- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 8 hours ago
- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 7 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
WHAUP ไตรมาส 1/2562 มีกำไร 424.4 ล้านบาท
บมจ. ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) เผยผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2562 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2562 มีกำไรสุทธิ จำนวน 424.4 ล้านบาท ด้าน CEO “นายวิเศษ จูงวัฒนา” ระบุพร้อมขยายธุรกิจน้ำทั้งในประเทศ และต่างประเทศตามแผน โดยส่งบริษัทย่อย เข้าซื้อหุ้น Cua Lo ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำประปา ในจังหวัด เหงะอาน ประเทศเวียดนาม จำนวน 47.31% รวมทั้งธุรกิจพลังงาน โดยเฉพาะ Solar Rooftop เพียงแค่ 4 เดือนแรกเซ็นสัญญาติดตั้งตามเป้าแล้ว 11.2 MW รวมถึงธุรกิจค้าปลีกก๊าซธรรมชาติในนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 (WHA ESIE 4) เปิดให้บริการภายในเดือนพ.ค.นี้
นายวิเศษ จูงวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ WHAUP เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานงวดไตรมาส 1/2562 สิ้นสุดวันที่ 31 มีนาคม 2562 บริษัทฯ มีรายได้รวม จำนวน 459.4 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.9 % YoY และส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนจำนวน 339.2 ล้านบาท ลดลง 48.5 % YoY สาเหตุหลักมาจากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนที่ลดลง 156.0 ล้านบาทจากปีก่อน และมีการปรับปรุงบัญชีตามมาตรฐานบัญชีเกี่ยวกับรายได้จากการทำสัญญากับลูกค้า (TFRS 15) ของโครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน จำนวน 64.6 ล้านบาทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2562 โดยบริษัทฯ มีกำไรสุทธิจำนวน 424.2 ล้านบาท ลดลง 40.8 % YoY และมีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานปกติ (Normalized Net Profit) ปรับด้วยกำไรหรือขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนและการปรับปรุงรายการทางบัญชี (TFRS 15) จำนวน 394.2 ล้านบาท ลดลง 15.3 % YoY
ทั้งนี้การเติบโตเพิ่มขึ้นของรายได้รวมในไตรมาส 1/2562 นั้น เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำของลูกค้าภายในนิคมอุตสาหกรรม และจากการขยายตัวของลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมของดับบลิวเอชเอ กรุ๊ปทั้งรายเดิมและรายใหม่เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลยอดปริมาณการขายน้ำอยู่ที่ระดับ 27 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 2% YoY ในขณะที่บริษัทฯได้มีการบริหารจัดการต้นทุนขาย และการให้บริการที่ดีขึ้น โดยนำน้ำเสียที่ผ่านการบำบัดกลับมาใช้ใหม่ด้วยนวัตกรรมทีทางบริษัทฯ นำมาใช้ โดยมีโครงการแรก คือโครงการ Reclaimed Water Project (RO) ซึ่งได้เริ่มเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2561 ที่ผ่านมา ในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอตะวันออก (มาบตาพุด) (WHA EIE) ด้วยกำลังการผลิต 7,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก 35.1% เป็น 36.2% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน
สำหรับธุรกิจพลังงาน โครงการโรงไฟฟ้ากัลฟ์ เอ็นแอลแอล 2 มีกำลังการผลิตตามติดตั้งรวม 127 เมกกะวัตต์ หรือคิดเป็นกำลังการผลิตตามสัดส่วนการถือหุ้น 32 เมกะวัตต์ ได้เริ่มเปิดดำเนินการผลิตไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ในเดือนมกราคม ปี 2562 ส่งผลให้มีกำลังการผลิตไฟฟ้าตามสัดส่วนการถือหุ้นของบริษัทฯ ในไตรมาส 1/2562 อยู่ที่ 552 เมกะวัตต์ ทั้งนี้โครงการโรงไฟฟ้าเก็คโค่-วัน ได้มีการหยุดซ่อมบำรุงตามแผนเป็นเวลา 39 วัน
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ดับบลิวเอชเอ ยูทิลิตี้ส์ แอนด์ พาวเวอร์ (WHAUP) กล่าวเพิ่มว่า สำหรับภาพรวมธุรกิจในไตรมาส 2/2562 บริษัทฯ ยังคงเดินหน้าการขยายธุรกิจสาธารณูปโภคทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยเฉพาะการดำเนินการธุรกิจสาธารณูปโภคด้านน้ำ ในเขตอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ-1 เหงะอาน ประเทศเวียดนามที่อยู่ระหว่างพัฒนา ซึ่งมีกำหนด COD ในไตรมาส 3/2562 และในนิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 3 (WHA ESIE 3) ซึ่งมีกำหนด COD ในไตรมาส 4/2562 นอกจากนี้ยังมีการขยายโครงการ Reclaimed Water Project Phase 2 (RO) ที่นิคม WHA EIE ซึ่งมีกำหนด COD ในไตรมาส 2 ปี 2562 ด้วยกำลังการผลิต 2,500 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ส่วนการลงทุนโครงการ Solar Rooftop ในไตรมาส 1/2562 บริษัทฯ มีโครงการที่ COD แล้วทั้งหมด 4.6 เมกะวัตต์ และมีโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างอีก 14.3 เมกะวัตต์ ซึ่งตามแผนจะทะยอย COD ในปี 2562 –ไตรมาส 1/2563
นอกจากนี้ธุรกิจค้าปลีกก๊าซธรรมชาติโครงการ ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด เอ็นจีดี 4 ในนิคมอุตสาหกรรม ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์นซีบอร์ด 4 ซึ่งพร้อมดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนพฤษภาคมนี้ หลังจากประสบความสำเร็จในการเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ธุรกิจค้าปลีกก๊าซธรรมชาติโครงการ ดับบลิวเอชเอ อีสเทิร์น ซีบอร์ด เอ็นจีดี 2 ไปแล้วในช่วงปลายปี 2561 ที่ผ่านมา
You must be logged in to post a comment Login