- อย่าไปอินPosted 22 hours ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
แพทย์แผนไทยชง”นวดไทย”เป็น”มรดกโลก”
นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก แถลงข่าว “โครงการมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย” ว่า ปีนี้กรมมีงานที่ต้องเดินหน้าเพื่อพัฒนาสมุนไพร การรักษาจากภูมิปัญญาแพทย์แผนไทยให้เป็นที่ยอมรับมากยิ่งขึ้น ซึ่งช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคมนี้จะมีการจัดงานมหกรรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์พื้นบ้านไทย ปีที่ 11 ระดับภาค ปี 2562 จัดขึ้น 4 ภาค แบ่งเป็น 1.ภาคกลางและภาคตะวันออก ที่ลานน้ำพุ ศูนย์การค้าเมกะบางนา ระหว่างวันที่ 7-11 กุมภาพันธ์ 2.ภาคเหนือ ที่แจ่มฟ้าพลาซ่า จ.ลำพูน วันที่ 14-18 กุมภาพันธ์ 3.ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่โรงแรมทองธารินทร์ จ.สุรินทร์ วันที่ 20-22 กุมภาพันธ์ และ 4.ภาคใต้ ที่สวนกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ จ.นราธิวาส วันที่ 10-14 มีนาคม
นพ.มรุตกล่าวว่า แต่ละภูมิภาคจะมีกิจกรรมต่างๆ อาทิ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จะมีการนำเสนอการนวดลังกาสุกะสำหรับผู้สูงวัย แก้ปวดเมื่อย ปวดเข่า ปวดหลัง ถือเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ต้องอนุรักษ์ไว้ อย่างไรก็ตาม เรื่องการนวดไทยนั้น ขณะนี้กรมอยู่ระหว่างผลักดันให้นวดไทยขึ้นเป็นมรดกโลกทางภูมิปัญญาที่จับต้องไม่ได้ของยูเนสโก ซึ่งที่จริงเสนอไปพร้อมกับโขนไทย แต่โขนไทยได้รับการพิจารณาขึ้นทะเบียนก่อน ส่วนนวดไทยยังต้องดำเนินการอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะการรวบรวมข้อมูลต่างๆเกี่ยวกับนวดไทย เพื่อส่งให้กระทรวงวัฒนธรรมในการเสนอต่อยูเนสโก ซึ่งคาดว่าจะมีการพิจารณาในขั้นสุดท้ายช่วงเดือนพฤศจิกายน 2562
นพ.มรุตกล่าวต่อว่า สำหรับข้อมูลที่จะรวบรวมเพื่อใช้ยื่นขึ้นทะเบียนมรดกโลกทางภูมิปัญญาจะมีทั้งด้านวิชาการ ด้านกฎหมาย การคุ้มครองภูมิปัญญา ประวัติของการนวดไทย ซึ่งมีหลักฐานชัดเจนคือ สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ที่มีจิตรกรรมจารึกการนวดของไทยไว้ภายในศาลารายของวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์) ซึ่งบ่งบอกถึงภูมิปัญญา รวมทั้งข้อมูลเอกลักษณ์ของการนวดไทยคือ เรื่องของเส้นประธานสิบ ที่ทำให้นวดไทยต่างจากนวดของคนอื่น มีทั้งวิธีการนวดตอกเส้น การขิดเส้น หรือใช้นิ้วนวด นอกจากนี้ยังมีข้อมูลมาตรฐานการนวดในแต่ละระดับ เช่น ระดับนวดผ่อนคลาย ระดับนวดรักษา ระดับการสอนนวด ซึ่งจะมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไป
“ยกตัวอย่างผู้นวด หากเป็นนวดผ่อนคลายก็อาจเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทย แต่การนวดรักษาต้องเป็นแพทย์แผนไทย ใครนวดได้หรือไม่ได้ โรคใดที่มีข้อห้ามหรือต้องรับการวินิจฉัยจากแพทย์แผนปัจจุบันก่อน เช่น บางคนกินยาละลายลิ่มเลือด หากไปนวดแล้วมีช้ำเลือดจากข้างในจะเป็นอย่างไร โรคหัวใจ เส้นเลือดอุดตันที่เท้า จะนวดได้ไม่ได้ โดยร่วมกับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ วัดโพธิ์ มหาวิทยาลัย โรงพยาบาลศิริราช ในการจัดทำมาตรฐาน ส่วนท่านวดต่างๆคงไม่ได้เสนอขึ้นไป เพราะมีการอ้างอิงในตำราอยู่แล้ว”
นพ.มรุตกล่าวอีกว่า หากนวดไทยได้รับการขึ้นทะเบียนจะทำให้เป็นที่รู้จักในนานาอารยประเทศเพิ่มมากขึ้น หวังว่าจะยกระบบการนวดของไทยเข้าสู่ระดับสากล มีการเปิดสอน การใช้ และการให้บริการในทั่วโลก ซึ่งนวดไทยจะเป็นประโยชน์กับคนทั้งโลก หากใครจะไปเปิดบริการที่ไหนต้องได้รับการรับรองจากไทยก่อน
เมื่อถามถึงมาตรการแก้ไขภาพจำแง่ลบเกี่ยวกับการนวดไทย นพ.มรุตกล่าวว่า เรามีการคิดเรื่องนี้เช่นกันจึงจะเสนอเป็นคำทับศัพท์ว่านวดไทย (Nuad Thai) จะไม่ใช้คำว่า Thai massage เพราะเมื่อพูดถึง Thai massage แล้วยังมีคนมองไปถึงการนวดที่มีกามารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้อง คงต้องมีการดูแลในส่วนนี้ให้ดี อย่างไรก็ตาม ได้พยายามดูแลเรื่องการเปิดร้านนวดว่าต้องเป็นการนวดเพื่อรักษาหรือนวดเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่นวดเพื่อกามารมณ์
You must be logged in to post a comment Login