- อย่าไปอินPosted 3 days ago
- ปีดับคนดังPosted 4 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 5 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 6 days ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 7 days ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 1 week ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
- ช่วยสร้างบรรยากาศชื่นมื่นPosted 2 weeks ago
“ไทยพาณิชย์-ม.เชียงใหม่”สร้างนักเทคโนโลยีการเงินรับยุค disruptive
นายณรงค์ศักดิ์ ปลอดมีชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์ จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เดินหน้าสร้าง บลจ.ไทยพาณิชย์ ให้เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นที่ไว้วางใจของลูกค้า และงอกงามด้วยวัฒนธรรมแห่งการเรียนรู้และปฏิบัติได้อย่างแท้จริง โดยล่าสุดได้ร่วมมือกับคณะบริหารธุรกิจ ภาควิชาการเงินและการธนาคาร และคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดทำโครงการพัฒนาองค์กรความรู้ด้านการเงินและวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ (CMU – SCBAM Machine Learning: Application for Smart Investment) สร้างโอกาสเรียนรู้ในสภาพการปฏิบัติงานจริง เพื่อเตรียมความพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงฉับพลันในบริบทการเงินโลก
โดยโครงการนี้จัดการเรียนรู้แบบ project based learning บูรณาการองค์ความรู้ด้านการเงินเข้ากับความรู้ด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ถือเป็นความสอดคล้องกับหลักการสร้างทักษะให้แก่ผู้เรียนเพื่อสามารถตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมปัจจุบัน ซึ่งการจัดการความร่วมมือในโครงการดังกล่าวสำหรับภาควิชาการเงินและการธนาคาร คณะบริหารธุรกิจ จะมีบทบาทเกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านการเงินการธนาคาร และภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์จะมีบทบาทความร่วมมือด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยี Machine Learning และ Big Data จะเป็นเครื่องมือหลักที่จะร่วมกันใช้เพื่อบ่มเพาะนักการเงินและวิศวกรคอมพิวเตอร์ในโครงการ และในส่วนของบลจ.ไทยพาณิชย์ จะมีบทบาทในการวิเคราะห์การลงทุน สนับสนุนข้อมูลและความเชี่ยวชาญในเชิงวิชาชีพ
นายณรงค์ศักดิ์ กล่าวว่า การดำเนินโครงการดังกล่าวในขั้นแรกได้แก่การประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Machine Learning ในการพัฒนาดัชนีชี้วัดความยั่งยืน (ESG Index) ครอบคลุมดัชนีที่มีมิติวัดสามประเด็นหลักของความยั่งยืน ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม และการกำกับดูแลกิจการ (Environment Social และ Governance) ซึ่งโครงการแรกนี้จะเป็นโครงการวิจัยการพัฒนาการประเมินความยั่งยืนและระดับ ESG ของบริษัทจดทะเบียนที่สามารถส่งผลต่อผลการดำเนินงานที่ดีแก่บริษัท โครงการดังกล่าวจะมีนักศึกษาภาควิชาการเงินและการธนาคาร ชั้นปีที่ 3 รวมทั้งนักศึกษาภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ร่วมศึกษาการประเมินความยั่งยืน การให้คะแนน ESG ของบริษัทจดทะเบียน โดยมุ่งเน้นที่บริษัทขนาดกลางและเล็กซึ่งอาศัยข้อมูลจากการสอบถามบริษัทจดทะเบียน งบการเงิน หรือใช้ machine learning เข้ามาช่วยเพื่อความสมบูรณ์และความครอบคลุมให้มากที่สุด สำหรับการนำข้อมูลมาวิเคราะห์และทดสอบก่อนนำมาใช้งานจริงนั้นได้กำหนดกรอบเวลาสิ้นสุดโครงการประมาณช่วงสิ้นปี และจะจัดให้มีการวัดประสิทธิภาพของข้อมูลในการลงทุน โดยกลุ่มที่ได้รับผลตอบแทนจากการทดสอบการลงทุนย้อนหลัง (Back Test) สูงที่สุดจะได้รางวัลด้วยการเปิดโอกาสให้เข้าร่วมฝึกงานกับ บลจ.ไทยพาณิชย์ และนักศึกษาทุกคนที่เข้ามามีส่วนร่วมจะได้รับใบประกาศนียบัตรด้วย
“บลจ.ไทยพาณิชย์ ได้ให้ความสำคัญกับการนำเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งอาศัยความสามารถในการคำนวณ ประมวลผลที่รวดเร็ว และมีประสิทธิภาพของสมองกลมาใช้ในการวิเคราะห์หาปัจจัยในการลงทุนเพื่อสร้างผลตอบแทนส่วนเพิ่ม (Alpha) ในการบริหารจัดการพอร์ตการลงทุนของบลจ.อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บลจ.ยังเล็งเห็นว่าการลงทุนอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบต่อสังคมจะสามารถสร้างผลการดำเนินงานที่ดีได้ในระยะยาว ซึ่งในปัจจุบันแนวทางการลงทุนที่มีการพิจารณาถึงปัจจัย ESG เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากข้อมูลการลงทุนของ UN Principles for Responsible Investment (UNPRI) ในระหว่างปี ค.ศ.1995 – 2017 แสดงให้เห็นว่าสมาชิก PRI จากทั่วโลกได้มีการนำเงินไปลงทุนในบริษัทที่มีการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG) โดยดูจากมูลค่าเงินลงทุนในบริษัทเหล่านี้ที่เติบโตขึ้นกว่า 10 เท่า จากประมาณ 6 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็นมูลค่าประมาณ 65 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ “ นายณรงค์ศักดิ์ กล่าว
ทั้งนี้รองศาสตราจารย์ ดร.สิริวุฒิ บูรณพิร คณบดีคณะบริหารธุรกิจ กล่าวถึงการดำเนินโครงการในครั้งนี้ว่า ”พัฒนาการแบบเปลี่ยนแปลงฉับพลัน หรือที่เรียกว่า disruptive จะส่งผลชัดเจนต่อวงการธุรกิจ สิ่งสำคัญคือการปรับตัว ขยายองค์ความรู้สู่ขอบเขตใหม่ๆ ที่จะเพิ่มโอกาสในการแข่งขัน ความท้าทายของคณะฯ คือการสร้างบุคลากรที่มีทักษะในเชิงบูรณาการเทคโนโลยีสู่การทำงานปกติ”
ด้านผู้ช่วยศาสาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ ผู้รับบทบาทจัดการความร่วมมือทางเทคโนโลยี กล่าวว่า “คณะวิศวกรรมศาสตร์มีแนวทางในการใช้เทคโนโลยีเพื่อสนับสนุนการทำงานในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยมีการดำเนินงานเกี่ยวข้อง สนับสนุนวิชาการข้ามสาขาอย่างต่อเนื่อง ความรู้ทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์โดยเฉพาะเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยี Machine Learning และ Big Data จะเป็นเครื่องมือหลักที่คณะทำงานจะร่วมกันใช้เพื่อบ่มเพาะนักการเงินและวิศวกรคอมพิวเตอร์ในโครงการ”
You must be logged in to post a comment Login