- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 13 hours ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 1 day ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 3 days ago
- อย่าไปอินPosted 6 days ago
- ปีดับคนดังPosted 7 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
“วีระ”เปรียบคดีหุ้น”ธนาธร”กับ”ดอน”แทบไม่ต่างกันแต่ผลทำไมตรงกันข้าม
นายวีระ สมความคิด เลขาธิการเครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชั่น (คปต.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก วีระ สมความคิด เปรียบเทียบระหว่างคดีของนายดอน ปรมัตถ์วินัย รมว.การต่างประเทศ และนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ หากข้อมูลที่มีการนำเสนอนี้เป็นความจริง กรณีการโอนหุ้นของนายดอน รมต.ร่วมรัฐบาล คสช.กับกรณีการโอนหุ้นของนายธนาธร แทบไม่ต่างกันเลย แต่ทำไมผลของการปฏิบัติมันจึงต่างกันชนิดตรงกันข้าม มีการเลือกปฏิบัติใช่ไหม เมื่อเป็นเช่นนี้จะให้เชื่อถือองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญได้อย่างไร
จากนั้นนายวีระได้แชร์ข้อความจากผู้ใช้เฟซบุ๊ก “ถือแถน ประสพโชค” ระบุว่า เรื่องหุ้นสื่อ เรื่องถือหุ้น และเรื่องการโอนหุ้น ที่ฝ่ายสนับสนุน คสช.เอามาเล่นงานธนาธรอยู่ในตอนนี้ มีประเด็นขัดแย้งและโต้เถียงกันว่า การโอนหุ้นของธนาธรสมบูรณ์ตามกฎหมายหรือยัง
ฝ่ายสนับสนุนธนาธรบอกว่า การโอนหุ้นสมบูรณ์แล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1129 วรรค 1 เพราะกฎหมายบัญญัติว่า การโอนหุ้นแค่ทำเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้โอนและผู้รับโอน ต่อหน้าพยานหนึ่งคน การโอนก็ถือว่า จบสมบูรณ์ ขั้นตอนนี้เสร็จสิ้นตั้งแต่วันที่ 8 มกราคม 2562
ส่วนฝ่ายต้านธนาธร สนับสนุน คสช.ก็แย้งว่า การโอนจะสมบูรณ์ก็คือ ต้องไปจดแจ้งกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมายถึงจะถือว่า โอนหุ้นแล้วสมบูรณ์ ไปอ้างกฎหมายอีกวรรคว่า ถ้าไม่ไปจดแจ้งจะเอามาบังคับ หรือมีผลกับบุคคลภายนอกไม่ได้ ดังนั้นจึงถือว่าโอนหุ้นในวันที่ 21 มีนาคม หรือราวๆ นี้แหละผมจำวันที่ไม่ได้
ทีนี้เรามาดูตัวอย่างในลักษณะเดียวกันที่ ศาลรัฐธรรมนูญเคยวินิจฉัยไว้
อย่างกรณีนางนรีรัตน์ ปรมัตถ์วินัย ภรรยานายดอน ถือครองหุ้นเกิน 5% ในบริษัท ปานะวงศ์ จำกัด และบริษัท ปานะวงศ์ รีแอลที่ จำกัด จึงเข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญปี 2560 มาตรา 187 รวมถึง พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ.2543 ที่กำหนดห้ามรัฐมนตรี และคู่สมรส ถือหุ้นเกิน 5% ในบริษัทเอกชน และไม่แจ้งต่อประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ว่าประสงค์จะรับประโยชน์ในการถือหุ้น 2 บริษัทนี้
กกต.ส่งเรื่องนี้ให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
นายดอนส่งหลักฐานการโอนหุ้นแบบเดียวกับของธนาธรเป๊ะ และมาจดแจ้งกับพนักงานเจ้าหน้าที่ภายหลัง แบบเดียวกับกรณีของธนาธรทุกอย่าง
และศาลรัฐธรรมนูญก็วินิจฉัยว่า หุ้นโอนไปแล้วตั้งแต่วันทำหนังสือโอนกัน และลงลายมือชื่อในหนังสือโอนต่อหน้าพยาน ตาม ปพพ.ม.1129 ส่วนการจดแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นเพียงการดำเนินการทางทะเบียน
ศาลวินิจฉัยแบบนี้แล้วนายดอนก็พ้นผิด ถ้ากรณีธนาธรที่ทำเหมือนกันกับนายดอนทุกอย่าง แล้วมาวินิจฉัยว่า นายธนาธรผิด ก็จะเป็นคำตอบให้นายชีพ ประธานศาลสูงว่า ทำไมประชาชนไม่เชื่อองค์กรอิสระ แล้วบ้านเมืองจะอยู่กันอย่างไร องค์กรอิสระต้องมองดูและเห็นความผิดของตัวเองบ้าง ไม่ใช่เห็นและโทษแต่ประชาชน
You must be logged in to post a comment Login