- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 8 hours ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
นักวิชาการชี้มาตรการงดขายเหล้า13เม.ย.ไม่ละเมิดสิทธิ์แต่มุ่งจำกัด-ลดทอนความสูญเสีย
วันนี้(25 ก.พ.) ที่โรงแรมเอเชีย ในเวทีเสวนา “ถอดรหัสสงกรานต์ งดขายสุรา 13เมษา ลดอุบัติเหตุ” จัดโดยศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน(ศวปถ.) สำนักงานเครือข่ายองค์กรงดเหล้า เครือข่ายเฝ้าระวังธุรกิจสุรา เครือข่ายรณรงค์ป้องกันภัยสุรา และเครือข่ายพัฒนาคุณภาพชีวิต
ดร.นพ.มูฮัมหมัดฟาห์มี ตาเละ นักวิชาการศูนย์วิจัยปัญหาสุรา กล่าวว่า การนำเสนอให้ห้ามขายเหล้าในวันที่ 13 เมษายน ไม่ใช่ข้อเสนอที่ไร้เหตุผล ประการแรกเลย การห้ามขายในวันที่มีการดื่มแอลกอฮอล์เพิ่มขึ้นและมีการเดินทางมากกว่าช่วงปกติเป็นหนึ่งในมาตรการจำกัดเวลาในการเข้าถึงแอลกอฮอล์ วิธีการนี้เป็นวิธีการที่สากลใช้ลดความสูญเสียจากแอลกอฮอล์ เหตุผลประการต่อมาคือ จากสถิติอุบัติเหตุช่วงเทศกาลสงกรานต์7วันอันตราย ย้อนหลัง 5 ปีที่ผ่านมา พบว่า ช่วงรอยต่อของวันที่ 13 และ 14 เมษายน เป็นช่วงวันที่มีสถิติของผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ยของการเสียชีวิตในสองวันนี้อยู่ที่ 153 คน นอกจากนั้นเคยมีการวิจัยที่ศึกษาเปรียบเทียบ3ช่วง คือ เทศกาลปีใหม่ สงกรานต์ และ ช่วงปกติในปี 2559 โดยอุบัติเหตุในช่วงเทศกาลมีความสัมพันธ์กับแอลกอฮอล์มากกว่าช่วงปกติ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในช่วงเทศกาลดื่มแอลกอฮอล์ 66.5% และเกือบทั้งหมดของผู้บาดเจ็บที่ดื่มแอลกอฮอล์ ดื่มแอลกอฮอล์ที่ซื้อเอง มากกว่าครึ่งนั้นหาซื้อจากร้านค้า ดังนั้นถ้าจะทดลองใช้มาตรการนี้เพื่อพิสูจน์ว่าได้ผลหรือไม่ จึงควรเริ่มในวันที่อันตรายที่สุด ถ้าได้ผลดีและไม่มีความเสียหายมาก ก็ควรขยายวันเพิ่ม
นักวิชาการ กล่าวด้วยว่า ข้อสาม การห้ามจำหน่ายในวันที่13เมษายน ไม่ได้หมายความว่าห้ามดื่มฉลองในวันนั้น มาตรการนี้จึงไม่ได้เป็นการลิดรอนสิทธิ์ของผู้ดื่มแต่อย่างใด ใครจะดื่มกินก็เชิญตามสบาย การห้ามจำหน่ายนี้จะหวังผลในแง่ที่ว่าหากใครก็ตามที่ดื่มกินก็ต้องวางแผนเตรียมตัว ซื้อตุนไว้ก่อน รู้ประมาณการของตัวเอง จุดหมายสำคัญของมาตรการนี้ไม่ได้หวังว่าจะลดการดื่ม แต่หวังว่าจะลดการเดินทางของนักดื่มซึ่งมีการศึกษามาแล้วว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดอุบัติเหตุกับคนกลุ่มนี้
“ช่วงปีหลังๆมานี้ ธุรกิจน้ำเมา จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายเป็นพิเศษ เช่น จัดอีเว้นท์ Music marketing มีวงดนตรีดัง จูงใจให้เยาวชน เข้าไปชมพร้อมขายน้ำเมา ทำให้เยาวชนที่ออกจากเขตเล่นน้ำปลอดภัย(Safe Zone) ถูกดักขายน้ำเมา ก่อนกลับบ้าน ซึ่งเยาวชนส่วนใหญ่ขี่มอเตอร์ไซด์ ยิ่งปีหลังๆจัดอีเว้นท์มิดไนท์สงกรานต์กันมากขึ้น แปลว่า เมากันยาว ก่อนกลับบ้าน แนวโน้มการตาย ช่วง 7วันอันตรายจึงมากขึ้น ข้อควรพิจารณาอีกประการหนึ่งคือการห้ามกิจกรรมส่งเสริมการขาย หรือพวกอีเว้นท์เมาโดยเด็ดขาด ในช่วงเทศกาลสงกรานต์” นักวิชาการ กล่าว
นพ.ธนะพงษ์ จินวงษ์ ผู้จัดการศูนย์วิชาการเพื่อความปลอดภัยทางถนน กล่าวว่า จากข้อมูลศูนย์อำนวยความปลอดภัยทางถนน ช่วง 7 วัน สงกรานต์ 2561พบว่าวันที่13 เม.ย.เพียงวันเดียวมีผู้เสียชีวิตถึง 90 คน ตายมากกว่าช่วงปกติเกือบ 2 เท่า และตายมากกว่าค่าเฉลี่ย7วัน ซึ่งตายวันละ 59.71 คน รวมในวันที่ 13 เม.ย. จำนวน 1,958 ราย จากยอดรวม7,893 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ24.8 และในจำนวนนี้ เป็นเด็กและเยาวชนถึง 1,494 ราย ทั้งนี้ จะพบว่าส่วนใหญ่ของผู้บาดเจ็บหรือเสียชีวิตจากการดื่มและเมาแล้วขับ จะดื่มแอลกอฮอล์นอกบ้าน โดยเฉพาะในช่วงเย็น-กลางคืน
“ในมาตการ ห้ามขายเหล้า วันที่ 13 เม.ย. ต้องควบคู่กับการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดโดยจุดเน้นใน1.มาตรการนี้ ตัดวงจร กลุ่มที่ดื่มนอกบ้าน โดยเฉพาะช่วงเย็น-กลางคืน 2.มาตรการหลักอื่นๆเช่น ตรวจจับซึ่งภายใต้ทรัพยากรจำกัด การลดคนเมาขับที่สำคัญคือการบังคับใช้กฎหมาย จะง่ายกว่า เพราะดำเนินคดีกับ “เจ้าของงาน” คนเดียว แต่ถ้าตั้งด่านตรวจเมา กับคนเป็นพันๆ ต้องใช้กำลังตำรวจไม่ต่ำกว่า4-50 นาย หรือมากกว่านั้น”นพ.ธนะพงษ์ กล่าว
ขณะที่ นายวิษณุ ศรีทะวงศ์ ผู้จัดการแผนพัฒนานโยบายสาธารณะ สำนักงานเครือข่ายองค์รกรงดเหล้า กล่าวว่า 10 ปีที่ผ่านมาด้วยการสร้างค่านิยมใหม่และพื้นที่รูปธรรมพื้นที่เล่นน้ำปลอดเหล้า(Zoning)เป็นแนวรบที่สำคัญ ซึ่งพิสูจน์แล้วว่าหากสังคมร่วมกันจะลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นได้ การงดจำหน่ายในวันที่13 เม.ย.ไม่ใช่การละเมิดสิทธิ์แต่จะส่งผลตรงกับการควบคุม กิจกรรมส่งเสริมการขายของธุรกิจแอลกอฮอล์โดยเฉพาะเวทีคอนเสิร์ตพ่วงลานเบียร์ในพื้นที่เล่นน้ำต่างๆ แต่ประชาชนก็ยังมีความสุขได้ ธุรกิจก็ยังสามารถจัดงานคอนเสิร์ตได้เพียงแต่ไม่มีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เข้ามาเกี่ยวข้อง เป็นความรับผิดชอบทางธุรกิจอีกทางหนึ่งด้วยและประชาชนก็สามารถจะเปรียบเทียบสถานการณ์ทางสังคมได้ และสิ่งสำคัญนอกเหนือนจากสถิติตัวเลขอุบัติเหตุคือค่านิยมเริ่มเปลี่ยนแปลงว่าการดื่มเป็นเรื่องไม่ปกติ และสังคมจะร่วมกันหามาตรการควบคุมสร้างความตระหนักรู้ เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวร่วมกัน และอยากให้ช่วยกันเรียกร้องความรับผิดชอบต่อสังคมของบรรดาธุรกิจน้ำเมาให้มีมากกว่านี้
ขณะที่ คุณยุ้ย(นามสมมุติ) ภรรยาของผู้ประสบอุบัติเหตุจากการเมาแล้วขับจนเป็นผู้ป่วยติดเตียงกว่า5 ปี เปิดใจว่า เมื่อปี 2557 สามีดื่มจนเมาแล้วขับรถในวันสงกรานต์ วันนั้นมีการกินเลี้ยงกัน แล้วเขาขับรถไปทำงานทั้งที่ยังไม่สร่างเมา จนประสบอุบัติเหตุมอเตอร์ไซต์ล้มหัวฟาดฟุตบาทเป็นผู้ป่วยติดเตียงมา5ปีแล้ว อุทาหรณ์เรื่องนี้ คือ ไม่อยากให้กินเหล้าแล้วขับรถและที่สำคัญต้องใส่หมวกกันน็อค การจะไปห้ามดื่มเหล้าในเทศกาล คงเป็นเรื่องยาก แต่อยากให้ทุกคนถ้าคิดจะดื่มไม่ควรออกไปไหน ให้ดื่มที่บ้านจะปลอดภัยที่สุด มีการวางแผนในการกินดื่มที่ไม่ส่งผลกระทบต่อตัวเองและผู้อื่น และเห็นด้วยกับการงดขายเหล้าในวันที่13เมษายน เพราะเชื่อว่าจะช่วยลดอุบัติเหตุเจ็บตายบนท้องถนนได้
You must be logged in to post a comment Login