วันพุธที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2568

Brexitไม่ผ่านจับตาความไม่แน่นอน

On January 17, 2019

ศูนย์วิจัยธนาคารกสิกรไทยรายงานว่า รัฐสภาสหราชอาณาจักรได้ลงมติไม่เห็นชอบต่อร่างข้อตกลงออกจากสหภาพยุโรป (Brexit) ซึ่งนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ เสนอต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2562 ที่ผ่านมา โดยมีผู้ออกเสียงคัดค้านถึง 432 เสียง ขณะที่มีผู้เห็นชอบเพียง 202 เสียง ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลในประวัติศาสตร์อังกฤษ น่าจะมองได้ว่ารัฐสภาอังกฤษไม่ต้องการออกจากสหภาพยุโรปโดยปราศจากข้อตกลง (No deal) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ทั้งทางเลือกในการเจรจารอบใหม่ หรือการออกเสียงประชามติครั้งที่สอง ต่างมีความจำเป็นที่จะต้องขอขยายเวลาเพื่อเลื่อนกำหนดเริ่มต้นออกจากสหภาพยุโรป (Brexit Kickoff) จากเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 ออกไป

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการออกจากสหภาพยุโรปดังกล่าวอาจจะสร้างความผันผวนต่อภาคการเงินในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมีมุมมองเชิงบวกว่าการตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรปโดยปราศจากข้อตกลง (No deal) นั้น มีความเป็นไปได้น้อย จึงช่วยลดทอนปัจจัยเชิงลบที่อาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรลงได้ ส่วนผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจมหภาคนั้น คาดว่าการชะลอการตัดสินใจใช้จ่ายและการผลิตรวมของสหราชอาณาจักร รวมถึงการอ่อนค่าของเงินปอนด์ จะกระทบต่อการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยไปยังสหราชอาณาจักรในปี 2562 อาจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.8-2.1 หากการหาทางออกจากสหภาพยุโรปเริ่มมีทิศทางชัดเจนในช่วงครึ่งปีแรก ผลกระทบที่มีต่อไทยจึงมีเพียงผลกระทบระยะสั้นต่อตลาดการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก

รัฐสภาสหราชอาณาจักรลงมติไม่ผ่านความเห็นชอบร่างข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป (Brexit Agreement) ที่เสนอโดยนางเทเรซ่า เมย์ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 15 มกราคม 2562 โดยมีผู้ออกเสียงคัดค้านถึง 432 เสียง ขณะที่มีผู้เห็นชอบเพียง 202 เสียง โดยมีคะแนนทิ้งห่างมากถึง 230 เสียง ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ และรัฐบาลจะต้องนำเสนอแผนปฏิบัติการต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบอีกครั้งภายใน 3 วันทำการ (วันที่ 21 มกราคม) ซึ่งคาดว่านายกรัฐมนตรีเทเรซ่า เมย์ จะเสนอให้ขยายเวลาเพื่อเลื่อนกำหนดเริ่มต้นออกจากสหภาพยุโรป (Brexit Kickoff) จากเงื่อนเวลาเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 29 มีนาคม 2562 ออกไป ทั้งนี้ การพิจารณาร่างกฏหมายเพื่อลงสัตยาบันดังกล่าวถือเป็นการลงมติในเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งและจำเป็นต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา เนื่องจากเป็นสนธิสัญญา โดยจะต้องได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกสภาสามัญชนอย่างน้อย 320 เสียง ซึ่งเป็นจำนวนที่มากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมด 639 เสียง ทั้งนี้ นายเจเรมี่ โคบิน หัวหน้าพรรคแรงงาน ในฐานะผู้นำฝ่ายค้าน จะยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีทันทีในวันที่ 16 มกราคม คะแนนเสียงพ่ายแพ้ที่สูงมากดังกล่าวบ่งชี้ว่าร่างข้อตกลงฉบับดังกล่าวยังคงไม่ได้รับการยอมรับ โดยเฉพาะประเด็นข้อโต้แย้งเรื่องการผ่อนปรนการข้ามแดน (Backstop) เหนือพรมแดนแคว้นไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งสมาชิกรัฐสภาส่วนหนึ่งมีความเห็นว่าวิธีการดังกล่าวทำให้สหราชอาณาจักรต้องเป็นฝ่ายปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป ทั้งยังทำให้สหราชอาณาจักรไม่สามารถแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปได้โดยฝ่ายเดียว

รัฐสภาไม่ยอมรับข้อตกลง Brexit : ความไม่แน่นอนที่รออยู่เบื้องหน้า

แม้ว่ารัฐบาลจะต้องนำเสนอแผนปฏิบัติการต่อรัฐสภาเพื่อพิจารณาเห็นชอบอีกครั้งภายใน 3 วันทำการ (วันที่ 21 มกราคม) แต่คาดว่ารัฐสภาจะยังคงไม่ผ่านความเห็นชอบต่อแผนปฏิบัติการดังกล่าว ซึ่งอาจจะนำไปสู่สถานการณ์ต่างๆที่เป็นไปได้ 5 รูปแบบ ได้แก่ (i) การลงมติของรัฐสภาเพื่อออกจากสหภาพยุโรปแบบไม่มีเงื่อนไข (No deal) ในวันที่ 29 มีนาคม โดยสหราชอาณาจักรจะอยู่ในสถานะประเทศสมาชิกองค์การการค้าโลกที่ไม่มีความสัมพันธ์ภายใต้ข้อตกลงทางการค้ากับสหภาพยุโรป อันจะนำไปสู่ความชะงักงัน จึงเชื่อว่าทางเลือกนี้อาจเกิดขึ้นได้ยาก (ii) รัฐบาลเสนอให้มีการเจรจาใหม่กับสหภาพยุโรป (Renegotiation) โดยจะต้องเสนอขยายเวลาการเจรจาเพื่อออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตามมาตรา 50 ของสนธิสัญญาลิสบอน ซึ่งรัฐบาลจำเป็นต้องยื่นความจำนงต่อรัฐสภาสหภาพยุโรป โดยจะต้องได้รับฉันทามติจากสมาชิกทุกประเทศ และรัฐบาลจะต้องจัดทำตารางเวลาและกำหนดวันออกจากสหภาพยุโรปขึ้นมาใหม่ (iii) การเสนอให้มีการเลือกตั้งทั่วไปก่อนครบวาระ (General Election) รัฐบาลต้องได้รับเสียงสนับสนุนไม่น้อยกว่า 2 ใน 3 (หรือไม่ต่ำกว่า 426 เสียง) ของจำนวนสมาชิกสภาสามัญชนทั้งหมด 639 เสียง (iv) การลงมติไม่ไว้วางใจ (Vote of No confidence) เมื่อร่างข้อตกลงออกจากสหภาพยุโรปไม่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภา นายเจเรมี่ โคบิน ผู้นำฝ่ายค้าน จะเสนอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจต่อรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะต้องลาออกหากแพ้มติ และ (v) การลงประชามติครั้งที่ 2 (Second Referendum) รัฐบาลอาจเสนอให้มีการลงประชามติเพื่อคืนอำนาจให้ประชาชนร่วมหาทางออก อันอาจจะส่งผลกระทบต่อกระบวนการออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (Brexit) ต้องเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่

เมื่อพิจารณาถึงทางเลือกต่างๆตามลำดับเหตุการณ์และความเป็นไปได้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า นายกรัฐมนตรีเทเรซ่า เมย์ จะได้รับคะแนนไว้วางใจเพียงพอ โดยนางเทเรซ่า เมย์ จะยังคงได้รับเสียงสนับสนุนส่วนใหญ่จากสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมและพรรคร่วมรัฐบาลต่อไป เนื่องจากสมาชิกพรรคอนุรักษ์นิยมส่วนใหญ่ยังไม่ต้องการให้มีการเลือกตั้ง นอกจากนี้การจัดการเลือกตั้งทั่วไปยังอาจมิใช่หนทางที่ออกจากวังวนทางการเมือง อย่างไรก็ตาม หากผลการลงมติไม่ไว้วางใจปรากฏว่า นางเทเรซ่า เมย์ ชนะด้วยคะแนนก้ำกึ่ง ก็อาจจะสั่นคลอนสถานะความเป็นผู้นำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า การหาทางออกโดยการเจรจารอบใหม่ หรือการออกเสียงประชามติครั้งที่ 2 ต่างมีความจำเป็นที่จะต้องขอขยายเวลาเพื่อเลื่อนกำหนดเริ่มต้นออกจากสหภาพยุโรป (Brexit Kickoff) จากเงื่อนเวลาเดิมที่กำหนดไว้ในวันที่ 29 มีนาคมออกไป ทั้งนี้ การยืดเวลาดังกล่าวยังคงมีความจำเป็นต้องได้รับฉันทามติจากชาติสมาชิกรัฐสภาสหภาพยุโรป พร้อมทั้งยังต้องตกลงว่าจะขยายเวลาออกไปนานเพียงใด ขณะเดียวกันรัฐสภาสหภาพยุโรปกำลังอยู่ในช่วงที่จะมีการเลือกตั้งสมาชิกชุดใหม่ในช่วงเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งสะท้อนนัยแห่งความไม่แน่นอนและความล่าช้าออกไปที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยที่การเจรจารอบใหม่นั้นนายกรัฐมนตรีเทเรซ่า เมย์ จะต้องหารือกับสมาชิกรัฐสภา และเจรจากับสหภาพยุโรป เพื่อเสนอแก้ไขร่างข้อตกลงที่มีรูปแบบอ่อนลง (Softer Brexit) ที่รู้จักกันในแบบนอร์เวย์พลัส (Norway Plus) ซึ่งสหราชอาณาจักรจะเป็นสมาชิกเขตเศรษฐกิจยุโรป (European Economic Area : EEA) อันเป็นตลาดร่วม (Single Market) คู่ขนานไปกับการเป็นสมาชิกสหภาพศุลกากร (Custom Union) หากดำเนินการตามแนวทางนี้ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีการผ่อนปรนในพรมแดนแคว้นไอร์แลนด์เหนือ (Backstop) และยังเป็นข้อเสนอที่สอดคล้องกับสหภาพยุโรป

ทั้งนี้ การเจรจารอบใหม่จะอยู่ภายใต้การขยายเวลาข้างต้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีความเป็นไปได้ยากที่จะหาข้อสรุปที่เหมาะสมสำหรับทั้งสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป แต่หากยังคงมีสภาพทางตันที่ไม่สามารถหาทางออกได้ การออกเสียงประชามติครั้งที่ 2 อาจเป็นทางออกเพื่อหาข้อยุติจากสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะผลจากการลงมติในรัฐสภาบ่งชี้ว่ายากที่จะหาแนวทางประนีประนอมระหว่างกลุ่มสนับสนุนการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปต่อไป (Pro-remain) กับกลุ่มที่สนับสนุนการแยกตัว (Pro-Brexit) จึงจำเป็นต้องให้ประชาชนตัดสินใจอีกครั้ง นอกจากนี้ยังอาจเป็นแนวทางยับยั้งกระบวนการออกจากสหภาพยุโรปเพื่อให้สหราชอาณาจักรยังคงเป็นสมาชิกอยู่ต่อไป ถึงแม้ว่าจะยังคงไม่ชัดเจนถึงผลการออกเสียงประชามติว่าจะออกมาในแนวทางใด แม้กระนั้นก็ตาม จะยังคงมีความล่าช้าในกระบวนการทางกฏหมาย ทั้งจากการกำหนดร่างประเด็นคำถามและการเสนอกฎหมายต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการลงประชามติ โดยอาจใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 7 เดือน

แม้ว่าการลงมติไม่ผ่านความเห็นชอบร่างข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป (Brexit Agreement) ของรัฐสภาสหราชอาณาจักรอาจเป็นจุดเริ่มต้นของความไม่แน่นอนในการหาทางออกของรูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างสหราชอาณาจักรกับสหภาพยุโรป แต่น่าจะมองได้ว่ารัฐสภาสหราชอาณาจักรไม่ต้องการออกจากสหภาพยุโรปโดยไม่มีเงื่อนไข (No deal) ส่วนต่างของคะแนนไม่รับร่างข้อตกลงที่สูงเป็นประวัติการณ์มิใช่การปฏิเสธข้อตกลง แต่เป็นความพยายามหาข้อตกลงซึ่งเป็นที่ยอมรับ โดยตลาดการเงินมองว่าเป็น Upside risk และตอบสนองในเชิงบวกอย่างทันที โดยค่าเงินปอนด์แข็งค่าขึ้นทันทีจากที่อ่อนค่าไปแตะระดับ 1.27 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์สเตอร์ลิงในช่วงเช้าวันที่ 16 มกราคมก่อนการลงมติ แต่ภายหลังทราบผลการลงมติค่าเงินปอนด์กลับแข็งค่าขึ้นเป็น 1.28 ดอลลาร์สหรัฐต่อปอนด์สเตอร์ลิง

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่า ความไม่แน่นอนที่เกิดขึ้นจากกระบวนการออกจากสหภาพยุโรปดังกล่าวอาจจะสร้างความผันผวนต่อภาคการเงินในระยะสั้น อย่างไรก็ตาม ตลาดเริ่มมีมุมมองเชิงบวกว่าการตัดสินใจออกจากสหภาพยุโรปโดยปราศจากข้อตกลง (No deal) นั้นมีความเป็นไปได้น้อย จึงช่วยลดทอนปัจจัยเชิงลบที่อาจกระทบต่อระบบเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรลงไปได้ อย่างไรก็ตาม ความคลุมเครือในกระบวนการและรูปแบบความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจยังอาจจะมีผลต่อการชะลอการตัดสินใจผลิตและลงทุน รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุนและปรับลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ในรูปสกุลเงินปอนด์ อันจะส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ผันผวนและอ่อนค่าลงได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ที่สั่นคลอนความเชื่อมั่น รวมถึงความล่าช้าของกระบวนการข้างต้น อาจจะส่งผลต่อการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหราชอาณาจักรเล็กน้อย ขณะเดียวกันผลกระทบที่ส่งผ่านไปยังสหภาพยุโรปอาจมีจำกัด เนื่องจากสหภาพยุโรปมีความเชื่อมโยงกับกลุ่มประเทศยูโรโซนมากกว่าสหราชอาณาจักร นอกจากนี้ภาคธุรกิจยังได้ปรับตัวโดยการลดการพึ่งพาทางเศรษฐกิจและแรงงานจากสหราชอาณาจักรไปก่อนแล้ว

สำหรับผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจไทยนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจระหว่างไทยกับสหราชอาณาจักรยังมีบทบาทไม่มากนักหากเทียบกับประเทศเศรษฐกิจหลักอื่น โดยเฉพาะสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังสหราชอาณาจักรในปี 2560 คิดเป็นเพียงร้อยละ 1.7 (หากคิดเฉพาะช่วง 11 เดือนแรกของปี 2561 จะมีเพียงร้อยละ 1.6) ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ความไม่แน่นอนจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรชะลอตัว จากการระมัดระวังการใช้จ่ายและการปรับปริมาณการผลิตรวม รวมถึงการเคลื่อนย้ายเงินทุน และลดสัดส่วนการถือครองสินทรัพย์ในรูปสกุลเงินปอนด์ ส่งผลให้ค่าเงินปอนด์ผันผวนและอ่อนค่า อันจะกระทบต่อการส่งออกไปยังสหราชอาณาจักร โดยคาดว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกของไทยไปยังสหราชอาณาจักรในปี 2562 อาจจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 1.8-2.1 หากการหาทางออกจากสหภาพยุโรปเริ่มมีทิศทางชัดเจนในช่วงครึ่งปีแรก ดังนั้น ผลกระทบที่มีต่อไทยจึงมีเพียงผลกระทบระยะสั้นต่อตลาดการเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเป็นหลัก


You must be logged in to post a comment Login

Казино левлучший портал для азартных игроков
Игровые автоматызахватывающая игра начинается сейчас
azino777испытай удачу прямо здесь
1win казинооткрой для себя мир азартных игр
Вулкан платинумавтоматы с высокой отдачей ждут тебя
Казино левгде выигрыши становятся реальностью
Игровые автоматыразвлекайся и выигрывай каждый день
азино три топоранаслаждайся адреналином от побед
Казино 1winкаждая игра — шаг к успеху
Вулкан россиятвой шанс на большой выигрыш
Казино левоснова азартного мастерства
Игровые автоматытоповые игры для каждого
Azino777только для настоящих ценителей риска
1win казинокайф от игры начинается здесь
Вулкан 24где каждый день приносит победы
Казино левновые высоты азартных эмоций
Игровые автоматыгде выигрыши реальны
азино три топорасамые горячие игры ждут
Казино 1winвыигрывайте с комфортом
Казино вулкан россияисследуй мир азартных автоматов
Казино левтвой источник азарта и выигрышей
Игровые автоматыискусство выигрыша ждет тебя
azino777почувствуй азарт и драйв
1win казиноидеальный выбор для азартных игр
Вулкан платинумиграй и побеждай с удовольствием
Казино левнаслаждайся азартом без границ
Игровые автоматылучшие призы ждут тебя
азино три топоратвоя игра начинается здесь
Казино 1winновые уровни азарта и удачи
Вулкан россияначни путь к победе прямо сейчас
Coco chat - Rejoignez nouvelles discussions enrichissantes sur Bed and Bamboo
Chatrandom - Discover exciting chats with new people on Bed and Bamboo
Chatrandom - Entdecke spannenUnterhaltungauf Bed and Bamboo
Chatrandom - Ontdek boeienchats op Bed and Bamboo
Coco chat - Partagez des moments uniques sur Hoodrich France
Chatrandom - Connect and chat on Hoodrich France
Chatrandom - Chatte mit der Hoodrich France Community
Chatrandom - Geniet van chats in Hoodrich France gemeenschap
Coco chat - Connectez-vous pour des échanges passionnants sur I’m Famous 51
Chatrandom - Meet and chat on I’m Famous 51
Chatrandom - Führe spannenGespräche auf I’m Famous 51
Chatrandom - Beleef gesprekkop I’m Famous 51
Coco chat - Discutez avec la communauté Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Explore vibrant conversations at Quincaillerie Outillage Thollot
Chatrandom - Tritt spannendChats bei Quincaillerie Outillage Thollot bei
Chatrandom - Ga mee in boeiengesprekkbij Quincaillerie Outillage Thollot
Coco chat - Rejoignez TurboSystem pour discuter
Chatrandom - Engage in exciting chats at TurboSystem
Chatrandom - Genieße spannenChats bei TurboSystem
Chatrandom - Beleef chatplezier bij TurboSystem