- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
อาการทางจิต?
คอลัมน์ : ฉุก(ละหุก)คิด
ผู้เขียน : นายหัวดี
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 16 ม.ค. 62)
“ลุงฉุน” จิกไม่ปล่อย “บัตรทอง” หรือ “นโยบาย 30 บาทรักษาทุกโรค” ล่าสุดพูดกับประชาชนที่ลำปางตอนหนึ่งว่า เรื่องค่ารักษาพยาบาลเริ่มมาตั้งแต่ 30 บาท แต่วันนี้ไม่เสียสักบาท แล้วเรื่อง 30 บาทก็นำมาพูดกันอยู่นั่น ตั้งแต่ตนเข้ามา 4 ปีได้แก้ปัญหา 30 บาท โดยหาเงินกองกลางไปจ่ายค่าหมอพยาบาลที่ค้างไว้เป็นปีๆ
บางโรงพยาบาลแทบล้มหมดเพราะงบสะสมหมด ถือเป็นการทำงานที่ไม่ครบระบบ ทุกคนอาจรักและชอบ ทุกคนอาจไม่รู้เบื้องหลังว่าเป็นอย่างไร ขอยกตัวอย่างเดียวเท่านั้น ขี้เกียจไปทะเลาะกับคนที่พูดเอาดีเอาเด่นอยู่นั่น สิ่งที่ตนพูดเพื่อให้ทุกคนเข้าใจว่านี่คือภาระที่รัฐบาลนี้เข้ามาแก้ปัญหา
แม้ “ลุงฉุน” จะอวดอ้างว่าเป็นผู้มาแก้ปัญหา แต่ก็พยายามย้ำปัญหา “บัตรทอง” ซึ่งก่อนหน้านี้ “ลุงฉุน” พูดในรายการวันศุกร์ (28 กันยายน 2561) ว่าโครงการ 30 บาทยังรักษาทุกโรคไม่สมบูรณ์หลายประการ เช่น รักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลรัฐ ทำให้ผู้อยู่ห่างไกลยากลำบาก ไม่คุ้มครองการรักษาที่เกินความจำเป็นพื้นฐาน ไม่คุ้มครองการรักษาที่มีงบประมาณจัดสรรโดยเฉพาะ เช่น อาการป่วยทางจิต และไม่คุ้มครองโรคเรื้อรังและโรคที่ต้องรักษาในโรงพยาบาลเกินกว่า 180 วัน ฯลฯ
ทำให้เพจ Gossip สาสุข โพสต์ว่า ข้อมูลมั่วทั้งหมด อ้างอิงจากเว็บไซต์ “ขายยา” และให้คำแนะนำด้านสุขภาพออนไลน์ ซึ่งจะขึ้นมาเป็นเว็บแรกหากเสิร์ชใน GOOGLE ว่า “ข้อเสียของบัตรทอง” ทั้งที่ “บัตรทอง” ไม่ได้รักษาได้เฉพาะโรงพยาบาลรัฐ สามารถเข้ารับการรักษาได้ในหน่วยบริการที่ใกล้ที่สุด โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เหมาจ่ายทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
ปัญหาของ “บัตรทอง” ที่อึมครึม เพราะมีคนกลุ่มหนึ่งพยายามแก้กฎหมาย “บัตรทอง” หรือล้ม “บัตรทอง” โดยเอาไปยึดโยงกับการเมือง จึงทำให้มีการพยายามบิดเบือนเรื่อง “บัตรทอง” มาโดยตลอด โดยเอาปัญหางบประมาณมาตอกย้ำ
ทั้งที่ปีงบประมาณ 2561 ได้งบประมาณค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของรัฐ และครอบครัว 63,000 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับสิทธิประมาณ 5 ล้านคน เฉลี่ยต่อคน 12,676.06 บาท
ส่วนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ใช้ใน “บัตรทอง” ปีงบประมาณ 2561 ได้งบประมาณ 126,533.13 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 4.36 ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี ครอบคลุมประชาชนกว่า 48 ล้านคน หรือเฉลี่ยต่อหัว 2,592.89 บาท
ขณะที่ “บัตรทอง” ได้รับการยกย่องจาก “องค์การอนามัยโลก” ให้เป็นแบบอย่างของประเทศทั่วโลกว่าระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทำให้เป็นจริงได้ ไม่ใช่ “ความฝัน”!
You must be logged in to post a comment Login