- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 4 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 4 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 4 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 4 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
คอร์รัปชันปี 2561 ไทยร่วงมาที่ 99
เว็บไซต์ thaipublica รายงานว่า องค์กรความโปร่งใสนานาชาติ (Transparency International: TI) ได้เผยแพร่รายงานผลการจัดอันดับความโปร่งใส สถานการณ์คอร์รัปชันจากทั่วทุกมุมโลกในปี 2018 ที่ ผ่านมา พร้อมค่าคะแนนดัชนีการรับรู้การทุจริต ปี 2018 หรือ Corruption Perception Index 2018 ซึ่งเป็นการจัดอันดับที่ได้ทำเป็นประจำทุกปีต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 1995
ผลการจัดอันดับความโปร่งใสสถานการณ์คอร์รัปชันในปี 2018 สะท้อนให้เห็นว่าความพยายามการต่อต้านคอร์รัปชันในประเทศส่วนใหญ่ล้มเหลว จึงส่งผลต่อวิกฤติประชาธิปไตยทั่วโลก
การจัดอันดับความโปร่งใสสถานการณ์คอร์รัปชันในปี 2018 ได้จากการสำรวจถึง 13 ครั้ง และสอบถามผู้เชี่ยวชาญในการประเมินการคอร์รัปชันในภาครัฐใน 180 ประเทศและเขตการปกครองทั่วโลก โดยให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 100
ผลการการจัดอันดับความโปร่งใสสถานการณ์คอร์รัปชันพบว่า 2 ใน 3 ของประเทศทั้งหมดมีคะแนนต่ำกว่า 50 คะแนน โดยมีคะแนนเฉลี่ย 43 เท่านั้น นัยตั้งแต่ปี 2012 มีเพียง 20 ประเทศที่มีคะแนนดีขึ้นมากซึ่งรวมถึง เอสโตเนียและ ไอวอรีโคสต์ ขณะที่มี 16 ประเทศที่มีคะแนนลดลงอย่างมาก เช่น ออสเตรเลีย ชิลี และมอลตา
เดนมาร์ก และนิวซีแลนด์ ทำคะแนนสูงสุดที่ 88 และ 87 ตามลำดับ ขณะที่โซมาเลีย เซาท์ซูดาน และซีเรีย ทำคะแนนได้ต่ำมากในระดับที่ 10, 13, 13 คะแนนตามลำดับ ส่วนภูมิภาคที่มีคะแนนสูงสุดคือ ยุโรปตะวันตกและสหภาพยุโรป โดยมีคะแนนเฉลี่ย 66 คะแนน ภูมิภาคที่มีคะแนนต่ำสุดคือ ประเทศแอฟริกาใต้ในเขตตอนใต้ทะเลทรายซาฮารา ซึ่งมีคะแนนเฉลี่ย 32 คะแนน ขณะที่ยุโรปตะวันออกและเอเชียกลางมีคะแนนเฉลี่ย 35 คะแนนเท่ากัน
นอกจากนี้ 7 ประเทศที่มีคะแนนสูงสุดอันดับแรกยังคงไม่เปลี่ยนแปลงเป็นเวลา 3 ปีติดต่อกัน ประกอบด้วย ประเทศจากกลุ่มนอร์ดิก 4 ประเทศ คือเดนมาร์ก ฟินแลนด์ สวีเดน และนอร์เวย์ ที่เหลือคือ นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และสวิตเซอร์แลนด์ มีคะแนนระหว่าง 84-88 คะแนน แม้ไม่มีประเทศไหนที่ได้คะแนนเต็ม แต่ก็มีตัวชี้วัดความเป็นประชาธิปไตยหลายตัวที่มีผลต่อคะแนน เช่น มีสถาบันที่เข้มแข็ง ยึดหลักนิติธรรม และมีการพัฒนาเศรษฐกิจที่ดี
Corruption Perception Index 2018 เป็นตัวชี้วัดการคอร์รัปชันในภาครัฐ ประเทศที่มีการให้สินบนน้อย มีการจัดสรรงบประมาณที่หลากหลาย ความขัดแย้งของผลประโยชน์ต่ำ ก็จะได้คะแนนสูง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าประเทศเหล่านี้ไม่มีการคอร์รัปชัน
คอร์รัปชันกับวิกฤติประชาธิปไตย
การวิเคราะห์การจัดอันดับความโปร่งใสพบว่าคอร์รัปชันมีผลต่อวิกฤติประชาธิปไตย ประเทศที่มีประชาธิปไตยเต็มใบมีคะแนนเฉลี่ย 75 ประเทศที่ประชาธิปไตยครึ่งใบมีคะแนนเฉลี่ย 49 คะแนน ส่วนประเทศที่มีการปกครองระบบอบผสมผสานมีคะแนนเฉลี่ย 35 คะแนน ส่วนประเทศเผด็จการมีคะแนนเฉลี่ย 30 คะแนน
ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่าคอร์รัปชันมีผลต่อวิกฤติประชาธิปไตยคือประเทศฮังการีและตุรกีที่คะแนนลดลง 8 และ 9 คะแนนตามลำดับในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน ตุรกีถูกลดชั้นการจัดอันดับจาก มีอิสระส่วนหนึ่ง (partly free) เป็น ไม่มีอิสระ (no free) ส่วนฮังการีนับเป็นการได้คะแนนต่ำสุดนับตั้งแต่การล่มสลายของระบอบคอมมิวนิสต์ในปี 1989 ซึ่งการจัดอันดับที่ลดลง แสดงให้เห็นว่า หลักนิติธรรมและสถาบันประชาธิปไตยอ่อนแอลง รวมทั้งพื้นที่ของภาคประชาสังคมและของสื่ออิสระก็ลดลงอย่างรวดเร็วในประเทศเหล่านี้
โดยทั่วไปประเทศที่มีคอร์รัปชันสูงเป็นสถานที่ที่อันตรายต่อฝ่ายการเมืองที่อยู่ตรงข้าม และมักมีการสั่งเก็บทางการเมืองจากรัฐบาลโดยตรงหรือเปิดไฟเขียวให้ทำ
ประเทศที่ต้องจับตาหลังจากผลการจัดอันดับความโปร่งใส ได้แก่ สหรัฐอเมริกา บราซิล ฮังการี โดยสหรัฐฯ มีคะแนน 71 คะแนน ลดลง 4 คะแนนนับตั้งแต่ปีก่อน และหลุดออกจาก 20 ประเทศที่มีคะแนนสูงสุดเป็นครั้งแรกนับจากปี 2011 ซึ่งเป็นผลจากระบบการตรวจสอบกำลังสั่นคลอน รวมทั้งมาตรฐานทางจริยธรรมของผู้มีอำนาจสูงสุดตกต่ำ
บราซิลมีคะแนน 35 ซึ่งลดลงตั้งแต่ปีก่อน และเป็นระดับต่ำสุดในรอบ 7 ปี ประธานาธิบดีคนใหม่ที่เพิ่งรับตำแหน่งให้คำมั่นว่าจะบริหารด้วยหลักการ ควบคู่กับการขจัดคอร์รัปชัน ที่มีผลต่อการเข้าสู่ประชาธิปไตยในหลายด้านของประเทศ
เดเลีย เฟอร์เรรา รูบิโอ ประธานองค์กรความโปร่งใสสากลให้ความเห็นว่า งานวิจัยแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการมีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและการประสบความสำเร็จในการขจัดคอร์รัปชันภาครัฐมีความสัมพันธ์กัน คอร์รัปชันเบ่งบานเมื่อรากฐานประชาธิปไตยอ่อนแอ ซึ่งเราได้เห็นจากหลายประเทศ ที่การมีประชาธิปไตยและนักการเมืองที่ได้รับความนิยมมักใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว
แพตทริเซีย โมเรรา กรรมการผู้จัดการองค์กรความโปร่งใสสากล ให้ความเห็นว่า สถาบันประชาธิปไตยทั่วโลกถูกคุกคาม ซึ่งมักมาจากผู้นำที่มีอำนาจหรือได้รับความนิยม เราจึงต้องเพิ่มความพยายามให้มากขึ้นในการสร้างความเข้มแข็งของระบบคานอำนาจและตรวจสอบ รวมทั้งคุ้มครองสิทธิของประชาชน
นอกจากนี้ คอร์รัปชันทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอลงและ สร้างวงจรอุบาทว์ซึ่งคอร์รัปชันจะทำลายสถาบันประชาธิปไตย ทำให้สถาบันที่อ่อนแอไม่สามารถควบคุมการคอร์รัปชันได้
ไทยได้ 36 คะแนนติดอันดับ 99 ร่วงจากปีก่อน
ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นิวซีแลนด์มีคะแนนสูงสุดที่ 87 คะแนน เป็นประเทศอันดับหนึ่งของภูมิภาคและอันดับสองของโลกที่เดินหน้าแก้ไขคอร์รัปชัน รองลงมาคือ สิงคโปร์ ที่มีคะแนน 85 คะแนน และออสเตรลียที่มีคะแนน 77 คะแนน
ประเทศที่มีคะแนนต่ำ คือ เกาหลีเหนือ 14 คะแนน เพราะมีการคอร์รัปชันกันทั่วประเทศ ตามมาด้วยอัฟกานิสถาน 16 คะแนน และกัมพูชา 20 คะแนน กลายเป็นประเทศที่มีการแก้ไขคอร์รัปชันน้อยที่สุดในภูมิภาค
เอเชียแปซิฟิกมีคะแนนเฉลี่ย 44 ติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี เพราะมีความคืบหน้าน้อยในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน และเมื่อเปรียบเทียบกับภูมิภาคอื่นแล้วเอเชียแปซิฟิกอยู่ในระดับเดียวกับกลุ่มอเมริกาที่มีคะแนนเฉลี่ย 44 คะแนนเท่ากัน ที่ไม่มีความคืบหน้า และตามหลังยุโรปตะวันตกกับสหภาพยุโรปที่มีคะแนนเฉลี่ย 66 คะแนน
สาเหตุที่เอเชียแปซิฟิกมีความคืบหน้าน้อยในการแก้ไขปัญหาคอร์รัปชัน คือ สถาบันประชาธิปไตยและการคุ้มครองทางการเมืองโดยรวมอ่อนแอ เมื่อดูนิวซีแลนด์และออสเตรเลียที่มีคะแนนนำพบว่ามีระบบการเมืองที่ทำงานอย่างเข้มแข็ง ช่วยให้มีคะแนนสูง อย่างไรก็ตาม มีบางประเทศในภูมิภาค เช่น สิงคโปร์ ฮ่องกง ที่มีการควบคุมการคอร์รัปชันที่มีประสิทธิภาพ แม้โดยรวมแล้วไม่เป็นประชาธิปไตย
ในกรณีสิงคโปร์และฮ่องกงซึ่งประชาธิปไตยอ่อนแอและเป็นเผด็จการ แต่กลับมีคะแนนสูง โดยที่ไม่มีระบบตรวจสอบถ่วงดุลเหมือนกันอย่างในประเทศประชาธิปไตยเต็มใบ และยังเป็นประเทศเล็ก เนื่องจากมีสถาบันที่ต่อต้านคอร์รัปชันที่เข้มแข็ง ซึ่งช่วยควบคุมการคอร์รัปชันในบางด้าน แต่ก็ไม่ได้เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่ต่อต้านการคอร์รัปชันแบบยั่งยืนเหมือนในประเทศประชาธิปไตยเต็มใบ
อย่างไรก็ตาม รากฐานประชาธิปไตยที่กำลังผุพัง มีผลต่อการต่อต้านคอร์รัปชันทั่วภูมิภาค รวมทั้งกัมพูชาและไทย
ประเทศไทยได้คะแนน 36 คะแนนลดลงจาก 37 อยู่ในอันดับ 99 จาก 180 ประเทศซึ่งลดลงจากปี 2017 ที่ได้คะแนน 37 คะแนนและติดอันดับที่ 96 จาก 180 ประเทศ
ปี 2018 ไทยได้คะแนนและอันดับเดียวกับฟิลิปปินส์ซึ่งอันดับก้าวกระโดดขึ้นจากอันดับที่ 111 และคะแนนเพิ่มขึ้นจาก 34 คะแนนในปีก่อน เพราะมีความคืบหน้าในการขจัดคอร์รัปชัน
แม้คะแนนของภูมิภาคโดยรวมจะไม่ขยับ ไม่เพิ่มหรือลดลงมาก แต่มี 3 ประเทศที่มีความก้าวหน้าอย่างมาก ได้แก่ เกาหลีใต้ ที่คะแนนเพิ่มขึ้น 3 คะแนนจากปีก่อนเป็น 57 คะแนน ส่วนอีกสองประเทศคือวานูอาตูกับโซโลมอนที่มีคะแนน 46 และ 44 ตามลำดับ เพราะหลักการประชาธิปไตยและสถาบันมีประสิทธิภาพในการต่อต้านคอร์รัปชัน รวมทั้งพลเมืองโดยเฉพาะเยาวชนมีส่วนร่วมในการผลักดันการปฏิรูปและเรียกร้องความยุติธรรม
สำหรับประเทศที่ต้องจับตา เพราะมีการพัฒนาทางการเมืองที่ดีขึ้น ได้แก่ มาเลเซียที่ได้คะแนน 47 คะแนน มัลดีฟส์ 31 คะแนน ปากีสถาน 33 คะแนน และอินเดีย 41 คะแนน เป็นผลจากการรวมพลังของประชาชนในการต่อต้านคอร์รัปชันและการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการลงคะแนนให้กับรัฐบาลใหม่ซึ่งจะมีผลให้มีการปฏิรูปการแก้ไขคอร์รัปชันอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังไม่เห็นผลที่ชัดเจน
5 ข้อเสนอแนะ
องค์กรความโปร่งสากลเสนอแนะว่า เพื่อให้มีความคืบหน้าในการแก้ไขคอร์รัปชันและเสริมสร้างประชาธิปไตยให้เข้มแข็งทั่วโลก รัฐบาลควรดำเนินการต่อไปนี้ คือ หนึ่ง เสริมความเข้มแข็งของสถาบันในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจทางการเมือง และปฏิบัติงานอย่างไม่มีข้อจำกัด สอง ปิดช่องว่างระหว่างกฎหมายการต่อต้านคอร์รัปชันในการปฏิบัติงานและการบังคับใช้ สาม สนับสนุนองค์กรภาคประชาสังคม ด้วยการย้ำความสัมพันธ์ทางการเมืองและสาธารณะในการตรวจสอบการใช้จ่ายของรัฐ โดยเฉพาะระดับท้องถิ่น และสี่ สนับสนุนอิสรภาพของสื่อ และดูแลความปลอดภัยของสื่อ โดยไม่มีการข่มขู่คุกคาม
You must be logged in to post a comment Login