- อย่าไปอินPosted 1 day ago
- ปีดับคนดังPosted 2 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 3 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 4 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 5 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 1 week ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 1 week ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
กรมการแพทย์เผยน้ำมันกัญชาล็อตแรกใช้ในโรคลมชักในเด็ก
นพ.เพชร อลิสานันท์ แพทย์รังสีรักษาและมะเร็งวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวว่า ปัจจุบันยังไม่มียาจากน้ำมันกัญชาที่มีผลต่อการรักษาโรคมะเร็งโดยตรง แต่พบผู้ป่วยมะเร็งหาน้ำมันกัญชามาใช้เองทำให้ได้รับผลข้างเคียง เช่น เมา คลื่นไส้ นอนเยอะ ซึ่งการจ่ายน้ำกัญชา ให้กับผู้ป่วยได้หรือไม่ ต้องให้แพทย์เป็นผู้พิจารณา และควรแบ่งผู้ป่วย ออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคนไข้ที่ไม่มีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งแล้ว กลุ่มนี้สามารถใช้ได้ ไม่น่าเป็นห่วงเพราะอาจจะมีประโยชน์และจริงๆอาจจะช่วยให้คนไข้ พักผ่อนได้ นอนหลับ บรรเทาปวด แต่ต้องดูที่ปริมาณที่ใช้ด้วย เพราะถ้าใช้มากเกินไปก็มีผลกระทบ ส่วนกลุ่มที่ 2 กลุ่มที่ยังมีแนวทางการรักษาโรคมะเร็งที่ใช้ได้ แต่กลับทิ้งการรักษาเพื่อไปใช้น้ำมันกัญชาอย่างเดียวถือว่าน่าเป็นห่วงมาก
นพ.เพชร กล่าวด้วยว่า ยืนยันว่าไม่ได้ขวางเรื่องการใช้กัญชาทางการ แพทย์เพราะยังมองว่ากัญชายังเป็นพืชที่มีโอกาสเอามาใช้ทางการแพทย์ได้ แต่ตอนนี้ยังดำเนินบนขั้นตอนที่ไม่ถูกต้องบ้าง จึงอยากให้มีการทบทวนให้ดี อย่ามองว่ากัญชาคือยาวิเศษ แต่ต้องมองว่ามันคือยาตัวหนึ่ง ฉะนั้นถ้ามองแบบนี้ก็ต้องผลักดันให้ผ่านตามขั้นตอนปกติที่เป็นไปตามกระบวนการวิทยาศาสตร์ และเป็นไปตามกฎหมาย
ด้าน นพ.อรรถสิทธิ์ ศรีสุบัติ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ กรมการแพทย์ กล่าวถึงการหารือการใช้ “น้ำมันกัญชา” กับ องค์การเภสัชกรรม (อภ.) ที่จะผลิตเดือน ก.ค.ว่า น้ำมันกัญชาสูตร CBD สูงจะนำไปใช้ในการรักษาโรคลมชักในเด็ก 2 กลุ่มอาการที่รักษายาก ส่วนสูตรหนึ่งต่อหนึ่งคาดว่าจะนำมาใช้ดูแลผู้ป่วยระยะประคับ ประคอง ผ่านการดำเนินการโดยสถาบันมะเร็งแห่งชาติและโรงพยาบาลมะเร็ง 7 แห่ง เนื่องจากสูตรหนึ่งต่อหนึ่งให้ผลในการรักษาอาการปวด แต่การนำมาใช้ก็ต้องดูเรื่องของความปลอดภัยและประสิทธฺผลที่จะตามมาด้วย
นพ.อรรถสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการใช้น้ำมันกัญชาแบบสูตร หนึ่งต่อหนึ่ง ในการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายหรือระยะประคับประคองนั้น กรมการแพทย์จะจัดให้มีหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์ ซึ่งจะเป็นแพทย์และเภสัชกร จำนวน 6 รุ่น จึงเตรียมที่จะเปิดหลักสูตรพิเศษขึ้นเฉพาะสำหรับทีม Palliative Care (แพทย์รักษาแบบประคับประคอง) อีก 1 รุ่น แต่อยู่ระหว่างการกำหนดวันที่ชัดเจน สำหรับการรับสมัครอบรมหลักสูตรการใช้กัญชาทางการแพทย์อีก 4 รุ่นที่เหลือ คือรุ่นที่ 3-6 ขณะนี้มีผู้สมัครครบทั้งหมดแล้ว
You must be logged in to post a comment Login