วันศุกร์ที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

นายกนักประดิษฐ์ฯ ‘ หวั่นปัญหาเด็กไทยเกิดภาวะบกพร่องทางหารเรียน

On April 30, 2019

เตือนสติ เยาวชน อย่าเป็น ซอมบี้ผีติดเกม ใช้หลัก กาละเทศะ
รู้อะไรควรทำไม่ควรทำ

นายภณวัชร์นันท์ (อ่านว่า พะ-นะ-วัด-นัน) ไกรมาตย์ นายกสมาคมนักประดิษฐ์และนวัตกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวถึงปัญหาของการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ อย่างไม่ถูกต้อง จนส่งผลกระทบต่อสุขภาพว่า โลกของไซเบอร์ เป็นสิ่งจำเป็น ที่จะต้องนำมาใช้ในยุคปัจจุบันและอนาคต โดยสิ่งที่เป็นประโยชน์มาก ๆ ก็เหมือนดาบสองคม ที่ย้อนกลับมาทำร้ายตัวเอง ซึ่งปัญหาสำคัญที่มีผู้ปกครองหลายคนเป็นห่วง นั้นก็คือเยาวชนที่ติดเกมส์จนไม่มีเวลาพักผ่อน จากลายเป็นสิ่งเสพติดที่ไม่มีทางรักษาได้ จนกระทั้ง องค์การอนามัยโลกชี้ว่า “การติดเกม” เป็นอาการผิดปกติทางจิตอย่างหนึ่ง และองค์การอนามัยโลก บรรจุอาการผิดปกติในการเล่นเกม หรือ การติดเกม ลงในคู่มืออ้างอิงโรคฉบับใหม่ “International Classification of Diseases” (ICD) ในหมวดหมู่ความผิดปกติทางจิต ต่อมา นายคริสโตเฟอร์ มุลลิแกน ผู้ก่อตั้งศูนย์บำบัดผู้เสพติดโลกไซเบอร์ ในนครลอส แองเจลีส เป็นอีกเสียงที่บอกว่า ผู้ที่เสพติดการใช้เทคโนโลยีนั้นไม่สามารถรักษาด้วยบำบัดเหมือนกับผู้ที่ติดสุราหรือติดสารเสพติด

ข้อมูลจากสมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ได้วางกฎเกี่ยวกับความปลอดภัย และอันตรายและโรคที่เกิดกับการทำงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์สมาร์ทโฟนต่าง ๆ ควรมีแสงจ้าเกินไป ไม่ควรเกิน 500 ลักซ์ และให้ใช้ได้ 50 นาที พัก 10 นาที หากไม่ปฏิบัติติตามกฎ จะมีโรคที่เกิดจากการทำงานหรือเล่นสมาร์ทโฟนอื่น ๆจะตามมา อีกมากมาย เช่นเจ็บแขน สายตามืดมัว กล้ามเนื้ออักเสบ ฯลฯ

“จากปัญหาต่าง ๆ อันตราย บน โลกของไซเบอร์ อาการที่เยาวชนติดเกม โรคที่จะตามมา ป่วยโรคซึมเศร้า สมาธิสั้น ซึมเศร้า วิตกกังวล โรคดื้อต่อต้าน และโรคภาวะบกพร่องทางการเรียน ( เป็นโรคที่มีปัญหาในการอ่านหนังสือ คล้ายตาบอดสี )สมองแปรตัวหนังสือไม่ดี ทำให้อ่านผิด-อ่านถูก และอารมณ์รุนแรง ก้าวร้าว ซึ่งอันตรายต่อสังคมมากในอนาคต ทั้งนี้ ถึงแม้หลายหน่วยงานจะมีการส่งเสริมสนับสนุนในเรื่องของอี – สปอร์ต และนักแคสเกมส์ แต่ต้องมีคำแนะนำกับผู้เล่นทั่วไปว่า ต้องเล่นอย่างพอดี
โดยจะต้องรู้ว่าอะไรควรไม่ควรตามหลักกาละเทศะ เพราะฉะนั้น จากกรณีดังกล่าว ผู้ปกครองและรัฐบาลจะต้องหันกลับมาดูและเยาวชน ให้มากขึ้น เพื่อไม่ให้เยาวชน ไปมั่วสุมติดเกมเหมือน ซอบบี้ วันๆเล่นเกมไม่มีการสร้างจิตนาการ ไม่มี กิจกรรมสร้างสรรค์ เยาวชนอยู่แต่ในห้อง หรือไม่ก็ร้านเกมต้องลดเวลาเปิด โดยรัฐบาลและผู้ปกครองจัดกิจกรรมท่องเที่ยว ปลูกต้นไม้ ทำกิจกรรมที่สร้างสรรค์ อื่น ๆ ให้เยาวชนลดการเล่นเกม แต่ถ้าหากยังปล่อยให้เป็นสังคม ซอมบี้ผีติดเกมแบบนี้ เราคนไทยจะไม่เหลือ อนาคตของเยาวชน และคนในสังคมไทยที่มีแต่สยามเมืองยิ่มแบบอดีต แต่จะมีแต่สังคมซอมบี้ผีติดเกม   ไม่มีจิตใจ ไม่มีความรู้สึก ใครพูดด้วยก็ไม่ได้ และและจะไม่มี จินตนาการที่สร้างสรรค์ ไม่สิ่งประดิษฐ์ หรือนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่มีธุรกิจอะไร ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ที่คิดโดยเยาวชนคนและอนาคตของชาติจะเหลืออะไร จะมีแต่ เพียงซอมบี้ผีติดเกมเดินได้” นายภณวัชร์นันท์กล่าว


You must be logged in to post a comment Login