- ปีดับคนดังPosted 10 hours ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 2 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 3 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 3 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 7 days ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 1 week ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 1 week ago
- หนีกรรมไม่พ้นPosted 2 weeks ago
5ปีคสช.ฐานะประชาชนจนลง10%
ดร.โสภณ พรโชคชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย วิเคราะห์สถานการณ์ประเทศไทยเนื่องในโอกาสครบรอบ 5 ปีการอยู่ในอำนาจของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยระบุว่า รายได้ของประชาชนในกรุงเทพมหานครลดลง 10% ถ้าทั่วประเทศก็เชื่อว่าลดลงมากกว่า
ทำให้มีคำถามว่า..ทำไมเป็นอย่างนี้ และจะช่วยกันคิดแก้ไขอย่างไร?
จากข้อมูลรายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตั้งแต่ปี 2545-2560 ของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ชี้ว่า รายได้ลดลงในช่วงปี 2556-2560 คือปี 2556 รายได้เป็นเงินเดือนละ 49,191 บาท แต่จากการสำรวจใหม่ในปี 2558 รายได้กลับลดลงเหลือ 45,572 บาท และมาในปี 2560 ซึ่งเป็นการสำรวจล่าสุด รายได้เพิ่มขึ้นน้อยมากคือ เป็นเงินเดือนละ 45,707 บาทเท่านั้น
การสำรวจรายได้ของครัวเรือนที่ดำเนินการโดยสำนักงานสถิติแห่งชาตินี้กระทำทุก 2 ปี แม้ว่ากลุ่มตัวอย่างจะไม่ใช่บุคคลเดิม แต่อนุมานได้ว่าเป็นกลุ่มตัวอย่างที่แทนครัวเรือนในกรุงเทพฯได้ จึงชี้ชัดว่ารายได้ของครัวเรือนลดลงอย่างชัดเจน
จากรายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนในกรุงเทพฯในปี 2556 ที่ 49,191 บาท เทียบกับรายได้ในปี 2561 ที่ 45,779 บาทนั้น ลดลงประมาณ 7% ซึ่งเป็นเรื่องน่าสนใจที่รายได้ของครัวเรือนแทนที่จะเพิ่มขึ้นแต่กลับลดต่ำลงไปกว่าเดิมอีก
ยิ่งเมื่อนำตัวเลขเงินเฟ้อของกรุงเทพฯมาปรับค่าเงิน จะพบว่ารายได้ต่อครัวเรือนต่อเดือนในปี 2561 ลดลงเป็นเงิน 33,060 บาท ในขณะที่รายได้ปี 2556 เป็นเงิน 36,549 บาท ตามราคาคงที่ปี 2545 ซึ่งเท่ากับรายได้สุทธิลดลงถึง 10% (เมื่อหักเงินเฟ้อแล้ว)
โดยนัยนี้แล้วแสดงว่าตลอด 5 ปีที่ผ่านมา ความพยายามของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาความยากจนยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร เศรษฐกิจของครัวเรือนในกรุงเทพฯกลับตกต่ำลงเพราะรายได้ของประชาชนลดลง เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจ 50 อันดับแรกในประเทศไทย กลับพบว่ารายได้ของพวกเขาเพิ่มขึ้นมาก โดยเพิ่มจาก 876,585 ล้านบาทเมื่อ 10 ปีก่อน หรือรวยเพิ่มขึ้น 6 เท่า โดยเฉลี่ยปีหนึ่งรวยขึ้นประมาณ 19% ในขณะที่รายได้ของประชากรในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา เฉพาะกรุงเทพฯครัวเรือนไทยมีรายได้เพิ่มขึ้น 17% หรือเพียง 1.6% ต่อปีเท่านั้น (https://bit.ly/2BSCtuu)
รัฐบาลจึงควรหาทางแก้ไขปัญหาและพัฒนาเศรษฐกิจ ลำพังการใช้นโยบาย “อัฐยายซื้อขนมยาย” หรือการให้ “ปลา” แทนการให้ “เบ็ด” โดยวิธีการ “แจกเงิน” นั้นอาจไม่ได้ผล ซ้ำยังเปิดโอกาสให้ผู้ผลิตสินค้ารายใหญ่ๆได้ประโยชน์มากกว่าประชาชนทั่วไปในการขายสินค้าในร้านธงฟ้า และประชาชนยังไม่สามารถนำเงินไปซื้อสินค้าทั่วไปได้
รัฐบาลจึงควรดำเนินการด้วยการนำเงินตราเข้าประเทศมากขึ้นด้วยการมีกองทุนไปลงทุนต่างประเทศ ส่งสินค้าได้มากขึ้น หาตลาดใหม่ให้มากขึ้น ส่งเสริมการท่องเที่ยวให้ถูกทาง หางาน-รายได้เพิ่มขึ้นแก่ประชาชน เช่น ส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ ฯลฯ
5 ปีที่ผ่านมายังไม่ได้ผล ใน 5 ปีข้างหน้าจะเป็นอย่างไร คงต้องติดตามกันต่อไป
You must be logged in to post a comment Login