- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 2 months ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 2 months ago
- โลกธรรมPosted 2 months ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 2 months ago
- สลายความเกลียดชังPosted 2 months ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
“หมอธี”ชี้ควรแยกประเด็นถือหุ้นสัมปทานกับนาฬิกา”ป้อม”

จากกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มีมติว่าการถือครองหุ้นสัมปทานรัฐของทั้ง 4 รัฐมนตรี ประกอบด้วย ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ปฏิบัติราชการกระทรวงยุติธรรม อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นรัฐมนตรีที่ขาดคุณสมบัติตามรัฐธรรมนูญ เพราะถือครองหุ้นสัมปทานของรัฐ เข้าข่ายกระทำการขัดกันแห่งผลประโยชน์ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 186 ประกอบมาตรา 184 วรรคหนึ่ง (2) มาตรา 170 วรรคหนึ่ง (5) เห็นควรส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 170 และมีมติส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงหรือไม่ ซึ่ง นพ.ธีระเกียรติยืนยันว่าจะไม่ลาออกจากตำแหน่ง แต่จะรอผลการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เนื่องจาก นพ.ธีระเกียรติเคยให้สัมภาษณ์บีบีซีไทยที่ประเทศอังกฤษเกี่ยวกับกรณีนาฬิกาหรูของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกฯ ว่าถ้าเป็นตนเองถูกเปิดโปง “นาฬิกา” ตั้งแต่เรือนแรกก็จะลาออกแล้วนั้น
เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ธีระเกียรติกล่าวว่า กรณีของตนเป็นเรื่องคุณสมบัติการรับตำแหน่ง ไม่ใช่เรื่องที่อยู่ในการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อยากให้คนที่วิจารณ์ไปดูคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อปี 2553 ได้เคยวินิจฉัยไว้ว่าการถือหุ้นก่อนเข้ามาดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่อยู่ในข่ายต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
“กรณีนี้ไม่ใช่การแสดงสปิริตหรือไม่แสดงสปิริต แต่เป็นเรื่องการตรวจสอบคุณสมบัติของผม ซึ่งผมต้องการให้ตรวจสอบจนถึงที่สุด การที่ผมให้ตรวจสอบดีกว่าที่ผมวิ่งไปลาออก และการลาออกในรัฐธรรมนูญใหม่ต้องตัดสินว่าถูกหรือผิดอยู่ดี ดังนั้น ถามว่าลาออกเพื่อใคร ไม่มีใครได้ประโยชน์ ขอความกรุณาอย่าสับสน ก่อนจะพูดอะไรให้ดูให้ดีกว่า เรื่องหุ้นถูกร้องเรียนหลังกรณีนาฬิกาของ พล.อ.ประวิตรไม่นาน ซึ่งผมก็พูดชัดเจนแต่แรกว่าปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมจนถึงที่สุด ถ้าผมจะลาออก ลาออกตอนนั้นคงดีกว่า ดังนั้น อยากให้ทุกคนเข้าใจ” นพ.ธีระเกียรติกล่าว
You must be logged in to post a comment Login