วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2567

เผยร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองครอบครัวฉบับฯใหม่เน้นงานนโยบายระดับชาติ-ทำงานร่วมกัน

On March 29, 2019

ที่โรงแรมปรินซ์ตัน ปาร์คสวีท ดินแดง กทม.(29 มีนาคม 2562) มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคมกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) และเครือข่ายโดยการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ(สสส.) ร่วมจัดงานเวทีวิชาการ “เครือข่ายวิชาการครอบครัวศึกษา” ครั้งที่ 1ร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาและคุ้มครองสถาบันครอบครัว พ.ศ. ….โดยมี นายเลิศปัญญา  บูรณบัณฑิต  อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ,นายไตรรัตน์  ฟ้าปกาศิต  ผู้อำนวยการนายสาโรช  นักเบศร์อัยการพิเศษฝ่ายสำนักงานคดีเยาวชนและครอบครัว ,นางสาวสุเพ็ญศรี  พึ่งโคกสูง ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคมกลุ่มกฎหมาย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว ,ว่าที่ร้อยตรีหญิงอรุณศรี มีวงค์ธรรมผู้จัดการฝ่ายกฎหมาย มูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคม เข้าร่วมงาน

2

นายเลิศปัญญา  บูรณบัณฑิต   อธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัวกล่าวว่า จากข้อมูลของพม.ที่ผ่านสายด่วน 1300 และ พมจ. พบว่าในปีที่ผ่านมา จะมีผู้ถูกกระทำความรุนแรง จำนวน 1,500 ราย เพศหญิงจะเป็นผู้ถูกกระทำความรุนแรงมากที่สุดถึง 80%

สำหรับ ร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมพัฒนาและคุ้มครองครอบครัวฉบับฯใหม่ที่เกิดขึ้นมานี้ มีเจตนารมณ์ที่ต้องการจะปิดช่องว่างของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ถูกกระทำความรุนแรง ปี 50 โดยเฉพาะช่องว่างในเชิงปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ และจะมีการยกเลิก พ.ร.บ.ฉบับกล่าวทันทีที่ พ.ร.บ.ฉบับใหม่ได้รับการลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ส่วนดีของ พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าว คือ จะมีกลไกการทำงานที่สะดวกรวดเร็ว โดยมีศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวในทุกพื้นที่เป็นผู้ดำเนินงานในเรื่องดังกล่าวโดยตรง และประชาชนทุกคนที่พบเห็นเหตุการณ์กระทำความรุนแรงสามารถแจ้งกับเจ้าหน้าที่ที่ศูนย์ฯได้ทันที รวมทั้งผู้ที่ถูกกระทำความรุนแรงสามารถร้องขอความช่วยเหลือจากเจ้าหน้าที่ และยื่นขอความคุ้มครองจากศาลเยาวชนและครอบครัวได้ ส่วนผู้ที่กระทำความรุนแรงทางเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถกล่าวโทษเป็นคดีอาญาได้ทันที และผู้กระทำความรุนแรงสามารถเข้ารับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ซึ่งการกำหนดบทบาทที่ชัดเจนจะช่วยทำให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำงานได้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น และการทำงานจะเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เนื่องจากเป็นนโยบายระดับชาติ โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน และมี รมว.พม.เป็นรองประธาน และมีผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างเป็นคณะกรรมการและคณะทำงาน

“จากเดิมถ้าหากผู้ถูกกระทำไม่ร้องทุกข์ จะทำให้ผู้กระทำความรุนแรงเกิดได้ใจและมีแนวโน้มที่จะก่อกระทำความรุนแรงต่อผู้หญิงได้อีก ส่วนการเปิดโอกาสให้ผู้ที่กระทำความรุนแรงได้มีโอกาสปรับเปลี่ยนพฤติกรรม จะช่วยให้ผู้นั้นก่อความรุนแรงลดน้อยลง”

ทั้งนี้ ศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวจะมีอยู่ในทุกพื้นที่ของ พมจ. รวมทั้งจะมีศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวระดับตำบลที่จะเป็นการทำงานร่วมกันกับภาคเอกชนอีกกว่า 7,000 แห่งเข้าร่วมดำเนินการ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมาย

นางสาวสุเพ็ญศรี  พึ่งโคกสูง   ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคมกลุ่มกฎหมาย กรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว  ล่าวว่า จากกฎหมายเดิมนั้นผู้ถูกกระทำความุรนแรงจะต้องเป็นผู้ร้องทุกข์และยื่นคำร้องคุ้มครองสวัสดิภาพต่อศาลเยาวชนและครอบครัวเอง แต่ร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้จะมีศูนย์ส่งเสริมและคุ้มครองครอบครัวเป็นผู้ให้ความช่วยเหลือได้ หัวหน้าศูนย์ส่งเสริมฯสามารถยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้มีการคุ้มครองสวัสดิภาพ ในกรณีที่มีความจำเป็นอย่างเร่งด่วน หากรอช้าจะเป็นอันตรายแก่ชีวิต ร่างกาย หรือจิตใจ ซึ่งไม่อาจขอต่อศาลได้ทันการณ์หัวหน้าศูนย์ฯมีอำนาจออกคำสั่งคุ้มครองสวัสดิภาพได้เท่าที่จำเป็น พร้อมกับทำคำร้องและคำสั่งไปยื่นต่อศาลภายใน48 ชั่วโมง

หากผู้กระทำความรุนแรงต่อบุคคลในครอบครัวกระทำความผิดทางอาญาต่อบุคคลในครอบครัว เช่น ทำร้ายร่างกาย กักขัง ข่มขืนกระทำชำเรา ฯ ซึ่งส่งผลให้ผู้กระทำความรุนแรงมีความผิดทางอาญาและพ.ร.บ.นี้ และในร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังได้มีการเปิดโอกาสให้ผู้กระทำความรุนแรงต้องเข้าสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือเข้าเงื่อนไขในการคุ้มครองสวัสดิภาพ เนื่องจากผู้ที่กระทำความรุนแรงไม่ได้เกิดมาเพื่อกระทำความผิดโดยตรงและศาลอาจนำมาประกอบการพิจารณาเป็นเหตุให้รอการลงโทษหรือบรรเทาโทษได้ ดังนั้นจึงต้องมีหน่วยงานเข้ามาช่วยเยียวยาปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้กระทำความรุนแรงในครอบครัว

ส่วนผู้เคยถูกกระทำด้วยความรุนแรงในครอบครัวที่ถูกกระทำซ้ำบ่อยจนเป็นเหตุให้กระทบกระเทือนต่อร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง และลุกขึ้นต่อสู้กลับเป็นเหตุให้ผู้เคยกระทำความรุนแรงได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต สามารถยื่นคำแถลงเพื่อประกอบการพิจารณาของศาล  ศาลอาจลงโทษน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดได้

ด้าน นง (นามสมมติ) ผู้เคยได้รับการกระทำความุรนแรง ตัวแทนจากบ้านพักฉุกเฉิน กล่าวว่าผู้หญิงที่ขอรับความช่วยเหลือจากบ้านพักฉุกเฉิน เป็นผู้ที่ได้รับการกระทำความรุนแรงในด้านต่างๆ เช่น ทำร้ายร่างกายจากคนในครอบครัว โดนข่มขืน หรือท้องไม่พร้อม เป็นต้น ให้บ้านพักฉุกเฉินช่วยเหลือ วันนี้ตนต้องขอขอบคุณทางบ้านพักฉุกเฉิน และ ป้าโก๋ หรือ นางสาวสุเพ็ญศรี  พึ่งโคกสูง  ผู้อำนวยการมูลนิธิส่งเสริมความเสมอภาคทางสังคมที่เปิดโอกาสให้ตนเองได้เป็นตัวแทนได้เสนอความต้องการของผู้หญิงที่ถูกกระทำความความรุนแรงว่าต้องการให้ความช่วยเหลือในด้านใดบ้าง ซึ่งทางเราได้มีการยื่นขอเสนอไปยังอธิบดีกรมกิจการสตรีและสถาบันครอบครัว7 ข้อ  เช่น ถ้าผู้ชายที่ทำผู้หญิงตั้งครรภ์แล้วไม่รับสามารถรับการตรวจดีเอ็นเอได้ฟรี,ให้ความช่วยเหลือผู้หญิงที่ประสบปัญหา,อยากให้มีบทลงโทษกับผู้ชายที่กระทำกับผู้หญิงอย่างเร่งด่วน ซึ่งเราได้ยื่นเรื่องไปเมื่อ2 ปีที่แล้วและได้รับการตอบรับจากท่านอธิบดีในปีที่สองและดำเนินการให้ในหลายๆเรื่อง

“ในวันนี้ตนอยากเห็นกฎหมายและการดำเนินงานเป็นรูปธรรมมมากขึ้น ทั้งตำรวจ พยาบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขอให้มีการดำเนินการที่รวดเร็วยิ่งขึ้น และอยากให้มีการแนะนำผู้หญิงในเรื่องของการได้รับความคุ้มครองให้มากขึ้น เพราะบางคนจะไม่รู้ข้อมูลตรงนี้ ”

นง กล่าวว่า อยากจะฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ว่า อยากให้สิทธิสตรีมีมากขึ้นชัดเจนมากขึ้นการให้ข้อมูลเกี่ยวกับสิทธิของผู้หญิงและภรรยา และการดำเนินการทางกฎหมายให้มีความรวดเร็วมากขึ้น

3

4


You must be logged in to post a comment Login