี 2518 จนวันนี้ก็ยังมีปัญหาอย่างต่อเนื่อง เพราะมีการโอนและซื้อขายในรูปแบบต่างๆทั้งที่ไม่อนุญาตให้ทำการซื้อขายที่ดิน แต่ที่เป็นข่าวขณะนี้คือการเปิดประเด็นของ “พรรคพลังประชารัฐ” ที่สนับสนุน “ลุงฉุน” ซึ่งเสนอให้เปลี่ยนเป็น “โฉนดทองคำ” ให้สามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้
“อนุสรณ์ ธรรมใจ” นักวิชาการเศรษฐศาสตร์ ออกมาคัดค้าน “โฉนดทองคำ” ว่าจะยิ่งเพิ่มปัญหาความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงทรัพยากรที่ดินรุนแรงยิ่งขึ้น ผิดหลักการของการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร และสร้างปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองในระยะยาว ทั้งมิติความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ มิติทางด้านเสถียรภาพและความสมดุล ซึ่งที่ดินเป็นทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด จะปล่อยให้ทุนนิยมเสรีหรือกลไกตลาดจัดสรรทรัพยากรอย่างเสรีโดยไม่บริหารจัดการหรือกำกับดูแลเพื่อประโยชน์ของสาธารณชนโดยรวมไม่ได้
หากเปลี่ยนที่ ส.ป.ก. ให้เป็นโฉนดซื้อขายได้ก็จะทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มสูง และราคาอาจสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในบางพื้นที่ 10-15 เท่า โดยเฉพาะพื้นที่ EEC ซึ่งประชาชนและประเทศโดยรวมจะไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย
โดยเฉพาะ “การตะครุบที่ดิน” (land grabbing) ของ “กลุ่มทุนขนาดใหญ่” จะเพิ่มขึ้น และต่างชาติโดยเฉพาะในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษที่ขณะนี้ก็ไม่มีความชัดเจนในการถือครองที่ดิน ทั้งยังสวนทางกับการปฏิรูปที่ดินที่ ส.ป.ก. เป็นดอกผลการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยทางเศรษฐกิจหลังเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ที่แลกมาด้วยการต่อสู้ของประชาชน นิสิตนักศึกษา และผู้นำชาวนา
“อนุสรณ์” จึงเสนอให้ตั้ง “ธนาคารที่ดิน” ปฏิรูประบบข้อมูลที่ดินทั้งหมดรวมทั้งที่ดินเพื่อการเกษตร เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังจะสูญเสียที่ดินทำกิน หรืออยู่ระหว่างการถูกฟ้องร้องจะยึดทรัพย์ หรือจัดสรรเงินทุนซื้อที่ดินมาแจกจ่ายให้กับเกษตรกรรายย่อยที่ไม่มีที่ดินทำกิน รวมถึงมีมาตรการคุ้มครองที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กำหนดเขตการใช้ที่ดินและแผนการใช้ที่ดินเพื่อให้เกิดความสมดุล กำหนดเพดานการถือครองที่ดินที่เหมาะสมโดยไม่กระทบต่อการทำเกษตรกรรมเชิงพาณิชย์ในพื้นที่ขนาดใหญ่หรือเกษตรพันธะสัญญา
ไม่ใช่ปล่อยให้ปัญหา “รวยกระจุก จนกระจาย” กลายเป็นเรื่องปรกติและไม่มีความละอาย!!??
You must be logged in to post a comment Login