- ตั้งสติให้ดี “โลกนี้ มีเกิด มีตาย”Posted 1 month ago
- อย่าหาเรื่องอยู่ร้อน นอนทุกข์Posted 1 month ago
- โลกธรรมPosted 1 month ago
- อนุโมทนา คนพิการสู้ชีวิตPosted 1 month ago
- สลายความเกลียดชังPosted 1 month ago
- สู้ดีกว่าลาโลกPosted 2 months ago
- ใช้คาถาพระพยอมบ้างPosted 2 months ago
- เสียงชื่นชมดีกว่าเขาด่าPosted 2 months ago
- ต้องใช้ยาแรงกับคนขายชาติPosted 2 months ago
- บทเรียนผู้เห็นกงจักรเป็นดอกบัวPosted 2 months ago
11 ข้อชะลอป้องกันสมองเสื่อม

คอลัมน์ : พบหมอศิริราช
ผู้เขียน : รศ.นพ.วีรศักดิ์ เมืองไพศาล
(โลกวันนี้วันสุข ประจำวันที่ 5 – 12 เมษายน 2562)
ภาวะสมองเสื่อมยังคงเป็นปัญหาสำคัญที่ทุกคนพยายามดูแลตัวเองและผู้สูงอายุในบ้านให้ห่างไกลจากโรคนี้
ปัจจุบันพบว่าโรคอัลไซเมอร์นอกจากมีการเสื่อมของเซลล์สมองแล้ว ยังมีส่วนที่เกิดจากโรคของหลอดเลือด และพบว่าผู้ป่วยสมองเสื่อมส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุร่วมกันระหว่างโรคอัลไซเมอร์และโรคหลอดเลือดสมอง ดังนั้น การป้องกันโรคของหลอดเลือดจึงเป็นการป้องกันภาวะสมองเสื่อมไปด้วยในตัว
ปรับตัวปรับใจป้องกันภาวะสมองเสื่อม
1.หมั่นออกกำลังกายชนิดแอโรบิก เช่น เดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ เป็นประจำ ประมาณ 40 นาทีต่อครั้ง สัปดาห์ละ 3 ครั้ง เนื่องจากมีการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายเป็นประจำในวัยกลางคนจะช่วยลดการเกิดภาวะสมองเสื่อมในวัยสูงอายุได้ และยังพบว่าผู้ที่ออกกำลังกายเป็นเวลา 6-12 เดือน แล้ววัดสมรรถภาพสมอง จะดีขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ออกกำลังกาย
2.เลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารมันจัด โดยเฉพาะอาหารจากไขมันอิ่มตัว ซึ่งพบในผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ และทรานส์แฟท (trans fat) หรือไขมันทรานส์ พบในขนมขบเคี้ยว ซึ่งเป็นไขมันตัวร้ายที่เป็นสาเหตุหลักในการก่อโรคหัวใจและหลอดเลือดให้กับผู้คนทั่วโลก หันมารับประทานผัก ถั่วเมล็ดแห้ง ผลไม้ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี และปลา ซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน สารอาหาร และเกลือแร่ เพื่อบำรุงสมอง ส่วนการรับประทานวิตามินเสริมยังไม่พบว่าได้ผลที่ชัดเจน เนื่องจากวิตามินเสริมหลายชนิดไม่เหมือนกับวิตามินที่มาจากอาหารตามธรรมชาติ
3.นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอประมาณ 7-8 ชั่วโมงต่อวัน และควรแก้ไขสำหรับผู้ที่มีปัญหาโรคที่เกี่ยวกับการนอนหลับ เช่น การอุดกั้นทางเดินหายใจขณะนอนหลับ
4.ทำกิจกรรมที่ช่วยเสริมการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือกระตุ้นการคิดอ่าน ความจำ ประมาณวันละครึ่งชั่วโมง 4-5 ครั้งต่อสัปดาห์ ซึ่งควรเป็นกิจกรรมที่ชื่นชอบ เหมาะสม และทำแล้วเพลิดเพลิน
5.สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นด้วยการพูดคุยอย่างสม่ำเสมอ
6.ทำจิตใจให้เบิกบาน ไม่เครียด ไม่เศร้าหมอง
7.ควบคุมน้ำหนักตัวไม่ให้เกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดสมองเสื่อมในอนาคต
8.ไม่สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า
9.ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี หากพบโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ควรแก้ไขและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์
10.หลีกเลี่ยงการใช้ยาที่มีผลกดการทำงานของสมอง ทำให้ง่วงซึม และอาจทำให้เกิดอาการสับสนได้
11.ระมัดระวังการเกิดอุบัติเหตุที่ศีรษะ โดยเฉพาะการหกล้มในผู้สูงอายุ
You must be logged in to post a comment Login