- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 2 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 23 hours ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 2 days ago
- อย่าไปอินPosted 5 days ago
- ปีดับคนดังPosted 6 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
“อุดม”เปิดสูตรคำนวณที่นั่งส.ส.ยันไม่ซับซ้อนแต่ควรรอตัวเลขทางการ
นายอุดม รัฐอมฤต อดีตกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) กล่าวว่า การคำนวณที่นั่ง ส.ส. หลังคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ประกาศคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ โดยนำคะแนนบัตรดีของการเลือกตั้งครั้งนี้ 35,532,645 ใบ หารกับ 500 ซึ่งคือจำนวน ส.ส.ทั้งหมด ทำให้ได้ค่าเฉลี่ยของเสียงต่อ ส.ส. 1 ที่นั่ง หรือ 71,065.294 คะแนน จากนั้นนำมาหารคะแนนเสียงที่แต่ละพรรคได้รับ จะได้ที่นั่ง ส.ส. ที่พึงได้รับ ซึ่งผลออกมา ทำให้บางพรรค คือ พรรคเพื่อไทยที่ได้จำนวน ส.ส.เขตไปแล้วมากกว่าจำนวน ส.ส.ที่พึงได้รับ จึงไม่ได้รับจัดสรรให้มี ส.ส.บัญชีรายชื่อเพิ่ม
ทั้งนี้ในกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.ให้นำที่นั่ง 150 ของ ส.ส.บัญชีรายชื่อ ไปจัดสรรให้กับพรรคที่ยังได้ ส.ส.ไม่มากกว่าจำนวนที่พึงได้รับ ซึ่งตามหลักการในการร่างกฎหมาย กรธ.และ กกต.เห็นตรงกันว่าต้องนำตัวเลขของทุกพรรคที่ยังได้ ส.ส.ไม่ถึงตัวเลขที่พึงได้มารวมคำนวณหาสัดส่วนใน 150 ที่นั่งด้วย ซึ่งเมื่อคำนวณแล้ว จากตัวเลขแถลงอย่างไม่เป็นทางการของ กกต.ได้ 175 ที่นั่ง ดังนั้นจึงต้องนำจำนวนที่แต่ละพรรคพึงได้รับคูณกับ 150 ซึ่งคือจำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อแล้วหารด้วย 175 จะเป็นจำนวนที่แต่ละพรรคพึงได้ ทั้งนี้ตัวเลขที่คูณหารออกมา มีทั้งจำนวนเต็มและจุดทศนิยม พรรคที่ได้จะเริ่มจากจำนวนเต็มก่อน แล้วจึงไปพิจารณาจุดทศนิยม และในกรณีที่เมื่อคำนวณแล้วยังมีที่นั่งไม่ครบ 150 ต้องไปไล่ลำดับเรื่อย ๆ จากมากไปน้อย ตามจุดทศนิยมจนครบว
นายอุดม ยืนยันว่า สูตรการคำนวณที่นั่ง ส.ส.ดังกล่าวไม่ซับซ้อนถึงขั้นเข้าใจไม่ได้ แต่อาจเกิดข้อสับสนตรงสัดส่วนเก้าอี้เกินกว่าที่ควรจะเป็น หรือที่เรียกว่าโอเวอร์แฮงค์ ทั้งนี้ตัวเลขที่ออกมายังไม่นิ่ง แต่พรรคการเมืองเอาผลคะแนนมาแข่งทะเลาะเบาะแว้ง ชิงความได้เปรียบของ 2 ขั้วทางการเมืองในการจัดตั้งรัฐบาล จึงทำให้เกิดปัญหา ดังนั้นทุกฝ่ายควรรอให้ตัวเลขนิ่ง หรือได้ตัวเลขอย่างเป็นทางการเพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของตัวเลขในภายหลัง เพราะวิธีคิดหรือสูตรที่วางไว้มีอยู่แล้วและไม่ซับซ้อน และหลักการในการร่างกฏหมายนี้ คือ อยากให้ทุกเสียงมีความหมายทุกเสียงเท่าเทียมกัน
You must be logged in to post a comment Login