- อย่าไปอินPosted 2 days ago
- ปีดับคนดังPosted 3 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 4 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 5 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 6 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
อย่าส่งสัญญาณผิด
คอลัมน์ : โลกวันนี้มีประเด็น
(โลกวันนี้รายวัน ประจำวันที่ 16 ม.ค. 62)
การเมืองไทยแม้จะเป็นช่วงใกล้เลือกตั้ง แต่ดูเหมือนมีแนวโน้มเป็นไปได้ว่าบรรยากาศเก่าๆอาจหวนกลับมา เป็นบรรยากาศของการเผชิญหน้า บรรยากาศของความขัดแย้ง ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนของกำหนดวันเลือกตั้ง ท่าทีของฝ่ายรักษาความมั่นคงที่แสดงออกมาในตอนนี้ แม้จะอยู่ในหลักการแต่แฝงไปด้วยทรรศนะที่มองเห็นกลุ่มเคลื่อนไหวเป็นฝ่ายตรงข้าม และสนับสนุนหากอีกกลุ่มจะเคลื่อนไหว เพื่อประกาศให้รู้ว่าประเทศนี้ไม่ได้มีแต่คนอยากเลือกตั้ง หรือการเมืองแบบม็อบชนม็อบกำลังจะกลับมา?
ปฏิกิริยาจากภาครัฐต่อการเคลื่อนไหวของกลุ่มคนอยากเลือกตั้งกำลังจะกลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะส่งผลต่อการเคลื่อนไหวในอนาคตอันใกล้
ไม่ว่าจะเป็น
“มีเคลื่อนไหวอยู่แค่ 100-200 คน แล้วจะทำอย่างไรได้ เพราะต่างคนต่างความคิด คนที่ต้องการให้เลือกตั้งหลังพระราชพิธีก็มี เขาก็ออกมาเหมือนกัน มีทั้ง 2 ฝั่ง”
ไม่ว่าจะเป็น
“ปิดปากอะไร อย่างไรก็ต้องเลือกตั้งแน่ภายใน 150 วัน เพราะ พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. มีผลบังคับใช้แล้ว แล้วจะมาเอาอะไรอีกล่ะ”
เป็นความเห็นของ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง แม้จะออกไปในทำนองไม่ปิดกั้น แต่ก็เป็นความเห็นในทำนองไม่รับฟัง ไม่ยี่หระกับการเคลื่อนไหวนี้ เพราะเห็นว่าฝ่ายที่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่ต้องการเลื่อนการเลือกตั้งออกไปก็มี
ทำนองว่าฝั่งนั้นมีกี่คน ฝั่งนี้ก็มีคนพร้อมออกมาสนับสนุนอยู่เหมือนกัน
หากย้อนไปดูความคิดเห็นของ พล.อ.อภิรัชต์ คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ในฐานะเลขาธิการคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)
ไม่ว่าจะเป็น
“ผมมีประสบการณ์อยู่กับกลุ่มผู้ชุมนุมมาหลายปี เพราะฉะนั้นพอที่จะอ่านเกมออก เขาอยากจะพูดอะไรถือเป็นสิทธิ คงไม่ไปโต้ตอบ และจะทำหน้าที่ในการรักษาความมั่นคงอย่างตรงไปตรงมา พร้อมปฏิบัติตามคำสั่งผู้บังคับบัญชา หากทุกคนไม่ล้ำเส้น อยู่ในกรอบในระบอบประชาธิปไตยก็ไม่ว่ากัน”
ไม่ว่าจะเป็น
“ถือเป็นสิทธิเสรีภาพของเขาที่จะทำ แต่เสรีภาพการใช้ประชาธิปไตยควรจะอยู่ในกรอบ ผมเป็นห่วงผู้ประกอบการที่อยู่ในพื้นที่รอบข้าง ภาพของการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาจะเข้าใจอย่างไร เพราะเหตุการณ์ที่เกิดความรุนแรงเคยเกิดแถวสถานที่บริเวณนั้นอยู่แล้ว สัญลักษณ์ของคนที่ไปดำเนินกิจกรรมทางการเมืองก็มีสัญลักษณ์คล้ายคลึงกันกับสิ่งที่เกิดที่ผ่านมาในอดีต”
ไม่ว่าจะเป็น
“เมื่อท่านมาขีดเส้นไว้ว่าคนนั้นต้องทำอย่างนั้น ท่านก็ต้องขีดเส้นตัวเองด้วย ไม่ใช่มาขีดเส้นให้คนโน้นคนนี้เดินอย่างเดียว เอาเส้นขาวหรือเส้นอะไรมาวางให้เขาเดิน ท่านก็ต้องขีดเส้นที่ตัวท่าน อย่ามาล้ำเส้นกัน ฝ่ายการเมืองก็เดินไป ฝ่ายความมั่นคงก็ทำงานไป ก็จะเป็นระบบสอดคล้องกัน ผมพูดไปรับรองไม่เกินอีกครึ่งชั่วโมงก็จะมีฟีดแบ็กกลับมา แต่ผมก็พูดในฐานะที่มีบทบาทเข้ามาดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย จากประสบการณ์ตั้งแต่ปี 47 ผมคิดว่าประชาชนคงไม่อยากให้มีอะไรเกิดขึ้นอีก”
แม้ดูเหมือนเป็นการพูดในหลักการ ยอมรับการเคลื่อนไหวที่อยู่ในกรอบของกฎหมายได้ แต่ก็สะท้อนให้เห็นแนวความคิดที่เชื่อว่าคนที่ออกมาเคลื่อนไหวในตอนนี้มีความเชื่อมโยงกับกลุ่มการเมือง พรรคการเมืองที่เคยเคลื่อนไหวในพื้นที่ราชประสงค์ในอดีต ที่สำคัญคือเชื่อว่ามีประชาชนที่สนับสนุนรัฐบาลอยู่
เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงแนวคิดแบ่งเขา แบ่งเรา เป็นฝ่ายตรงข้ามกันอย่างชัดเจน
แน่นอนว่าการดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยเป็นหน้าที่ของฝ่ายความมั่นคง การบังคับใช้กฎหมายเป็นหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ
แต่การส่งสัญญาณแบบมองเห็นกลุ่มเคลื่อนไหวเป็นฝ่ายตรงข้าม
การส่งสัญญาณว่ามีมวลชนอีกกลุ่มที่เห็นด้วยสนับสนุนทุกคำพูด ทุกการกระทำของฝ่ายรัฐ อาจสร้างปัญหาขึ้นมาได้เหมือนที่เคยสร้างปัญหามาแล้วในอดีต
ม็อบชนม็อบ หรือบรรยากาศเก่าๆกำลังจะกลับมา?
You must be logged in to post a comment Login