- เลือกงานให้โดน บริหารคนให้เป็น ตาม“ลัคนาราศี”Posted 3 hours ago
- ต่างศาสนา ต่างชาติพันธุ์ อยู่ร่วมกันภายใต้ความแตกต่างPosted 3 hours ago
- โลภ•ลวง•หลง เกมพลิกชีวิต รีแบรนด์หรือรีบอร์นPosted 3 hours ago
- กูไม่ใช่ไก่ต้มเว้ย! อย่ามาต้มกูเลย..Posted 3 hours ago
- หยุดความรุนแรง-ลวงโลกPosted 1 day ago
- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 4 days ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 5 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 6 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 week ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 week ago
13 ปี เส้นทางสู่การเป็นสุดยอดผู้ตัดสินระดับโลก ต้องทำอย่างไร..?
อยากเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลต้องทำอย่างไรบ้าง..?
อยากเป็นผู้ตัดสินฟุตบอลต้องเริ่มจากตรงไหน..?
อยากเป็นผู้ตัดสินอาชีพ ต้องใช้เวลานานแค่ไหน..?
สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ภายใต้การบริหารงานของ พล.ต.อ. ดร. สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง นายกสมาคมฯ ดำเนินนโยบายพัฒนากีฬาฟุตบอลในทุกๆ ด้าน
เพื่อเป้าหมายในการยกระดับมาตรฐานการแข่งขันฟุตบอลลีกอาชีพตลอดจนทีมฟุตบอลทีมชาติไทยในระดับนานาชาติ
บุคลากรผู้ตัดสิน ถือเป็นส่วนสำคัญอันดับต้นๆ ในการช่วยยกระดับการแข่งขันกีฬาฟุตบอลให้มีมาตรฐานยิ่งขึ้น
ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมา สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ให้ความสำคัญกับการเดินหน้ายกระดับมาตรฐานกรรมการผู้ตัดสินทั้งระบบ ควบคู่กับการป้องกัน ปราบปราม
และสกัดกั้นขบวนการล็อคผลสกอร์ที่พยายามหาผลประโยชน์จากการล้มบอล
ฝ่ายพัฒนาผู้ตัดสิน สมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ มีการจัดการอบรมผู้ตัดสินอย่างต่อเนื่อง จากวิทยากรของเอเอฟซี และฟีฟ่า อีกทั้งยังส่งผู้ตัดสินสายเลือดใหม่ไปร่วมอบรมในต่างประเทศ
เก็บเกี่ยวประสบการณ์จนได้ทำหน้าที่ในทัวร์นาเมนต์สำคัญๆ ทั้งในระดับภูมิภาคอาเซียน และระดับทวีป เป็นต้น
อาชีพผู้ตัดสิน เป็นอาชีพที่มีเกียรติ และศักดิ์ศรี ต้องดำรงไว้ซึ่งความยุติธรรม การที่จะก้าวไปยังจุดสูงสุดของการเป็นผู้ตัดสินได้ต้องฝ่าฟัน ต่อสู้ เรียนรู้ บนเส้นทางเส้นนี้ด้วยใจรักยิ่ง
อ่านเรื่องนี้จบแล้วคุณจะรู้ว่า การก้าวไปสู่จุดสูงสุดในการเป็นผู้ตัดสินที่ดี ต้องเริ่มจากจุดไหนก่อน สิ่งที่ต้องทำระหว่างทาง ระยะเวลาในการทำหน้าที่ต่างๆ
เส้นทางการเป็นผู้ตัดสิน เริ่มต้นจากขั้นตอนแรกสำหรับบุคคลทั่วไป ต้องยื่นใบสมัครเข้ามาที่สมาคมฯ โดยมีคุณสมบัติ อาทิ
– สัญชาติไทย
– อายุระหว่าง 18-25 ปี
– วุฒิการศึกษา ไม่ต่ำกว่า มัธยมศึกษาปีที่ 6 เทียบเท่า กศน. หรือ ป.ว.ช.
– ไม่เป็นบุคคลทุพพลภาพ และสายตาไม่บอดสี
– ไม่เคยต้องโทษคดีอาญา, ไม่เคยต้องโทษจำคุก หรือเป็นบุคคลล้มละลาย
– ส่วนสูง ผู้หญิงไม่ต่ำกว่า 160 เซนติเมตร, ผู้ชายไม่ต่ำกว่า 165 เซนติเมตร
เมื่อคุณสมบัติทั้งหมดครบ ก็สามารถส่งใบสมัคร และเมื่อถึงช่วงระยะเวลาก็จะมีการทดสอบผู้ตัดสินใหม่ทันที ตามเส้นทางดังนี้
ก้าวแรกของ “ผู้ตัดสิน”
1. เข้ารับการอบรม
2. เทสต์ กติกา ข้อเขียน
3. ทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย มีสองแบบ แบบแรกคือการวิ่งระยะสั้น (40 เมตร 6.6 วินาที), วิ่งทดสอบความทนทาน (วิ่ง 17 วินาที เดิน 24 วินาที จำนวน 10 รอบสนาม ระยะทาง 4,000 เมตร)
4. ทดสอบภาคปฏิบัติ ในการแข่งขันซึ่งเป็นฟุตบอลในการแข่งขันฟุตบอลเยาวชน หรือการแข่งขันฟุตบอลทั่วไป ที่มีต้องมีระยะเวลาแขงขัน 70 นาที โดยส่งผู้ประเมินผู้ตัดสินไปควบคุม กำกับ ดูการทำหน้าที่ ซึ่งผู้ที่จะทำการทดสอบจะต้องทำหน้าที่ครบทั้งสามตำแหน่ง ทั้งในส่วนของการเป็นผู้ตัดสิน, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน และ ผู้ตัดสินที่สี่
5. หลังจากเสร็จสิ้นจะทำได้เข้ารับ การอบรมรอบสุดท้าย พร้อมทดสอบข้อเขียน และทดสอบสมรรถภาพร่างกายอีกรอบ ด้วยการ วิ่งระยะสั้น (40 เมตร 6.2 วินาที), วิ่งทดสอบความทนทาน (วิ่ง 15 วินาที เดิน 22 วินาที จำนวน 10 รอบสนาม ระยะทาง 4,000 เมตร)
6. เมื่อผ่านทั้งหมด จะได้ก้าวขึ้นเป็นผู้ตัดสินชั้น 3
ก้าวที่สอง “ผู้ตัดสิน” ระดับชั้น 3
– ในช่วงเบื้องต้น สามารถหน้าที่ได้ในการแข่งขันฟุตบอล ไทยลีก 4, ฟุตบอลเยาวชน และการแข่งขันฟุตบอลรายการอื่นๆ ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมฯ ซึ่งถ้าหากทำผลงานได้ดีก็จะมีโอกาสขึ้นไปทำหน้าที่ในระดับ ไทยลีก 2 และ ไทยลีก 3
– ระหว่างที่เป็นผู้ตัดสินชั้น 3 จะมีการทดสอบสมรรถภาพร่างกายดังนี้ (40 เมตร 6.2 วินาที), อึด (วิ่ง 15 วินาที เดิน 22 วินาที จำนวน 10 รอบสนาม ระยะทาง 4,000 เมตร) โดยจะมีการทดสอบ 3 ครั้งต่อปี คือช่วงก่อนเปิดฤดูกาล, ช่วงพักเลก และช่วงหลังจบฤดูกาล
– เมื่อทำหน้าที่ระดับ ผู้ตัดสินชั้น 3 ครบ 3 ปี จะได้สิทธิ์ในการสอบเลื่อนขั้นเป็น “ผู้ตัดสิน” ระดับชั้น 2 (ทั้งนี้ หากมีความสามารถ และคะแนนผ่านเกณฑ์อาจจะมีการพิจารณาเลือนขั้นก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้)
ก้าวที่สาม “ผู้ตัดสิน” ระดับชั้น 2
– เมื่อขึ้นเป็นผู้ตัดสินชั้น 2 จะมีเส้นทางให้เลือกอย่างชัดเจนคือการเป็นผู้ตัดสิน หรือ ผู้ช่วยผู้ตัดสิน โดยเกณฑ์การทดสอบสมรรถภาพร่างกายเพื่อทำหน้าที่ในระดับ ไทยลีก 2 และ ไทยลีก 1
รวมถึงฟุตบอลระดับสูงรายการอื่นๆ มีดังนี้
ผู้ตัดสิน : วิ่งระยะสั้น (40 เมตร 6 วินาที), วิ่งทดสอบความทนทาน ( วิ่ง 15 วินาที เดิน 18 วินาที จำนวน 10 รอบสนาม ระยะทาง 4,000 เมตร )
ผู้ช่วยผู้ตัดสิน : วิ่งระยะสั้น (30 เมตร 4.7 วินาที), วิ่งทดสอบความทนทาน (วิ่ง 15 วินาที เดิน 20 วินาที จำนวน 10 รอบสนาม ระยะทาง 4,000 เมตร), วิ่งทดสอบการเป็นผู้ช่วยผู้ตัดสิน (วิ่งออกตัวพุ่งตรง 10 เมตร และ วิ่งสไตล์ด้านข้าง 8 เมตร ภายใน 10 วินาที)
สำหรับผู้ตัดสิน ระดับชั้น 2 ในช่วงเบื้องต้น จะสามารภทำหน้าที่ได้ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 2 รวมถึงลีกอื่นๆ ระดับรองลงไป ซึ่งถ้าหากทำผลงานได้ดี ก็จะมีโอกาสขึ้นไปทำหน้าที่ในระดับ ไทยลีก 1
จากนั้นเมื่อเก็บเกี่ยวประสบการณ์ จากการปฏิบัติหน้าที่ครบ 2 ปี จะมีสิทธิ์สอบเลื่อนชั้นจากชั้น 2 เป็นชั้น 1 (ทั้งนี้ หากมีความสามารถ และคะแนนผ่านเกณฑ์อาจจะมีการพิจารณาเลือนขั้นก่อนระยะเวลาที่กำหนดได้) โดยหัวข้อสอบ ประกอบไปด้วย สอบทฤษฎี, สอบภาคปฏิบัติ และ ผ่านการทดสอบสมรรถภาพทางร่างกาย
ก้าวที่สี่ “ผู้ตัดสิน” ระดับชั้น 1
– ส่วนใหญ่จะได้ทำหน้าที่ในระดับ ไทยลีก 1
– เมื่อปฏิบัติหน้าที่ครบระยะเวลาที่กำหนด (ผู้ตัดสิน 2 ปี, ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 1 ปี) ในการแข่งขันฟุตบอลไทยลีก 1 จะสามารถสอบเป็นผู้ตัดสินระดับฟีฟ่า ที่ได้รับการรับรองจากสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ ได้ทันที
ก้าวที่ห้า “ผู้ตัดสิน” ระดับ FIFA (ไทย)
– ปัจจุบัน มีผู้ตัดสินชาวไทยระดับฟีฟ่าของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ณ ตอนนี้ ทั้งหมด 9 คน (ชาย 6 คน, หญิง 3 คน) ผู้ช่วยผู้ตัดสินชาวไทยระดับฟีฟ่าของสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทย ณ ตอนนี้ ทั้งหมด 11 คน (ชาย 8 คน, หญิง 3 คน)
– “ผู้ตัดสิน” ระดับ FIFA สามารถทำหน้าที่การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ (ภายในภูมิอาเซียนทั้งในระดับเยาวชน และ ทีมชุดใหญ่, ฟุตบอลอุ่นเครื่องตามปฏิทิน FIFA Days)ได้ซึ่งฝ่ายจัดการแข่งขันของรายการนั้นๆ จะเชิญผ่านสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ
– โดยการทำหน้าที่ในฟุตบอลระดับ นานาชาติ จะมีการเก็บคะแนนอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลา 2 ปี เพื่อส่งชื่อสอบเป็นผู้ตัดสินระดับ AFC Elite ซึ่งจะถูกคัดเลือกจากสมาพันธ์ฟุตบอลแห่งเอเชีย อีกครั้ง โดยมีการทดสอบทั้งในส่วนของภาคทฤษฎี และ ปฏิบัติ รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษ
ก้าวที่หก “ผู้ตัดสิน” ระดับ AFC Elite
– ปัจจุบัน มีผู้ตัดสินชาวไทยที่ทำหน้าที่อยู่ในระดับ AFC Elite จำนวน 1 คน (ศิวกร ภูอุดม) และ ผู้ช่วยผู้ตัดสิน 2 คน (ราวุฒิ นาคฤทธิ์, ธเนศ ชูชื่น)
– สามารถทำหน้าที่การแข่งขันฟุตบอลระดับนานาชาติ ในระดับทวีป (ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก โซนเอเชีย รอบ 12 ทีมสุดท้าย, ฟุตบอลเอเชียน คัพ, ฟุตบอล เอเอฟซี แชมเปี้ยนส์ลีก เป็นต้น)
– โดยการทำหน้าที่ในฟุตบอลระดับนานาชาติ จะมีการเก็บคะแนนจากทัวร์นาเมนต์ระดับสูง เป็นเวลา 4 ปี (ตามรอบของฟุตบอลโลก) เพื่อเลือกผู้ตัดสิน จำนวน 5 คน เป็นตัวแทนของทวีปเอเชีย ไปทำหน้าที่ในการแข่งขันฟุตบอลโลก รอบสุดท้ายต่อไป
สรุปรวมแล้ว เส้นทางของการก้าวไปสู่การเป็นผู้ตัดสินระดับโลก จะใช้เวลาประมาณ 13 ปี เป็นอย่างน้อย
นี่คือ 13 ปี กับ 6 ก้าว บนเส้นทางตั้งแต่จุดเริ่มต้นของการเป็น “ผู้ตัดสิน” สู่จุดสูงสุดในระดับ AFC Elite แต่เป้าหมายของความภาคภูมิใจสูงสุดของตัวผู้ตัดสินของการทำหน้าที่ คือ การได้ทำหน้าที่ในการแข่งขันฟุตบอลโลกรอบสุดท้ายสักครั้ง
You must be logged in to post a comment Login