- “ทักษิณ” ยังมีมนต์ขลังPosted 1 day ago
- อย่าไปอินPosted 4 days ago
- ปีดับคนดังPosted 5 days ago
- เรื่องยังไม่จบPosted 6 days ago
- ต้องช่วยผู้หญิงขึ้นจากขุมนรกPosted 1 week ago
- คนดีสยบทุกอย่างได้Posted 1 week ago
- จัดการได้ก็ทำเถอะPosted 2 weeks ago
- ชวนทำบุญครั้งสุดท้ายPosted 2 weeks ago
- อย่าไปซ้ำเติมPosted 2 weeks ago
- คงมีโอกาสดีได้นะPosted 2 weeks ago
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการสหประชาชาติ
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการสหประชาชาติว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 28แนะการสร้าง “วัฒนธรรมแห่งการรักษากติกา” เพื่อลดปัญหาอาชญากรรมทั่วโลกต้องเริ่มจากการปลูกจิตสำนึกที่ดีด้วยการสร้างสิ่งแวดล้อมและความเป็นอยู่ที่ดีให้คนในชุมชนณ กรุงเวียนนา สาธารณรัฐออสเตรีย เมื่อวันก่อน
หม่อมหลวงดิศปนัดดา ดิศกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง ในพระบรมราชูปถัมภ์ได้เปิดเผยในระหว่างการประชุมคณะกรรมาธิการสหประชาชาติ ว่าด้วยการป้องกันอาชญากรรมและความยุติธรรมทางอาญา ครั้งที่ 28 ในเรื่องของ วัฒนธรรมแห่งการรักษากติกา (Culture of Lawfulness)เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม โดยกล่าวว่า แนวทางในการสร้าง วัฒนธรรมแห่งการรักษากติกา (Culture of Lawfulness)เพื่อให้ประชาชนเคารพต่อกฎและระเบียบของชุมชนนั้น ควรเริ่มมาจากการปลูกจิตสำนึกที่ดีก่อน โดยกระบวนการที่จะปลูกจิตสำนึกที่ดีนั้นมีหลายรูปแบบ ซึ่งในส่วนของ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ทั้ง โครงการพัฒนาดอยตุง (พื้นที่ทรงงาน) อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดเชียงราย และโครงการต่างๆ ภายใต้การดูแลของมูลนิธิฯ ทั้งในและต่างประเทศจะให้ความสำคัญกับกระบวนการในการทำความเข้าใจกับชุมชน การรับฟังปัญหา การให้คนในชุมชนเข้ามามี
ส่วนร่วมในการแก้ปัญหา จากนั้นจึงใช้กระบวนการต่างๆ เหล่านี้ปรับนิสัยหรือพฤติกรรมต่างๆ ที่จะให้ประชาชนหรือคนในชุมชนทำเพื่อส่วนรวมมากขึ้น เห็นภาพใหญ่ของชุมชนมากกว่าตัวเอง อาทิ การตั้งกฎเกณฑ์ร่วมกันเรื่องการดูแลรักษาป่า ต้นน้ำ ทั้งในและนอกพื้นที่ โครงการพัฒนาดอยตุงฯ, เรื่องการแก้ไขปัญหายาเสพติด เป็นต้น โดยสร้างให้เขามีความรู้สึกร่วมในการเป็นเจ้าของและมีส่วนได้ส่วนเสียกับเรื่องดังกล่าว สร้างคุณค่าและความภูมิใจในตัวเองด้วยอาชีพที่สุจริต ขณะเดียวกันก็ต้องให้คนในชุมชนเข้าไปมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา ตลอดจนมีส่วนร่วมในการตั้งกฎเกณฑ์ต่างๆ เพื่อนำไปสู่การปฏิบัติตามกฎที่คนในชุมชนร่วมกันตั้งขึ้นมา
ส่วนบทบาทของภาครัฐในเรื่อง วัฒนธรรมแห่งการรักษากติกา (Culture of Lawfulness)เห็นว่า ภาครัฐควรจะมีบทบาทเสมือนเป็นผู้นำความเปลี่ยนแปลงมากกว่าเป็นผู้บังคับ ควรทำให้ประชาชนหรือคนในชุมชนได้เรียนรู้ ผลที่เกิดขึ้นจากการทำความดี เกิดขึ้นจากการทำตามกรอบ หรือ กฎเกณฑ์ของสังคมนั้นๆเป็นทางออกที่ยอมรับได้กับคนส่วนใหญ่ในชุมชน จึงจะทำให้เกิดความสงบสุขขึ้นอย่างแท้จริงและยั่งยืนมากกว่า ส่งผลให้การกำกับดูแลของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น ใช้งบประมาณการในการจัดการน้อยลง แต่ในขณะเดียวกันกลับสร้างพื้นฐานของการมีประชาชนที่มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งถือเป็นการสร้างรากฐานที่สำคัญให้ประเทศก้าวไปอย่างมั่นคงได้อย่างยั่งยืน
You must be logged in to post a comment Login