- อ.เบียร์ช่วยวัดสวนแก้วPosted 15 hours ago
- เลิกเสียเงินกับเรื่องโง่ๆPosted 2 days ago
- ปัญหายาเสพติดวาระแห่งชาติPosted 3 days ago
- แก่อย่างไม่มีคุณค่าPosted 3 days ago
- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 5 days ago
- อย่าไปอินPosted 1 week ago
- ปีดับคนดังPosted 1 week ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 1 week ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 2 weeks ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 2 weeks ago
มุ่งสู่…มาตรฐาน “เรือนจำต้นแบบ” ตามข้อกำหนดกรุงเทพ
การทำให้เรือนจำเป็นสถานที่เปลี่ยนชีวิตของผู้ต้องขัง เพื่อว่าเมื่อถึงวันพ้นโทษจะสามารถคืนคนดีสู่สังคมได้นั้น จำเป็นต้องมีกระบวนการและการปฏิบัติงานที่ได้มาตรฐาน จึงมีความพยายามในการจัดทำเรือนจำต้นแบบ ซึ่งผู้ตรวจประเมินเรือนจำเป็นผู้มีบทบาทอย่างสูงในการสร้างและรักษามาตรฐานเรือนจำที่ดี
สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้จัดอบรมหลักสูตรผู้ประเมินเรือนจำตามข้อกำหนดกรุงเทพ (ข้อกำหนดที่ว่าด้วยการปฏิบัติต่อผู้ต้องขังหญิง และมาตรการที่มิใช่การคุมขัง) เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรเกี่ยวข้อง ให้สามารถเข้าใจหลักการในการประเมินเรือนจำต้นแบบ และการใช้แบบประเมินการปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน รวมถึงเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงยุติธรรมในปี 2562 นี้ ที่มุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่และผู้ปฏิบัติงานสนับสนุนให้เรือนจำปฏิบัติตามเกณฑ์ และมีความสามารที่จะผ่านเกณฑ์การประเมินได้ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้เรือนจำ นำข้อกำหนดกรุงเทพไปใช้อย่างเข้มแข็งและเป็นไปตามมาตรฐาน
เรือนจำต้นแบบตามข้อกำหนดกรุงเทพ ปัจจุบันมี 2 ลักษณะ คือ
1. เรือนจำต้นแบบที่ประเมินโดยกรมราชทัณฑ์ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
1.1 การประเมินตามตัวชี้วัดของกระทรวง โดยเรือนจำจะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งจะต้องผ่านเกณฑ์คะแนนที่กรมราชทัณฑ์กำหนดร่วมกับ กระทรวงยุติธรรม
1.2 การประเมินตามตัวชี้วัดของกรมราชทัณฑ์ เพื่อให้เรือนจำที่ผ่านเกณฑ์การประเมินได้เป็น เรือนจำต้นแบบของกรมราชทัณฑ์
2. เรือนจำต้นแบบที่ประเมินโดยสถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย โดยเรือนจำจะต้องปฏิบัติงานให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพเพื่อมุ่งสู่การเป็นเรือนจำต้นแบบ
ในการอบรมครั้งนี้ ดร.นัทธี จิตสว่าง ที่ปรึกษาพิเศษ TIJ และ อดีตอธิบดีกรมราชทัณฑ์ ได้กล่าวเปิดการอบรม ว่า “การอบรมครั้งนี้ถือเป็นการทำความเข้าใจร่วมกันของผู้ที่จะต้องทำหน้าที่ประเมินเรือนจำที่มีการปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพ ซึ่งในปีนี้มีการขยายการปฏิบัติเพิ่มขึ้นในเรือนจำที่มีผู้ต้องขังหญิงทั่วประเทศ 73 แห่ง อีกทั้งการประเมินดังกล่าวมีผู้ประเมินจากหลายฝ่าย จึงจำเป็นต้องมีการอบรมร่วมกันเพื่อให้การประเมินเป็นมาตรฐานเดียวกัน”
นอกจากนี้ ยังมีวิทยากรที่มาร่วมให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ประกอบด้วย รศ.ดร. ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด อาจารย์ประจำคณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งถือเป็นผู้บุกเบิกการประเมินเรือนจำร่วมกับ TIJ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 คุณพัชราภรณ์ ศโรภาส ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านทัณฑวิทยา และ คณาจารย์ระดับอุดมศึกษา Left Centre Right Remove การอบรมนี้วิทยากรเริ่มต้นด้วยการแนะนำให้ผู้ประเมินเรือนจำ ซึ่งประกอบด้วย ผู้แทนจากกรมราชทัณฑ์ เช่น คณะผู้ตรวจราชการกรมราชทัณฑ์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้บัญชาการเรือนจำ และ คณาจารย์ระดับอุดมศึกษา จำนวน 41 คน ได้รู้จักแบบประเมินการปฏิบัติงานในเรือนจำตามข้อกำหนดกรุงเทพ พร้อมทั้งบรรยายแนวคิดในการประเมินตามเกณฑ์แต่ละข้อโดยละเอียด
แนวคิดที่ถือเป็นใจความสำคัญหลัก มีดังนี้
ประการที่หนึ่ง ผู้ประเมินจะต้องมีทัศนคติเชิงบวก กล่าวคือ ต้องเข้าใจว่าผู้ประเมินอยู่ในฐานะ Supervisory ผู้สนับสนุน ช่วยเหลือ และพร้อมให้คำแนะนำแก่เรือนจำที่ถูกประเมิน มิใช่ inspector ที่เน้นการจับผิด
ประการที่สอง ผู้ประเมินต้องคำนึงถึงหลัก 4S ประกอบด้วย
1. Suggestion การทำหน้าที่ให้คำปรึกษา เปรียบเสมือนที่ปรึกษาที่ให้คำแนะนำที่ดีที่จะสามารถช่วยให้เรือนจำผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. Support การสนับสนุน โดยต้องดูบริบทของแต่ละเรือนจำตามความเป็นจริง ว่าจะสามารถเติมเต็มในส่วนใดเพื่อช่วยให้เรือนจำบรรลุเป้าหมาย
3. System การจัดระบบ โดยเน้นการพิจารณาว่าสิ่งที่แต่ละเรือนจำมีสามารถจัดระบบได้อย่างไรบ้าง จากนั้นจึงพิจารณาเกณฑ์เกี่ยวกับเอกสารต่างๆ ที่จะทำให้การประเมินน่าเชื่อถือ
4. Sustainable Success ความสำเร็จที่ยั่งยืน โดยจะต้องพิจารณาว่าจะช่วยให้แต่ละเรือนจำปฏิบัติงานที่สอดคล้องกับข้อกำหนดกรุงเทพเกิดผลสำเร็จอย่างยั่งยืน ได้อย่างไร
ประการที่สาม ผู้ประเมินเรือนจำต้องประเมินด้วยความเป็นธรรม โปร่งใส
วิทยากรเน้นย้ำว่า การประเมินเรือนจำมุ่งเน้นให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินมีบทบาทสนับสนุน และพิจารณาข้อเท็จจริง ข้อมูล เอกสารต่าง ๆ ของเรือนจำภายใต้บริบทที่แต่ละเรือนจำมี ด้วยความเป็นธรรม มากกว่าการตั้งใจหาข้อผิดพลาดหักคะแนน ทั้งนี้ เนื่องจากบุคลากรที่สำคัญที่สุด คือ เจ้าหน้าที่ผู้มีบทบาทในการประเมิน หากเจ้าหน้าได้รับองค์ความรู้จากการอบรมครั้งนี้ครบถ้วน และสามารถนำองค์ความรู้ ประสบการณ์ที่ได้ไปปฏิบัติในการประเมินเรือนจำ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุผลในที่สุด
You must be logged in to post a comment Login