วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

มารู้จักโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่น “ตลาดประชารัฐต้องชม” เพื่อคนรากหญ้า..พร้อมเชิญต่างชาติมาเยี่ยมชม

On March 18, 2019

ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล17-3-62_๑๙๐๓๑๘_0015

ตลาดต้าน้ำโบราณบ้านต้นตาล17-3-62_๑๙๐๓๑๘_0022

จากนโยบายของนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา) ในการส่งเสริมด้านการตลาดภายในประเทศ โดยตั้งเป้าให้มีตลาดชุมชนเกิดขึ้นในทุกมุมเมือง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร กลุ่มวิสาหกิจชุมชน SMEs ได้มีสถานที่จำหน่ายสินค้าโดยตรงแก่ประชาชน กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จึงได้ดำเนินโครงการตลาดชุมชนเพื่อธุรกิจท้องถิ่นขึ้น ภายใต้ชื่อ “ตลาดประชารัฐต้อชม” ภายใต้แนวคิด “เอกลักษณ์พาณิชย์ อัตลักษณ์ของชุมชน” โดยเริ่มดำเนินการในปีงบประมาณ 2559 ปัจจุบันส่งเสริมเป็นตลาดประชารัฐต้องชมแล้ว จำนวน 229 แห่ง ทั่วประเทศ

วัตถุประสงค์การดำเนินโครงการฯ
1. กระตุ้นระบบเศรษฐกิจจากการบริโภคภายในประเทศ และวางรากฐานของเศรษฐกิจประเทศในอนาคต
เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนให้มีความเข้มแข็งในระยะยาว สามารถพึ่งพาตนเอง ผ่านกลไกของตลาดชุมชน
2. เพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตร สินค้าเกษตรแปรรูป สินค้าหัตถกรรม ผลิตภัณฑ์ชุมชน เพื่อเป็นช่องทางการระบายสินค้าของชุมชน และเป็นกลไกในการแก้ไขปัญหาสินค้าเกษตรของรัฐบาล
3. เพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจ SMEs และคนในชุมชน ด้วยการพัฒนา
ให้ความรู้แก่ชุมชน โดยสนับสนุนองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และสร้างความหลากหลายของสินค้าที่ตรงกับรสนิยมของกลุ่มเป้าหมายคนในชุมชนและนักท่องเที่ยว
หลักเกณฑ์การพิจารณาเป็น “ตลาดประชารัฐต้องชม”
1. สถานที่ : ทำเลที่ตั้ง ความสะอาด สาธารณูปโภคพื้นฐาน สุขาภิบาลตลาด
2. สินค้า : มีความหลากหลาย เป็นสินค้าพื้นถิ่น หรือเป็นผลผลิตจากคนในชุมชน
3. การประกอบการค้า : กำหนดวันทำการที่แน่นอน เก็บค่าเช่าในอัตราที่เป็นธรรม ดูแลความเป็นธรรมทางการค้า
4. ความพร้อมของตลาด : ให้ความร่วมมือกับกรมฯ มีแนวคิดในการพัฒนาตลาด และพร้อมสนับสนุนพื้นที่เป็นกรณีพิเศษ
5. ลักษณะเฉพาะที่เป็นจุดเด่นของตลาด : ด้านวัฒนธรรม ด้านการท่องเที่ยว หรือมีกิจกรรมสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่น
การจัดเกรดตลาดประชารัฐต้องชม
กรมฯ ได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาแต่ละตลาดแตกต่างกัน ตามการจัดแบ่งกลุ่มตลาดออกเป็น 3 เกรด คือ เกรด A เกรด B และเกรด C ตามสภาพแวดล้อม สิ่งอำนวยความสะดวก และความพร้อมของตลาด พร้อมกับกำหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาตลาดแต่ละเกรดไว้ด้วย ดังนี้
เกรด A คือ ตลาดที่มีความพร้อมในทุกด้าน ได้แก่ โครงสร้าง/ทัศนียภาพ ความสะอาด การมีส่วนร่วมของชุมชน มีกิจกรรมของตลาดซึ่งแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตในท้องถิ่น
เกรด B คือ ตลาดที่มีความพร้อมบางด้าน อาทิ โครงสร้าง/ทัศนียภาพ ความสะอาด การมีส่วนร่วมของชุมชน มีกิจกรรมของตลาดซึ่งแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตในท้องถิ่น
เกรด C คือ ตลาดที่ต้องได้รับการปรับปรุงและพัฒนาในด้านต่างๆ อาทิ โครงสร้าง/ทัศนียภาพ
ความสะอาด การมีส่วนร่วมของชุมชน มีกิจกรรมของตลาดซึ่งแสดงออกถึงศิลปวัฒนธรรม และวิถีชีวิตในท้องถิ่น
37570

37576

37577

37580
แนวทางการพัฒนาตลาด

แนวทางการพัฒนา ตลาดเกรด A ตลาดเกรด B ตลาดเกรด C
1. การพัฒนาตลาด – – จัดระเบียบแผงค้า/Zoning
– พัฒนาตลาดให้มีความเหมาะสมในการพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว – ปรับปรุงภูมิทัศน์ตลาด
– จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
– จัดระเบียบแผงค้า
2. การหาจุดเด่น และดึงอัตลักษณ์ของชุมชน – – – บูรณาการร่วมกับหน่วยงานด้านวัฒนธรรม เพื่อค้นหา/สร้างสรรค์
อัตลักษณ์ของตลาดให้รูปธรรม
2. การพัฒนาองค์ความรู้ – พัฒนาให้เป็น Smart Farmer และ Smart Entrepreneur
– พัฒนาตราสินค้า (Branding)
– พัฒนาบรรจุภัณฑ์ (Packaging)
– ส่งเสริมการปลูกพืชอินทรีย์
– การผลิตสินค้าด้วยวัตกรรม – สนับสนุนพัฒนาการผลิตสินค้าคุณภาพ
– การทำการตลาดในปัจจุบัน – การบริหารจัดการตลาด ระบบขยะ ของเสีย การสุขาภิบาลตลาด
– พัฒนาความรู้ด้านการบัญชีเบื้องต้น
– การตลาดในปัจจุบัน

3. การจัดกิจกรรม (Event) – เชื่อมโยงการจำหน่ายสินค้าชุมชนในช่องทางใหม่ๆ
– เชื่อมโยงการท่องเที่ยวในตลาด – จัดกิจกรรมส่งเสริมอัตลักษณ์ของชุมชน
– จัดเวทีวัฒนธรรมในตลาด เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น – จัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์ตลาด
ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง37582

37583

37585

37588
4. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน – – – เชิญชวนคนในชุมชนให้มีส่วนร่วมกันในการส่งเสริมและพัฒนาตลาด เพื่อให้ตลาดเป็นศูนย์กลางของคนในชุมชน
การดำเนินงานในการส่งเสริมและพัฒนาตลาดประชารัฐต้องชม
1. การส่งเสริม ปรับปรุง และพัฒนาตลาด
1.1 ส่งเสริมตลาดชุมชนเป้าหมายใหม่เป็นตลาดประชารัฐต้องชม โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์และบริเวณโดยรอบตลาดชุมชน ให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ สวยงาม และจัดพื้นที่จำหน่ายสินค้า/พื้นที่ทานอาหารอย่างเป็นสัดส่วน และจัดกิจกรรมภายในตลาดและประชาสัมพันธ์เพื่อเป็นการแสดงถึงการเป็นตลาดประชารัฐต้องชม
1.2 ปรับปรุงตลาดประชารัฐต้องชมให้ยังคงสภาพการเป็นตลาดประชารัฐต้องชม โดยการปรับปรุง
ภูมิทัศน์ตลาดและบริเวณโดยรอบตลาดให้มีความสะอาด เป็นระเบียบ พร้อมจัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่จำเป็นในสร้างความเป็นธรรมในการซื้อขาย
1.3 จ้างที่ปรึกษาเพื่อส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการประกอบธุรกิจตลาดในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยที่ปรึกษาลงพื้นที่ศึกษาและสำรวจข้อมูลพื้นฐานของตลาด ให้คำปรึกษาและจัดอบรมให้ความรู้ผู้ค้าในตลาดในการสร้างองค์ความรู้ ปรับปรุง และพัฒนาตลาด ร้านค้า ตลอดจนผลิตภัณฑ์ ปรับปรุงงพัฒนาตลาดตามแนวทางที่ได้จากการศึกษา กิจกรรมส่งเสริมการรับรู้การพัฒนาตลาด และจัดทำข้อเสนอแนะแนวทางการพัฒนาตลาดในอนาคต
2. การพัฒนาองค์ความรู้ใหม่แก่ผู้ประกอบการตลาด ผู้ค้า เกษตรกร โดยจัดอบรมให้ความรู้ด้านต่างๆ
ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (Workshop) อาทิ ด้านการผลิต การตลาด การเงิน และการบัญชี การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เข้ามามีบทบาทในการเพาะปลูกและแปรรูปสินค้าให้มากขึ้น
3. การจัดกิจกรรมต่างๆ
3.1 การจัดกิจกรรมส่งเสริมและสร้างการรับรู้การเป็นตลาดประชารัฐต้องชม ดำเนินการในปีงบประมาณ 2561
3.2 จัดกิจกรรมกระตุ้นและเชื่อมโยงการซื้อขายสินค้าชุมชน เพื่อกระตุ้นให้เกิดการซื้อสินค้า ผ่านการเล่นเกมส์ หรือการลด/แลก/แจก/แถม และการจัดนิทรรศการให้ความรู้หรือแนะนำตลาด
3.3 การจัดงานตลาดประชารัฐต้องชม Expo ซึ่งดำเนินการไปแล้ว 3 ครั้ง ได้แก่
(1) ครั้งที่ 1 “ตลาดต้องชม Expo 2016” ระหว่างวันที่ 27-30 กันยายน 2559
ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
(2) ครั้งที่ 2 “ตลาดประชารัฐต้องชม Expo 2018” เป้าหมาย 3 ครั้ง ณ จังหวัดเชียงใหม่ ขอนแก่น และสุราษฎร์ธานี
(3) ครั้งที่ 3 “ตลาดประชารัฐต้องชม Expo 2019” ระหว่างวันที่ 9-13 มกราคม 2562 ณ ลานหน้าศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร
4. การประชาสัมพันธ์ ตลาดประชารัฐต้องชม สินค้า เอกลักษณ์/อัตลักษณ์ ตลอดจนศิลปวัฒนธรรม และ
วิถีชีวิตของคนในชุมชนผ่านสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ อาทิ การจัดทำสกู๊ปประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อโทรทัศน์ การจัดทำรายการโทรทัศน์ “ตลาดเด็ดประเทศไทย” ทางช่อง 3SD Facebook “ตลาดต้องชม” และ Youtube Channel
……………………………………………………….


You must be logged in to post a comment Login