วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

สมาคมนิสิตเก่าวิศวฯ จุฬาฯ ปลื้ม “CHAMP Engineering” โครงการเสริมทักษะบันฑิตสู่ตลาดแรงงาน

On May 19, 2019

สมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการจัดโครงการ CHAMP Engineering ครั้งแรก ดึงผู้บริหารระดับสูงรุ่นพี่วิศวฯ แนะแนวทาง เสริมทักษะด้านความคิด แลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินชีวิตในการทำงาน หลังเรียนจบ เพื่อเตรียมความพร้อมสู่ตลาดแรงงานในปัจจุบัน
g4
นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ในฐานะนายกสมาคมนิสิตเก่าวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า การดำเนินโครงการ CHAMP Engineering ของคณะวิศวกรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งแรก ได้ปิดโครงการและประสบความสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งโครงการนี้ได้นำรุ่นพี่ที่เป็นศิษย์เก่า คณะวิศวฯ จุฬาฯ และประสบความสำเร็จเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรระดับประเทศ หลายหลากสาขาอาชีพ อาทิ ด้านอุตสาหกรรม การเงิน อสังหาริมทรัพย์ ไลฟ์สไตล์ เป็นต้น มาให้คำปรึกษา แนะแนวทางในการทำงาน การอยู่ร่วมกันในสังคม ให้กับนิสิต นักศึกษา ในระดับชั้นปีที่ 3 และปีที่ 4 ที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 72 คนเป็นระยะเวลา 6 เดือน(ตุลาคม 2561-มีนาคม 2562)

“การจัดโครงการในครั้งนี้ เป็นนำประสบการณ์การทำงานในอาชีพต่างของรุ่นพี่ถ่ายทอดสู่รุ่นน้องที่กำลังจะจบการศึกษา เพื่อน้องๆมีข้อมูลและแนวทางประกอบการตัดสินใจประกอบอาชีพของตนเองในอนาคต ว่าในการทำงานจริงเป็นอย่างไร ซึ่งทำให้น้องๆสามารถลดระยะเวลาในการเรียนรู้งานจริงได้ พร้อมกับการตัดสินในการประกอบอาชีพของตนเอง รวมทั้งการทำโครงการดังกล่าว ยังทำให้ทราบว่า เด็กรุ่นใหม่ที่กำลังจะจบการศึกษามีความคิดที่เปิดกว้างมากกว่าในอดีต และการใช้ชีวิตที่แตกต่างออกไป น้องๆมีความสนใจในการทำงานที่หลากหลายมากกว่าในอดีต ไม่ว่าจะเป็น ในระบบอุตสาหกรรม การทำธุรกิจส่วนตัวและการทำงานเพื่อสังคม ซึ่งเป็นการสะท้อนความคิดให้กับรุ่นพี่ได้นำไปปรับใช้ในการบริหารงานได้ด้วยเช่นกัน”
g1
รศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ปัจจุบันความต้องบุคลากรเพื่อทำงานในระบบได้เปลี่ยนแปลงอย่างมาก นอกจากตลาดแรงงานต้องการบุคลากรที่มีทักษะในวิชาชีพแล้ว ยังต้องการบุคลากรที่มีความพร้อมในด้านอื่นๆ ทั้งการสื่อสาร การมีความคิดสร้างสรรค์ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อในการทำงาน จึงทำให้คณะวิศวฯ จุฬาฯ ต้องมีการปรับแผนการเรียนการสอนจากเดิมที่เน้นเนื้อหาด้านทฤษฎี หรือวิชาการ มาเป็นการเรียนการสอนที่นิสิต นักศึกษาสามารถแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น มีความคิดนอกกรอบในการทำงาน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพในการทำงานให้มีประสิทธิภาพได้อย่างสูงสุดg2

นายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ และกรรมการบริหาร บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานโครงการ CHAMP Engineering กล่าวว่า โครงการนี้มีส่วนสำคัญต่อการแนวทางการดำเนินชีวิตหลังจากจบมหาวิทยาลัย ในการเลือกอาชีพได้ที่จะตรงกับความต้องการของตนเอง ซึ่งขณะนี้ แนวคิดการทำงานเปลี่ยนไปจากเดิม ที่เคยจบสาขาใด มุ่งไปประกอบอาชีพให้ตรงกับสิ่งที่เรียนมา แต่ปัจจุบัน ความหลากหลาย และความต้องการและแนวคิดของคนรุ่นใหม่ได้เปลี่ยนไป เปิดกว้างในการประกอบอาชีพมากขึ้น ดังนั้นการสร้างมุมมอง และอาชีพที่หลากหลายโดยศิษย์รุ่นพี่ เป็นการเปิดประสบการณ์โดยตรงให้กับนิสิตได้รู้ ว่าสิ่งที่คิดสอดคล้องกับการทำงานในยุคปัจจุบันหรือไม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้เสียโอกาสและเวลาการทำงานของนิสิตมากเกินไปสามารถประกอบอาชีพที่ตนเองถนัดได้


You must be logged in to post a comment Login