วันเสาร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

“บล.คิงส์ฟอร์ด”คาด SET INDEX มิ.ย.ผันผวนขาลงในกรอบ 1,580-1,660จุด กังวลส่งออกส่อติดลบ

On June 5, 2019

บล.คิงส์ฟอร์ด ประเมินแนวโน้มดัชนีหุ้นไทยเดือน มิ.ย.คาดผันผวนแรงในทิศทางขาลงจะเคลื่อนไหวในกรอบ 1,580-1,660 จุด เนื่องจากมีปัจจัยกดดันทั้งใน และต่างประเทศ โดยเฉพาะตัวเลขส่งออกครึ่งปีหลังมีแนวโน้มติดลบ ส่งผลให้GDPไทยอาจขยายตัวต่ำกว่า3.5% ขณะที่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐ และจีนยืดเยื้อต่อไป แนะกลยุทธ์ลงทุนเลือกซื้อหุ้นใหญ่ BBL, CK, STEC, UNIQ, AMATA, WHA ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนหากได้รัฐบาลใหม่

นายอภิชัย เรามานะชัย รองกรรมการผู้จัดการ ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ คิงส์ฟอร์ด จำกัด(มหาชน) เปิดเผยว่า แนวโน้มตลาดหุ้นไทยเดือนมิ.ย.2562 คาดว่า ดัชนีหุ้นไทย( SET) จะเคลื่อนไหวในกรอบแนวรับ 1,580-1,600 จุด  แนวต้าน 1,660 จุด เนื่องจากถูกกดดันจากภาวะสงครามการค้าสหรัฐ – จีนที่กลับมาขึ้นภาษีต่อกัน ขณะที่สหรัฐเตรียมกดดันจีนเพิ่ม โดยจะแบนสินค้าเทคโนโลยีจีน เช่น หัวเว่ย ช่วงกลางส.ค.นี้ ดังนั้นจึงต้องจับตาการประชุม G-20 ปลายเดือน มิ.ย.นี้ว่าจะมีการหารือยุติข้อพิพาทการค้าหรือไม่

ส่วนปัจจัยในประเทศอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ( GDP) ไทยไตรมาส 1/62 ขยายตัวที่ระดับ 2.80% ส่งออกครึ่งปีแรกมีแนวโน้มติดลบ ส่งผลให้ทั้งปี GDP ไทยอาจขยายตัวต่ำกว่า 3.5%  รวมทั้งปัจจัยทางการเมือง ยังคาดหวังจะได้นายกฯ ใหม่ เพื่อจัดตั้งรัฐบาลมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุน จึงแนะนำให้ซื้อหุ้น BBL, CK, STEC, UNIQ, AMATA, WHA ที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนหากได้รัฐบาลใหม่ และ CPALL, CPF, ADVANC, BGRIM  ซึ่งเป็น Domestic Play และ Defensive Stock เพื่อลดความผันผวนจากปัจจัยต่างประเทศ

สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่น่าสนใจในเดือนมิ.ย.นี้ ได้แก่ กลุ่มธนาคาร “Accumulative Buy” หุ้นเด่นคือ BAY, TCAP  เนื่องจากยอดสินเชื่อเดือนเม.ย.2562 ขยายตัวได้ช้า+0.22%จากเดือนก่อน และหดตัว -0.05% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันแนวโน้มชะลอตัว ลงเทียบกับปีก่อนโดยเฉพาะธนาคารขนาดใหญ่ เช่น BBL ส่วนธนาคารที่มีสินเชื่อขยายตัวมากสุด ได้แก่ BAY, TCAP มีสินเชื่อขยายตัว +0.80%จากเดือนก่อน, +0.53%จากเดือนก่อน ตามลำดับ และ คาดกำไรไตรมาส 2/62 ของกลุ่มธนาคารจะอ่อนตัวลงจากงวดเดียวกันของปีก่อน

ส่วนกลุ่มพลังงาน ให้น้ำหนักลงทุนเป็น“Neutral” Top pick คือหุ้น PTT, BANPU  เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในตะวันออกกลางส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบมีแนวโน้มปรับตัวลดลง อย่างไรก็ตามแรงกดดันราคาน้ำมันมาจากการผลิตของสหรัฐฯ    ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงผลกระทบของสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ-จีน ดังนั้น คงน้ำหนักการลงทุน “เท่ากับตลาด” ประเมิน Upside จากราคาน้ำมันดิบค่อนข้างจำกัดติดตามการประชุมโอเปกเดือน มิ.ย. กลุ่มผู้ผลิตทั้งในและนอกกลุ่มโอเปก  อาจกลับมาเพิ่มกำลังการผลิต เพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาด

 


You must be logged in to post a comment Login