วันอังคารที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

กรมบังคับคดีแถลงผลงานไตรมาสที่ 2 ปีงบประมาณ2562 ผลักดันทรัพย์สินมากกว่า 38,643 ล้านบาท

On April 24, 2019

วันนี้ (24 เมษายน 2562) เวลา 10.00 น. นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล อธิบดีกรมบังคับคดี ได้แถลงผลการดำเนินงานของไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ตามนโยบายกรมบังคับคดีประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕62 เพื่อการพัฒนาสู่ความเป็นเลิศใน 5 ด้าน (LED 5 Excellence) ได้แก่ การบริหารจัดการคดี(Case Management Excellence) การพัฒนานวัตกรรมและระบบการทำงาน (IT Excellence) การพัฒนาระบบฐานข้อมูล (Information Excellence) การเพิ่มศักยภาพบุคลากร (HR Excellence) และการยกระดับองค์กร (Organization Excellence) เพื่อพัฒนาไปสู่ LED – Thailand 4.0 โดยมีผลการดำเนินงานหลัก ๆ ดังนี้

1. การผลักดันทรัพย์สินออกจากระบบ ในไตรมาสที่2 นี้ สามารถผลักดันทรัพย์สินได้เป็นเงินจำนวน 38,643,827,835 บาท เมื่อรวมกับไตรมาสแรกที่ผลักดันทรัพย์สินได้ 46,274,145,932 บาท สามารถผลักดันทรัพย์สินได้84,917,973,767 คิดเป็นร้อยละ 65.32 ของเป้าหมาย และเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีงบประมาณ

พ.ศ.๒๕๖1 สามารถผลักดันทรัพย์สินได้สูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 26.20 โดยผลของการผลักดันทรัพย์สินสูงขึ้น เป็นผลจากมากจากการทำงานเชิงรุกโดยใช้กลยุทธ์ทางการตลาด เพิ่มฐานผู้สนใจเข้าร่วมประมูล จัดมหกรรมขายทอดตลาดนอกสถานที่ การขายทอดตลาดผ่านระบบการส่งคำสั่งซื้อผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e –Offering Auction) และการจัดขายทอดตลาดในวันหยุดราชการ (วันเสาร์) ทั่วประเทศ

2. การไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นบังคับคดี ภายใต้กลยุทธ์การดำเนินการไกล่เกลี่ย “เชิงรุก เชิงลึก และครอบคลุม” มีเรื่องเข้าสู่การไกล่เกลี่ยจำนวน 8,705 เรื่อง และสามารถไกล่เกลี่ยสำเร็จ 7,870 เรื่อง

คิดเป็นร้อยละ 90.4 ของเรื่องที่เข้าสู่การไกล่เกลี่ย ซึ่งเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 สามารถไกล่เกลี่ยได้สำเร็จสูงกว่า คิดเป็นร้อยละ 13.02 นอกจากการจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยในพื้นที่ต่าง ๆ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค และได้จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุฝนโซนร้อนปาบีก โดยในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 กรมบังคับคดีได้จัดการไกล่เกลี่ยหนี้ชั้นบังคับคดีเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ชั้นบังคับคดี

ที่ได้รับผลกระทบจากพายุโซนร้อน “ปาบึก”ในพื้นที่ภาคใต้ จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา กระบี่ และจังหวัดพัทลุง โดยมีลูกหนี้เข้าร่วมไกล่เกลี่ย จำนวน 141 ราย ทุนทรัพย์ จำนวน 65,909,628.23 บาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 132 ราย ทุนทรัพย์ จำนวน 56,813,817.15 บาท ความสำเร็จของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 93.61  และได้จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยข้อพิพาทชั้นบังคับคดีเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้บัตรเครดิต ร่วมกับ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยมีลูกหนี้เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ย 3,051 เรื่อง ทุนทรัพย์ 538,861,781.36 บาท ไกล่เกลี่ยสำเร็จ จำนวน 2,791 ราย ทุนทรัพย์ 477,642,703.16 บาท ความสำเร็จของเรื่องที่เข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยคิดเป็น ร้อยละ 91.48 การไกล่เกลี่ยในครั้งนี้มีลูกหนี้ลงทะเบียนเข้าร่วมงานมากที่สุดในรอบ 5 ปี

​3.กรมบังคับคดีเป็นองค์กรนำด้านทักษะดิจิทัล  โดยพัฒนาระบบและกระบวนงานเพื่อก้าวสู่ Thailand 4.0 และได้ให้การต้อนรับหน่วยงานต่างๆในการศึกษาดูงานเรื่องเทคโนโลยี ดิจิทัล ทั้งภาครัฐ  และเอกชน

โดยในไตรมาสที่ 2 กรมบังคับคดีได้ให้การต้อนรับคณะกรมชลประทาน หลักสูตรนักบริหารระดับต้น รุ่นที่ 12 เข้าศึกษาดูงานในหัวข้อ “การสร้างองค์กรดิจิทัล”และคณะผู้เข้ารับการอบรม “นักบริหารงานยุติธรรมระดับสูง”รุ่นที่ 10 ของสำนักงานอัยการสูงสุดในโอกาสเข้าศึกษาดูงานการนำเทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาระบบการบริหารจัดการภายในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ และการให้บริการแก่ประชาชนต่อไป

4. การบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานในการบังคับคดีแพ่งและคดีบังคับคดีล้มละลาย กรมบังคับคดีได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนรวม 3 หน่วยงาน ได้แก่ 1. บริษัท เงินติดล้อ จำกัด 2.บริษัทหลักทรัพย์ จำนวน 34 แห่ง และ3.กรมสรรพากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการด้านการบังคับคดี โดยเน้นประชาชนเป็นศูนย์กลาง

5.การเสริมสร้างการรับรู้ให้กับประชาชนและการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการของประชาชน รัฐบาลมีนโยบายให้ส่วนราชการให้ความสำคัญในการประชาสัมพันธ์ และการสร้างความรับรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนเพื่อเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ประชาชน และเป็นการติดอาวุธทางปัญญา ป้องกันไม่ให้เข้าสู่กระบวนการบังคับคดีโดยจัดกิจกรรม ดังนี้ 1.)โครงการเสริมสร้างสุขภาพทางการเงินและกฎหมายของกลุ่มจังหวัด Sandboxในพื้นที่ส่วนกลาง 1 แห่ง พื้นที่ส่วนภูมิภาค 10 แห่ง รวม 11 แห่ง และดำเนินการเสร็จสิ้นแล้วทั้ง 11 แห่ง มีผู้เข้าอบรมรวมทั้งสิ้น 1,027 คน 2.)การเสริมสร้างความรู้กฎหมาย การบังคับคดี การไกล่เกลี่ย แก่เกษตรกร และประชาชนในพื้นที่ส่วนภูมิภาค 10 แห่ง มีผู้เข้าอบรมจำนวนรวมทั้งสิ้น 856 คน และ3.)กรมบังคับคดีร่วมกับสถาบันพระปกเกล้าจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณของกรมบังคับคดี หลักสูตร “พัฒนาศักยภาพเครือข่ายบังคับคดีและวิทยากรตัวคูณ” มีผู้เข้าอบรม จำนวน 400 คน

6.การเตรียมความพร้อมสู่องค์กรไร้กระดาษ (Paperless) กรมบังคับคดีเริ่มดำเนินการใช้ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ (e-memo) ในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับงานคดีมาใช้ในการดำเนินการจัดทำรับ – ส่ง หนังสือราชการและเอกสารทางอิเล็กทรอนิกส์ทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 และในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2562 เริ่มใช้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งผลการเข้าใช้ระบบตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561– มีนาคม 2562 มีการสร้างและรับหนังสือผ่านระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ (e-memo)สามารถลดการใช้กระดาษได้ไม่น้อยกว่า 35,417 แผ่น โดยกรมบังคับคดีมีกำหนดเข้าสู่องค์กรไร้กระดาษในปี พ.ศ.2562 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562  นอกจากนี้ ได้มีการเปิดตัวแอพพลิเคชั่นจองคิวล่วงหน้า LED QUEUE เพื่อให้ประชาชนสามารถค้นหาสำนวนที่ต้องการติดต่อและสามารถเลือกบริการที่ต้องการติดต่อและกำหนดวันที่ที่ต้องการเข้าขอใช้บริการได้ เพื่อความสะดวก ง่าย รวดเร็วประหยัด ลดระยะเวลา กำหนดวันนัดล่วงหน้าด้วยตนเอง

7. การปฏิรูประบบราชการ กรมบังคับคดีดำเนินการตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 258 โดยดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาโครงสร้างและระบบการบริหารงานของรัฐและแผนกำลังคนภาครัฐให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและความท้าทายใหม่ๆ โดยต้องดำเนินการให้เหมาะสมกับภารกิจของหน่วยงาของรัฐแต่ละหน่วยงานที่แตกต่างกัน ดังนี้

-การปฏิรูปการถ่ายโอนภารกิจภาครัฐ: การถ่ายโอนภารกิจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ตามโครงการปรับบทบาทและรูปแบบการให้บริการ (Business Model) ของกรมบังคับคดีจากผู้ปฏิบัติงาน (Operator) เป็นผู้กำกับดูแล (Operator) ตามร่างฯพระราชบัญญัติล้มละลาย (ฉบับที่…) พ.ศ. …. (เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เอกชน) ได้ดำเนินการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตามคำสั่งของพลอากาศเอก ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างรายงานผลเสนอกระทรวงยุติธรรมเพื่อพิจารณาตามลำดับชั้นต่อไป

-การประกวดlogo สถาบันพัฒนาการบังคับคดีสถาบันพัฒนาการบังคับคดี (Legal Execution Professional Academy – LEPA) ในระดับประเทศ โดยจะมีการเปิดตัวสถาบันพัฒนาการบังคับคดีอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 เมษายน  2562 ภายในงานการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉบับพลัน ณ โรงแรมรอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร ซึ่งมีหน้าที่ในการฝึกอบรมให้ความรู้ด้านกฎหมายและความรู้ด้านอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการบังคับคดีให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในกระบวนการยุติธรรม และกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยที่ผ่านมาได้มีการประกวดตราสัญญาลักษณ์ “สถาบันพัฒนาการบังคับคดี” เพื่อสร้างการรับรู้ จดจำได้ง่าย และเป็นที่รู้จักของประชาชน   โดยโลโก้ที่ชนะการออกแบบในลักษณะรูปทรงดอกบัวตูม ภายใต้แนวคิด สถาบันส่งเสริมความรู้ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาวิทยากรด้านคดีที่มีความเชี่ยวชาญ น่าเชื่อถือ มีความเป็นมืออาชีพ มีระบบ ระเบียบ กระบวนการ จรรยาบรรณ และมาตรฐานที่ดี ยกระดับสร้างประโยชน์คุณค่าสูงสุด สู่องค์กร สังคม ประเทศชาติ และระดับประเทศร่วมกัน

8. รางวัลของกรมบังคับคดี รางวัลชมเชยองค์กรโปร่งใส ครั้งที่ 8 (NACC Integrity Awards) ประจำปี พ.ศ.2561 จากสำนักงาน ป.ป.ช. สามปีติดต่อกันตั้งแต่ปี 2559 – 2561

9. การเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับภารกิจใหม่ของกรมบังคับคดี ตามร่างพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ .. ) พ.ศ. …. ซึ่งสาระสำคัญส่วนหนึ่งกำหนดมอบภารกิจใหม่ให้กับกรมบังคับคดีในการบังคับคดีตามคำสั่งทางปกครองในหนี้เงิน โดยเจ้าพนักงานบังคับคดี กรมบังคับคดี

แผนการดำเนินงานในไตรมาสที่ 3

1. การเข้าร่วมงานมหกรรมการเงิน Money Expo ระหว่างวันที่ 16 – 19 พฤษภาคม 2562 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี บังคับคดีได้จัดนิทรรศการ power of Information นำเสนอการเชื่อมโยงข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพด้านการบังคับคดี การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนผู้รับบริการ การจัดมหกรรมไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีร่วมกับสถาบันการเงินภาครัฐและเอกชน บริษัทบตรเครดิต บริษัทเช่าซื้อ ตลอด 4 วัน และจัดมหกรรมขายทอดตลาดในวันที่ 19 พฤษภาคม 2562

2. จัดมหกรรมไกล่เกลี่ยชั้นบังคับคดีกลุ่มจังหวัด Sandbox พื้นที่จังหวัดนนทบุรี ชลบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น เชียงใหม่ พิษณุโลก นครปฐม นครศรีธรรมราช และสงขลา

3. สร้างการรับรู้ทางกฎหมายให้แก่ประชาชน อาทิ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายค้ำประกัน จำนอง พ.ร.บ. หลักประกันทางธุรกิจและ พ.ร.บ. ล้มละลาย (ฉบับที่ 9) พ.ศ. 2559 (การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้) จำนวน 10 รุ่น ในเดือนพฤษภาคม 2562 ในพื้นที่ กรุงเทพมหานครนครศรีธรรมราชพิษณุโลกนครสวรรค์สุรินทร์ขอนแก่นสงขลาเชียงรายชลบุรีและจัดหวัดนครปฐม รวมถึงการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการสำเร็จรูปพร้อมใช้งาน ในเดือนพฤษภาคม 2562 ในพื้นที่ส่วนกลาง 1 ครั้ง และส่วนภูมิภาค 6 ภาค ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สุราษฎร์ธานี พระนครศรีอยุธยา สงขลา เชียงใหม่ และจังหวัดชลบุรี​

4.การพัฒนาความร่วมมือกับต่างประเทศ กระทรวงยุติธรรม โดยกรมบังคับคดี เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมระหว่างประเทศว่าด้วยการบังคับคดีแพ่งในยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีอย่างฉับพลัน (International Conference on Civil Judgment Enforcement under a Disruptive Technology) โดยเป็นการประชุมด้านการบังคับคดีร่วมกับหน่วยงานด้านการบังคับคดีแพ่งของประเทศสมาชิกอาเซียนและประเทศคู่เจรจา(สาธารณรัฐประชาชนจีนประเทศญี่ปุ่น และสาธารณรัฐเกาหลี) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ในเชิงวิชาการและเชิงเทคนิคเกี่ยวกับการบังคับคดีแพ่ง รวมถึงการพัฒนาเครือข่ายและ ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างหน่วยงานด้านการบังคับคดีแพ่งในระดับระหว่างประเทศ มีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 26 เมษายน 2562 โดยมีพลอากาศเอก ประจิน  จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวเปิดการประชุม ในวันพฤหัสบดีที่ 25 เมษายน 2562 เวลา 09.00 น. ณ ห้องรอยัล ออคิด บอลรูม โรงแรม รอยัล ออคิด เชอราตัน กรุงเทพมหานคร


You must be logged in to post a comment Login